Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27675
Title: | การศึกษาจริยปัชญาของแรนด์เชิงวิจารณ์ |
Other Titles: | A critical study in Rand's moral philosophy |
Authors: | อนุมิตร จันทรประภาพ |
Advisors: | วิทย์ วิศทเวทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ของแรนด์นักคิดสตรีชาวอเมริกันคนหนึ่งซึ่งยังไม่ปรากฏว่ามีใครเคยศึกษามาก่อนว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอเรียกแนวความคิดของตัวเธอเองว่า “ปรนัยนิยม” และกล่าวว่า “จริยแบบปรนัย ยืนยันและสนับสนุนอย่างภาคภูมิในความเห็นแก่ตัวที่มีเหตุผล” นั้น ความเห็นแก่ตัวที่มีเหตุผลของเธอหมายความว่าอะไร และปรนัยนิยมที่เธอใช้หมายความว่าอะไรสนับสนุนความเห็นแก่ตัวที่มีเหตุผลจริงหรือไม่ และแนวความคิดของเธอจะอธิบายสถานการณ์มนปัจจุบันนี้ได้อย่างไรบ้าง จะช่วยแก้ปัญหาให้มนุษย์ในปัจจุบันได้อย่างไรหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า ที่แรนด์กล่าวว่า “ยืนยันและสนับสนุนอย่างภาคภูมิมนความเห็นแก่ตัวที่มีเหตุผล” นั้น ไม่ปรากฏว่าแรนด์จะสนับสนุนให้มนุษย์พยายามทำทุกวิถีทางที่จะให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการมา โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น หรือใช้ผู้อื่นเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายของตัวเอง ซึ่งโดยทั่วไปเราถือว่าเป็น “ความเห็นแก่ตัว” เลย และก็ไม่พบว่าแรนด์จะสนับสนุนให้มนุษย์คอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นโดยหวังจะได้รับผลตอบแทนในภายหลังซึ่งฮอบบ์ถือว่าเกิดขึ้นจากความเห็นแก่ตัวด้วยเช่นกัน แต่ความเห็นแก่ตัวที่มีเหตุผลของแรนด์หมายถึง การเป็นตัวของตัวเองในการคิด วินิจฉัย และกระทำการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิต หรือการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ อำนวยความสะดวกให้กับชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผลงานทางด้านศิลปะ หรือเทคโนโลยี แรนด์ถือว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด หรือเป็นมาตรฐานของศีลธรรม หากปราศจากเสียซึ่งชีวิตแล้วสิ่งต่าง ๆก็ไร้คุณค่า จึงจำเป็นสำหรับมนุษย์ที่จะต้องหวงแหนและปกป้องชีวิตของตนเอง แต่ทว่าแรนด์ก็ใช้คำว่า “ชีวิต” โดยหมายถึงชีวิตของมนุษย์ที่มีสมรรถภาพในการที่จะรับรู้ วินิจฉัย และกระทำการต่าง ๆ ตามความคิด วินิจฉัยของตนเอง ดังนั้น อาการแสดงออกถึงความสามารถทางการรับรู้ การคิด วินิจฉัยของตนออกมาในการจัดโลกให้เหมาะสมกับการดำรงอยู่ของตนหรือผลิต สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการดำรงชีวิต และผู้กระทำได้ดังกล่าว แรนด์ก็ถือว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรม เป็นสัตศีลธรรม ในแง่นี้แรนด์ก็เหมือนกับมาร์กซ์ (Karl Marx) ที่มองคุณธรรมว่าเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์แบบอุดมคติ ซึ่งมีสมรรถภาพคือการสร้างสรรค์ หรือบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดทางศีลธรรมได้ด้วยการทำงาน จากการพยายามศึกษาว่า “ปรนัยนิยม” ของแรนด์มีความสัมพันธ์กันอย่างไรหรือไม่กับจริยปรัชญาของแรนด์ที่แรนด์เรียกว่า “จริยแบบปรนัย” หรือความเห็นแก่ตัวที่มีเหตุผล พบว่าอภิปรัชญาของแรนด์เป็นพื้นฐานให้กับจริยปรัชญา แต่แนวความทางจริยปรัชญาของแรนด์ก็สามารถจะถูกขยายออกไปจนย้อนกลับมาทำลายแนวความคิดทางด้านอภิปรัชญาได้ ในกรณีที่มนุษย์ซึ่งเป็นสภาวภาพหนึ่งในธรรมชาติ แต่ได้รับสิทธิพิเศษในการที่จะจัดการกับธรรมชาติ หรือใช้สภาวภาพอื่น ๆ(ยกเว้นเพื่อนมนุษย์) เป็นเครื่องแสดงออกซึ่งเอกลักษณ์แห่งตน ความมีคุณธรรมของตนโดยไม่ตระหนักถึง คำนึงถึงกฎเกณฑ์ ความสัมพันธ์ ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ขณะที่การพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างจริยปรัชญากับญาณวิทยาว่าเป็นไปได้ในกรณีใดบ้าง และอย่างไร ก็พบว่ามีความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้สามประเด็นด้วยกันคือ ประเด็นแห่งการเชื่อมโยงสู่สภาพความเป็นจริงของความรู้และการก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้ทรงคุณธรรม โดยที่ความรู้สืบเนื่องมาจากความเป็นจริงของธรรมชาติภายนอก ขณะที่การบรรลุถึงการเป็นผู้ทรงคุณธรรมสืบเนื่องมาจากความเป็นจริงในธรรมชาติภายในของมนุษย์เอง ประเด็นแห่งการพัฒนาร่วมกันของความรู้และคุณธรรม โดยมนุษย์จะเป็นผู้สร้าง ผู้ทรงคุณธรรมไม่ได้ปราศจากความรู้และระบบแห่งความรู้และระบบคุณค่าของมนุษย์ก็พัฒนาร่วมกันในการพัฒนาบุคลิกภาพ ตัวตนของมนุษย์ที่จะแสดงออกมาในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา และท้ายที่สุด อันเป็นประเด็นที่อาจจะนำไปสู่การพลิกกลับมาตรฐานทางศีลธรรม