Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27678
Title: การวิเคราะห์เสถียรภาพและการคาดคะเนการทรุดตัวของกำแพงกันคลื่น บนชั้นดินอ่อน
Other Titles: Stability analysis and settlement prediction of breakwater on soft clay
Authors: อนุชิต ฐิติกวิน
Advisors: ดิเรก ลาวัณย์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงปัญหาทางด้านเสถียรภาพ และการทรุดตัวของกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง ซึ่งมีโครงการที่จะทำการก่อสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากคลื่นน้ำในทะเลบริเวณชายฝั่งของเขตอำเภอตากใบ บริเวณปากแม่น้ำตากใบซึ่งจากการศึกษาและสำรวจทางด้านธรณีวิทยาแล้วพบว่าบริเวณนั้นมีดินชั้นบนเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนอันเป็นอุปสรรคทางด้านเสถียรภาพและการทรุดตัวของโครงสร้างเป็นอย่างมาก ส่วนชั้นล่างจะมีลักษณะชั้นทรายสลับกับดินเหนียว โดยการศึกษานี้ได้ครอบคลุมไปถึงการศึกษาถึงคุณสมบัติของดินชั้นพื้นฐานในแต่ละชั้น แล้วนำผลของคุณสมบัติของดินนั้นมาทำการวิจัยถึงปัญหาทางด้านเสถียรภาพและการทรุดตัวของโครงสร้าง การวิเคราะห์ปัญหาทางด้านเสถียรภาพนั้นได้คำนึงถึงกำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวอ่อนชั้นบนซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของดินจากการทดสอบ Field Vane Shear ในสนาม มาทำการประมาณหาค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน แล้วทำการปรับแก้ค่าด้วย Bjerrum’s Correction ซึ่งผลที่ได้ปรับแก้ค่าแล้วได้นำมาเป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทางด้านเสถียรภาพต่อไป ส่วนในกรณีดินพื้นฐานที่อยู่ลึกลงไปที่เป็นชั้นดินทรายได้ใช้ข้อมูลจากการทดสอบ Standard penetration โดยนำเอาค่า (N-Valve) ที่ได้จากการทดสอบดินในชั้นทรายนำมาปรับแก้ค่า เนื่องจากผล Effective Overburden Pressure โดยวิธีการของ Peck Hanson & Thornburn (1974) แล้วจึงนำค่าที่ปรับแก้แล้วนั้นมาทำการประมาณค่ามุมเสียดทานภายในของดินชั้นทรายเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป ในด้านการวิเคราะห์ถึงการทรุดตัวของโครงสร้างนั้น ได้ใช้ข้อมูลจากการทดสอบ Consolidation มาทำการวิเคราะห์หาขนาดของการทรุดตัวที่กึ่งกลางของโครงสร้างโดยแบ่งวิธีการวิเคราะห์ออกเป็นวิธีขั้นพื้นฐาน 1 มิติ ของ Terzbghi, วิธีของ Skempton และ Bjerrum (1957) และวิธีทฤษฏีอิลาสติค ในการวิเคราะห์ได้คำนวณหาหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในดินพื้นฐานใต้โครงสร้างตรงจุดกึ่งกลางเนื่องจากน้ำหนักโครงสร้าง โดยใช้ทฤษฏีของ Grey(1936) มากทำการวิเคราะห์หาขนาดของการทรุดตัวที่เกิดขึ้นทั้ง 3 วิธี จากผลการวิเคราะห์ทางด้านเสถียรภาพ แสดงให้ทราบว่าหากจะทำการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นบริเวณนี้แล้วจะประสบกับปัญหาทางด้านเสถียรภาพได้ เนื่องจากมีค่าอัตราส่วนความปลอดภัยที่ต่ำ และพบว่าในกรณีที่ดินพื้นฐานมีลักษณะที่แบ่งกันเป็นชั้นๆ และกำลังของดินเปลี่ยนแปลงตามลักษณะของชั้นดิน การวิเคราะห์ทางด้านเสถียรภาพควรจะใช้วิธีการของ Wedge Method ทำการวิเคราะห์ เนื่องจากจะสามารถกำหนดระนาบของการพิบัติได้ค่อนข้างน่าเชื่อถือและจะได้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยที่คาดว่าจะเป็นไปได้ด้วย นอกจากนี้พบว่าสำหรับโครงสร้างกำแพงกันคลื่นนี้การที่จะใช้ Geotextiles Sheet ปูไว้ในชั้นพื้นฐานนั้นไม่สามารถจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพได้มากนัก โดยสามารถเพิ่มได้เพียง 1-2% เท่านั้นซึ่งน้อยมาก ในการวิเคราะห์ถึงขนาดของการทรุดตัวของโครงสร้างเนื่องจากการวิจัยนี้เป็นเพียงชั้นเริ่มต้นเท่านั้นข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์จึงเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดสอบดินในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ซึ่งจะสามารถวิเคราะห์ได้เพียงเป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อออกแบบในการก่อสร้างต่อไปเท่านั้น โดยจากผลที่ได้พบว่าเนื่องจากสภาพของชั้นดินพื้นฐาน มีชั้นดินเหนียวไม่ลึกมากนัก ดังนั้นขนาดของการทรุดตัวของโครงสร้างจึงไม่มากนัก แต่อาจเกิดปัญหาทางด้านการยุบตัวของโครงสร้างหรือวัสดุหินที่ใช้ถม แต่ปัญหาดังกล่าวอาจแก้ไขได้บ้างโดยการปู