Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27683
Title: การวิเคราะห์สถานภาพและความต้องการ การใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์
Other Titles: An analysis of status and needs in utilization of instructional media of faculty in the faculty of medicine
Authors: ศักดา ประจุศิลป
Advisors: ศุภร สุวรรณาศรัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพของการใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ 2. เพื่อวิเคราะห์ความต้องการด้านบริการ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ รวม 5 มหาวิทยาลัย คือคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย มหาวิทยาลัยละ 20 คน รวม 100 คน และได้รับกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 78.0 และหัวหน้าหน่วยเวชนิทัศน์ (โสตทัศนศึกษา) คณะแพทยศาสตร์ รวม 5 มหาวิทยาลัยดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยละ 1 คน รวม 5 คน และได้รับกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 100 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐานคือหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. ด้านประสบการณ์และความคิดเห็น คณาจารย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนเป็นอย่างดี โดยได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรระยะสั้น ๆ แหล่งผลิตและให้บริการที่ใช้มากคือหน่วยเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ และรองลงมาคือ การผลิตสื่อการสอนขึ้นใช้เอง วิธีการสอนคณาจารย์ส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติการ รองลงมาคือการสอนแบบอภิปราย สำหรับการเพิ่มพูนความรู้คณาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการให้คณะแพทยศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการอบรม 2. การวิเคราะห์สถานภาพความต้องการใช้สื่อการสอนของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ปรากฏว่ามีความต้องการใช้สไลด์และเครื่องฉายมากที่สุด รองลงมาคือเอกสาร เครื่องบันทึกและแสดงภาพ แผ่นโปร่งใสและเครื่องฉายและระบบการขยายเสียง สื่อการสอนที่มีความต้องการใช้น้อย ได้แก่แผนที่ กระดานผ้าสำลี ป้ายนิเทศ คอมพิวเตอร์หุ่นยนตร์ การสอนระบบคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์ 3. ปัญหาด้านสื่อการสอน คณาจารย์ส่วนใหญ่ประสบมากที่สุดคือ หน่วยไม่มีความรู้ในด้านการผลิต รองลงมาตามลำดับคือ ไม่มีบุคลากรช่วยในการผลิต ขาดงบประมาณที่ใช้ในการผลิต ผู้ผลิตไม่มีเวลาเพียงพอและบริการล่าช้าไม่ได้รับความสะดวก ข้อเสนอแนะ 1. หน่วยเวชนิทัศน์จะต้องสรรหาบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถสูง มีประสบการณ์ในด้านการผลิตสื่อการสอนเป็นอย่างดี เพื่อให้คำปรึกษาและเสนอแนะแก่หน่วยได้ 2. หน่วยเวชนิทัศน์จะต้องมีงบประมาณในการจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อการสอนเพียงพอแก่ความต้องการและสื่อการสอนที่จำเป็นใช้บ่อยมากพอ 3. หน่วยเวชนิทัศน์ควรจะได้กำหนดนโยบายและแผนงานไว้ล่วงหน้าให้มีเวลาเพียงพอในการบริการผลิตสื่อการสอน นอกจากนั้นคณาจารย์ควรให้ความร่วมมือกับหน่วยโดยเตรียมการใช้สื่อการสอนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้หน่วยมีเวลาเพียงพอในการผลิต หน่วยควรจะได้มีการประชาสัมพันธ์ในด้านบริการทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์ว่าชนิดใดมีและให้บริการด้วย
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27683
ISBN: 9745640484
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakda_Pr_front.pdf517.63 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch1.pdf594.64 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch2.pdf593.77 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch3.pdf373.24 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch4.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_ch5.pdf595.47 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_Pr_back.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.