คือ ญาณวิทยาของแรนด์อาจจะขยายไปสู่การสนับสนุนอัญนิยมได้ เมื่อแรนด์ให้มนุษย์ขยายขอบเขตของความรู้ออกไปให้ครอบคลุมขอบเขตของชีวิตและถ้าชีวิตให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นจริงเกี่ยวกับการดำรงอยู่ที่ขัดแย้งกับข้อมูลที่แรนด์เสนอ คือ การอยู่รอดของแต่ละชีวิต มีความสมพันธ์ต่อกัน มิใช่ไม่มีความสัมพันธ์กันดังที่แรนด์ว่า และจากการตีความแนวคิดของแรนด์เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยการรับแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนามาจากโลกตะวันตก พบว่าแนวความคิดของแรนด์ที่สนับสนุนความเห็นแก่ตัวที่มีเหตุผล หรือความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่ใช้เพื่อมนุษย์เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายของตน ไม่แสวงหาประโยชน์จากความโง่ ความขี้ขลาด ความหวาดกลัว และความไร้เกียรติของเพื่อนมนุษย์ และแรนด์ก็เห็นว่าคุณลักษณะดังกล่าวประกอบกับสิทธิในทรัพย์สิน หรือการอนุญาตให้คนที่เห็นแก่ตัวอย่างมีเหตุผลมีทรัพย์สินส่วนตัวได้ (โดยที่แรนด์ไม่ได้กล่าวถึงข้อจำกัดใดๆ) จะทำให้มนุษย์สามารถที่จะสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับการดำรงชีวิต ทำให้โลกเป็นที่น่าอยู่อาศัย ซึ่งเป็นแนวความคิดทางการพัฒนาแบบที่เราเรียกว่าระบบทุนนิยม จากการที่ฟรอมม์ศึกษาแนวความคิดของฟรอยด์ ซึ่งฟรอมม์เห็นว่าแนวความคิดของฟรอยด์สนับสนุนระบบทุนนิยมนั้น ฟรอมม์ก็ได้ชี้ให้เห็นว่าแทนที่มันจะสนับสนุนการผลิต การสร้างสรรค์มันกลับสนับสนุนการบริโภค และจะทำให้มนุษย์รู้สึกโดดเดี่ยว วิตกกังวล ว้าเหว่ ไร้ความรู้สึก ถึงความเริงร่าของชีวิต และจะทำให้เขารู้สึกว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ไร้ค่า และต้องการที่จะทำลายมันทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของตนเองหรือชีวิตของผู้อื่น ซึ่งสภาพจิตใจในลักษณะดังกล่าว ฟรอมม์ เรียกว่า ซาโด-มาโซคิสม์ (sado-masochism) และข้อพิจารณาของฟรอมม์นี้อาจจะใช้อธิบายถึงผลแห่งแนวความคิดของแรนด์ได้ และก็ทำให้เราไม่อาจจะหวังได้ว่าแนวความคิดของแรนด์จะช่วยให้สภาพของชีวิตมนุษย์ในระบบทุนนิยมให้ดีขึ้นได้ |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to study the moral philosophy of Ayn Rand, an American woman thinker, whose works have never been systematically studied. Specifically, she refers to her ideas as “ Objectivism” , saying that “the objectivist ethics proudly advocates and upholds rational selfishness” . What does she mean by “rational selfness” and “Objectivism”? Does the subjectivist ethics really advocate and uphold rational selfishness? How can her ideas be implied to explain today’s situation? And, how can it solve human problems. Form the studies, we found that with Rand said “the objectivist ethic proudly advocates and upholds rational selfishness” it neither implies that she encourages man to make every effort merely to obtain anything he wants with no consideration to the trouble that he might cause to others, nor means that man can treat anyone as a means to his ends, which we generally name “selfishness”. We also found that Rand did not advocate any good will which is motivated by the assumption that he will get the same thing in return, which is also viewed, in Hobbes’ principles, as a selfish thing. To advocate rational selfishness means to value one’s own being in thinking, judging and conducting, particularly in producing and creating things, either artistic or scientific, to comfort life. Rand holds life as the highest value, as the standard of morality. For, without life existing, man’s life in particular, then there would be nothing to value for. So, preserving and sustaining one’s own life is the most important thing for a man. But, the term “life”, in Rand’s philosophy, is used in the acceptation of an ideal man’s life which consists of the faculties to perceive, to think , to judge and to do things according to his own ideas and judgements. So, to love, to preserve and to sustain the highest value-for a rational man, a rational selfishman-is to translate his ideas and judgements into physical forms that suit his own existence, producing and creating things to comfort life. One who does such a thing is praised as the virtuous one, as a moral being in Rand’s moral