Geotextiles Sheet ในชั้นพื้นฐาน จากการวิเคราะห์นั้นถ้าไม่พิจารณาถึงการยุบตัวของวัสดุที่ใช้ถมแล้วจะได้ค่าของขนาดการทรุดตัวของโครงสร้าง เกิดขึ้นได้ประมาณ 15-47 ซม. ซึ่งสำหรับลักษณะของโครงสร้างประเภทนี้แล้วจะไม่เป็นปัญหา ในการใช้ประโยชน์มากนัก แต่ในกรณีที่ต้องการจะทำการประมาณค่าการทรุดตัวให้ได้ค่าที่แน่นอนนั้น จะต้องทำการสำรวจหาข้อมูลในสนามเพิ่มเติมอีก เช่น การสร้างโครงสร้างจำลองเพื่อทดสอบและทำการวัดค่าความดันน้ำโพรงเพิ่มที่เกิดขึ้นจริงภายใต้โครงสร้างนั้น แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากในการกระทำดังกล่าวจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงจึงคิดว่าการวิเคราะห์โดยวิธีของขั้นพื้นฐาน 1 มิติ ของ Terzaghi นี้น่าจะเพียงพอและเหมาะสมที่สุด จากผลการวิเคราะห์ทั้งทางด้านเสถียรภาพและขนาดการทรุดตัว สามารถสรุปได้ว่าโครงสร้างที่จะทำการก่อสร้าง อาจะเกิดการพิบัติทางด้านเสถียรภาพ ซึ่งในการแก้ไขนั้น อาจจะกระทำได้โดยการสร้าง Berm ด้านข้างเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้างหรือทำการขุดดินอ่อนชั้นบนออกและใส่ดินทรายแทน เพื่อตัดปัญหาทางด้านการพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้
Other Abstract: In this research study about the stability and settlement problem of Rubbles Mounded Breakwater Structure for Shore Protection project at Tak Bai river mouth, Narathiwat Province, According to soil investigation found that the top soil layer is soft clay which create the problem of stability and settlement. To analysis the stability problem, This research use undrained Shear strength of soil from field vane shear test, and had been adjust by Bjerrum’s Correction factor before using in the analysis. For the deep soil layer, which is sand, The N-Value had been foundly from Standard penetration test and had been Corrected by Method of Peck Hanson & Thornburn (1974). To analysis the settlement of structure, The result from Consolidation test had been used to find the settlement at the centers of Structure. The method of analysis had been divided into 3 method. The first method is convention one dimension method of Torzaghi, The second is Skempton & Bjerrum (1957) method and the third is elastic method. In analysis the stress distribution beneath the centerline of structure had been also calculated by the theory of grey (1936) The result from stability analysis shown that the Construction of Breakwater Structure shall by confront with the stability problem because of low safety factor in case of soil foundations layer and different properties, the wedge method should be used in stability analysis because the method will give the worst safe result. In this case. The result is also shown that using geotextiles sheet can increase the stability only about 1-2%. In Settlement analysis, The value of Settlement vary from 15 to 47 cm. depend on method of analysis. The calculated settlement in this research is can be use to be quideline for preliminary study. The exact settlement shall be find out during Construction by direct measurement of excess pore water pressure. To solve the stability and settlement problem. The Construction should be add side berm to increase. The stability which can reduce the problem of possible failure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27678
ISBN: 9745662909
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anuchit_Th_front.pdf657.93 kBAdobe PDFView/Open
Anuchit_Th_ch1.pdf470.02 kBAdobe PDFView/Open
Anuchit_Th_ch2.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Anuchit_Th_ch3.pdf559.25 kBAdobe PDFView/Open
Anuchit_Th_ch4.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Anuchit_Th_ch5.pdf320.95 kBAdobe PDFView/Open
Anuchit_Th_back.pdf991.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.