Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27689
Title: ลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสภาตำบล ในเขตรับผิดชอบของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี
Other Titles: Teacher characteristics relevant to rural development as perceived by the Tambol council in Ubon Ratchathani Teachers' College responsible area
Authors: อนุศักดิ์ เกตุสิริ
Advisors: นิพนธ์ ไทยพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท ในความคิดเห็นของประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล เกี่ยวกับลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท สมมุติฐานของการวิจัย ประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล มีความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบทแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเขตจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ.2526 สำหรับกลุ่มตัวอย่างประชากรใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาจากกลุ่มประธานกรรมการสภาตำบล 166 คน จากจำนวนทั้งหมด 282 คน กลุ่มพัฒนากร 144 คน จากจำนวนทั้งหมด 226 คน และเลขานุการสภาตำบล 166 คน จากจำนวนทั้งหมด 282 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 476 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 1 ชุด ประกอบด้วยคำถามแบบตรวจสอบรายการ (check-list) และมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและทางไปรษณีย์ ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามออกไปทั้งหมด 476 ชุด ได้รับคืน 422 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.65 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS คำนวณค่าร้อยละ และไค-สแควร์ 4.1 ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ 4.2 ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล เกี่ยวกับลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล เกี่ยวกับลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท โดยทดสอบค่าไค-สแควร์ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล เกี่ยวกับลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท สรุปได้ว่า ประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ครูควรจะมีลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบทในด้านความรู้ ความเป็นผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ ความซื่อตรงต่อหน้าที่ และความอดทน อยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านความเชื่อมั่นในตนเองและด้านการบำรุงรักษาสุขภาพอนามัย ประธานกรรมการสภาตำบลและเลขานุการสภาตำบล มีความคิดเห็นว่าครูควรมีลักษณะนี้ในระดับที่มากที่สุด ส่วนพัฒนากรมีความคิดเห็นว่า ครูควรมีลักษณะเหล่านี้ในระดับมาก สำหรับในด้านการยอมรับวิทยากรใหม่ ประธานกรรมการสภาตำบลและพัฒนากร มีความคิดเห็นว่า ครูควรจะมีลักษณะนี้มาก ส่วนเลขานุการสภาตำบลมีความคิดเห็นว่าครูควรจะมีลักษณะเหล่านี้มากที่สุด 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล เกี่ยวกับลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท พบว่า ประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล มีความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบทในด้านความรู้ไม่แตกต่างกัน ส่วนลักษณะของครูที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบทในด้านความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นในตนเอง มนุษยสัมพันธ์ ความซื่อตรงต่อหน้าที่ การยอมรับวิทยากรใหม่ ความอดทน การบำรุงรักษาสุขภาพอนามัย ประธานกรรมการสภาตำบล พัฒนากร และเลขานุการสภาตำบล มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
Other Abstract: Purposes of study 1. To study teacher characteristics relevant to rural development as perceived by the chairman of Tambol council, the community development worker and the secretary of Tambol council. 2. To compare the opinions of the chairman of Tambol council, the community development worker and the secretary of Tambol council relating to teacher characteristics relevant to rural development. Hypothesis The opinions of the chairman of Tambol council, the community development worker and the secretary of Tambol council relating to teacher characteristics relevant to rural development are different. Procedures 1. The samples used in this study were composed of three groups: the chairman of Tambol council, the community development worker and the secretary of Tambol council who worked in Ubon Ratchathani and Yasothorn in 1983. Four hundred and seventy-six subjects were randomized: 166 out of the 282 chairman of Tambol council, 144 out of the 266 community development worker and 166 out of the 282 secretary of Tambol council were used as the samples of the study. 2. A questionnaire was used to collect the data. The questionnaire is composed of two parts : the first part is a type of check-list and the second is rating scale. 3. Data collection was undertaken both by mail and by the researcher. Four hundred and seventy-six copies of questionnaire were sent out and 422 or 88.65 percent were returned. 4. The SPSS program was used in data analysis. Percentage was used to analize the sample status (part one) and Chi-square was applied for the comparison of opinions of the the chairman of Tambol council, the community development worker and the secretary of Tambol council. Conclusion 1. The findings relating to the teacher characteristics relevant to rural development could be concluded that the characteristics which were perceived as highly relevant by the majority of all groups were those of knowledge, leadership, human relationship, honesty and patience. As for self-confidence and health care, the chairman of Tambol council and the secretary of Tambol council perceived as highly relevant while the community development worker perceived as “high”. And for modern technology acceptance the chairman of Tambol council, the community development worker perceived as “high” while the secretary of Tambol council as “very high” 2. The chairman of Tambol council, the community development worker and the secretary of Tambol council did not differently perceive the knowledge characteristic of teachers relevant to rural development, but they differently perceived leadership, self-confidence, human relationship, honesty, modern technology acceptance, patience, and health care characteristics. This difference was found to be significant at .05 of confidence, hence the hypothesis was retained.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27689
ISBN: 9745627143
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anusak_Ke_front.pdf460.86 kBAdobe PDFView/Open
Anusak_Ke_ch1.pdf478.52 kBAdobe PDFView/Open
Anusak_Ke_ch2.pdf997.89 kBAdobe PDFView/Open
Anusak_Ke_ch3.pdf370.4 kBAdobe PDFView/Open
Anusak_Ke_ch4.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Anusak_Ke_ch5.pdf572.58 kBAdobe PDFView/Open
Anusak_Ke_back.pdf587.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.