philosophy. From this point of view, Rand’s concept of life can be compared to Marx’s. Both of them hold virtue as an action issuing from the nature of ideal man, who has a faculty to produce, to create things, to achieve his moral purpose with productive work. Trying to see whether objectivism has any connection to Rand’s objectivist ethics, which upholds rational selfishness, we found that Rand’s ethics base on her metaphysics. But her ethics can be expanded to the extent that it is against her metaphysics. In such a cases that man, a kind of natural entity, gets a priviledge to deal with nature, use other entities to present his own identy, his own virtuousness with no eyes on the system, relationship and absoluteness of nature. On the consideration of how, and in which case, can the connection of her ethics and epistemology be possible, we found that there are three possible cases. Firstly, on corresponding to the reality of (knowledge and virtuousness) must base on the fact of reality. That is knowledge base on external reality and virtue base on human nature. Secondly, on mutually developing of man’s cognitive system and value system, which a man can not be a creator or virtuous if he has no knowledge of reality, and the growth of one’s personality, one’s self is impossible if his cognitive system and value system were not matually developed. Finally, the case which can lead to turn over Rand’s moral principle, is that Rand’s epistemology can be expanded to uphold altruism. Because the expansion of one’s own limit of knowledge to the limit of his life can lead him to find some new data about life which is contrary to Rand’s data and lead him to conclude that survival of each living entities is relative to others’. From the interpretation of Rand’s ideas to explain human situation, especially in any societies which is undergoing changes with the western idea of development, we find that Rand supports that the rational selfishman must be his own self, must not treat anyone as a means to his ends, must not try to gain anything either from the fool, the coward or from others’ dishonesty or fear. She insists that rational selfishman with property right (with no sign to tell us that Rand will place any limit) will support the progression of technology which will comport human existence and make this world suit to man’s living. In this case, we can say that Rand’s philosophy can get along well with capitatalism. Or we can judge that Rand tries to rationalize capitalism-which Thailand has adopted as its means of developing. From his studies of Freud’s concepts, Erich Fromm finds that Freud’s ideas support the development of capitatalism. Besides, Fromm also points out that instead of supporting production, creation, capitalism will trun to advocate consumption. Then, this kind of consumption will make man feel lonely, prevent him from appreciating vitality of life, make him deal with life as an unworthy thing, and finally make him desire to destroy it, either his own life or the others’. Fromm names this mental situation as sado-masochism or necrophilia(loving of death) which is the opposite of biophilia (loving of life).So we can not expect anything from Rand’s philosophy to solve the problems in any societies which has undergone a capitalist development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27675 |
ISBN: | 9745623903 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anoumit_Ch_front.pdf | 432.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anoumit_Ch_ch1.pdf | 242.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anoumit_Ch_ch2.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anoumit_Ch_ch3.pdf | 736.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anoumit_Ch_ch4.pdf | 534.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anoumit_Ch_ch5.pdf | 265.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anoumit_Ch_back.pdf | 242.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.