Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27681
Title: ความถูกต้องของดัชนีคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับสุขภาพช่องปากฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยคนไทย
Other Titles: Validity of the Thai version of the oral health impact profile in Thai patients
Authors: ณัฐวัฒน์ ชัยพจนพงศ์
Advisors: วัชรศักดิ์ ตุมราศวิน
สุดาดวง กฤษฎาพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปาก -- การดูแลและสุขวิทยา
การวัดทางจิตวิทยา
คุณภาพชีวิต
เครื่องชี้ภาวะสุขภาพ
การสำรวจด้านทันตกรรม -- ไทย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากชนิดออรัลเฮลธ์อิมแพคโปรไฟล์ฉบับภาษาไทยและนำมาทดสอบคุณสมบัติทางไซโคเมทริก วิธีการวิจัยทำโดยการแปลดัชนีต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วยวิธีการแปลไปและแปลกลับ แล้วทดสอบความตรงทางเนื้อหาโดยกระบวนการสังเคราะห์ประเด็นของปัญหาซึ่งได้มีการเพิ่มข้อคำถามอีก 5 ข้อ ได้แก่ การกัดแก้ม อาการปากแห้ง การมีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นและการใช้เวลาในการรับประทานอาหารนานขึ้น จากนั้นนำดัชนีที่ได้รับการพัฒนาซึ่งประกอบด้วย 54 ข้อคำถามมาทดสอบในผู้ป่วยทันตกรรมคนไทยที่มีปัญหาในด้านต่างๆจำนวน 600 คน อายุ 20-85 ปี การทดสอบความตรงทางโครงสร้างทำโดยการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนรวมของดัชนีกับการประเมินสภาวะช่องปากและคุณภาพของฟันปลอมของผู้ป่วยด้วยตนเองและความผิดปกติใน ช่องปาก 6 ชนิด ได้แก่ อาการเจ็บปวดบริเวณขมับและขากรรไกร การมีเสียงคลิกที่ข้อต่อขากรรไกร อาการแสบร้อนช่องปาก การมีกลิ่นปาก การอ้าปากได้ยากและนิสัยเกี่ยวกับอวัยวะช่องปาก ทดสอบความเที่ยงโดยการทดสอบค่าความเชื่อมั่นภายในและการทดสอบซ้ำในผู้ป่วยคนไทยที่มีปัญหาด้านทันตกรรมจำนวน 60 คน ที่ระยะเวลาห่างกัน 2 สัปดาห์ โดยทดสอบค่าสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่าดัชนีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากชนิดออรัลเฮลธ์อิมแพค โปรไฟล์ฉบับภาษาไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติทางไซโคเมทริกที่ดี ผลการประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยพบว่าระดับการศึกษา จำนวนซี่ฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป สภาวะฟันและฟันปลอมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objective of this study was to develop the Thai version of the Oral Health Impact Profile (Thai-OHIP) and to investigate its psychometric properties. The original English version of the OHIP was translated into Thai using a forward-backward method. A de novo development of Thai items was conducted to establish content validity. Five new items (‘bite cheeks’, 'dry mouth', 'clicking joint sounds', 'avoiding eating with others' and 'take longer time to complete a meal') were added. The Thai-OHIP with 54 items was further tested in a group of Thai dental patients (n = 600, aged 20-85 yrs). The relationships between Thai-OHIP summary scores, self-reported oral health, self-reported denture quality and six oral conditions (TMD pain, joint clicking, burning mouth sensation, halitosis, difficulty in opening the mouth and oral habits) were investigated for construct validity. The internal consistency and test-retest reliability (n = 60; at 2 week intervals) were investigated for reliability. All statistical tests were done at significant level 0.05. As a result, psychometric properties of Thai-OHIP were good. The findings of this study showed that educational level, tooth loss, oral status and denture status had a significant impact on oral health-related quality of life of Thai dental patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27681
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1426
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1426
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthawat_ch.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.