Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27714
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่กับขนาดกลาง ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparative study on management between large and medium sized architecture firms in Bangkok Metropolis
Authors: องอาจ รังษีกาญจน์ส่อง
Advisors: มานพ พงศทัต
ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการและดำเนินงานของบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่กับบริษัทสถาปนิกขนาดกลาง ในกรุงเทพมหานคร การกำหนดขนาดของบริษัทสถาปนิกถือจำนวนพนักงานเป็นเกณฑ์ โดยกำหนดให้บริษัทสถาปนิกที่มีพนักงานมากกว่า 40 คน เป็นบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ และบริษัทสถาปนิกที่มีพนักงาน 15-40 คน เป็นบริษัทสถาปนิกขนาดกลาง การวิจัยนี้อาศัยข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์กรรมการผู้จัดการของบริษัทสถาปนิก และผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจด้านนี้ และศึกษาข้อมูลทุติยภูมิโดยค้นคว้าจากเอกสาร บทความ รวมทั้งหนังสือและตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันในด้านการวางแผน เนื่องจากบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ดำเนินการออกแบบโครงการขนาดใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินงานนาน ทำให้สามารถกำหนดแผนงานในระยะยาวได้ ส่วนบริษัทขนาดกลางดำเนินการออกแบบโครงการขนาดเล็กมีระยะเวลาในการดำเนินงานสั้น การกำหนดแผนระยะยาวกระทำได้ยาก สำหรับการจัดองค์การและการปฏิบัติขั้นดำเนินงานของบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่และขนาดกลางจะไม่แตกต่างกัน ด้านการควบคุมของบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่และขนาดกลางจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้านการควบคุมคุณภาพของการออกแบบ แต่การควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานนั้น บริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้กฎระเบียบอย่างเคร่งครัดกว่าบริษัทสถาปนิกขนาดกลาง เนื่องจากผู้บริหารบริษัทสถาปนิกขนาดกลางเห็นว่าการปฏิบัติงานของสถาปนิกจำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านอารมณ์และจิตใจ จึงไม่เคร่งครัดต่อกฎระเบียบมากนัก ในขณะที่ผู้บริหารของบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ต้องการให้สถาปนิกปฏิบัติงานกันอย่างพร้อมเพียง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควบคุมโดยใช้กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ผลการศึกษาพบว่าเป็นไปตามสมมุติฐานและไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ดังนี้ 1. ขนาดและจำนวนโครงการที่ได้รับมีผลต่อลักษณะการจัดการ ผลการศึกษาพบว่าเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากโครงการขนาดใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินงานนาน ทำให้สามารถกำหนดแผนงานของบริษัทในระยะยาวได้ ในขณะที่การดำเนินงานในโครงการขนาดเล็กซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินงานสั้น แผนการดำเนินงานของบริษัทจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า การกำหนดแผนงานของบริษัทกระทำได้ยากขึ้น การดำเนินงานในโครงการขนาดใหญ่ต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก และต้องการผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ด้าน ทำให้โครงสร้างขององค์การเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในโครงการนั้น และหากเป็นโครงการขนาดใหญ่มาก เช่น การออกแบบสนามบิน การดำเนินงานจะอยู่ในลักษณะของการร่วมกันดำเนินงานโดย บริษัทสถาปนิกหลายๆ บริษัท นอกจากนี้การดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่มีความซับซ้อนมากกว่าโครงการขนาดเล็ก จึงก่อให้เกิดความแตกต่างกันในลักษณะของการจัดการ 2. การตัดสินใจของบริษัทขนาดใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง ส่วนบริษัทสถาปนิกขนาดกลาง การตัดสินใจขึ้นอยู่กับบุคคลเพียงคนเดียว ผลการศึกษาพบว่าไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ การตัดสินใจในด้านต่างๆ ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะความเป็นเจ้าของกิจการ บริษัทสถาปนิกที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบุคคลเพียงคนเดียว อำนาจการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับบุคคลดังกล่าว ส่วนบริษัทสถาปนิกที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลถือหุ้นเท่าๆกัน การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับบุคคลกลุ่มนี้ 3.บริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่นำระบบการบริหารงานมาใช้ในการจัดการมากกว่าบริษัทสถาปนิกขนาดกลาง ผลการศึกษาพบว่าเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ บริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่มีการบริหารงานที่เป็นระบบมากกว่าบริษัทสถาปนิกขนาดกลาง โดยเฉพาะการบริหารการเงินและระบบบัญชี และการควบคุมการปฏิบัติงานของบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่ จะใช้กฎระเบียบของบริษัทอย่างเคร่งครัดกว่าในบริษัทสถาปนิกขนาดกลาง 4. ชื่อเสียงของหัวหน้าสถาปนิกมีผลต่อความสำเร็จของบริษัท ทั้งในบริษัทสถาปนิกขนาดใหญ่และขนาดกลาง ผลการศึกษาพบว่าเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ หัวหน้าสถาปนิกเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการบริหาร การตลาด และการออกแบบ จึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของบริษัทสถาปนิก โดยเฉพาะทางด้านการตลาด จากการศึกษาสามารถสรุปข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาได้ดังต่อไปนี้ 1. ผู้บริหารของบริษัทสถาปนิกควรจะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และแนวโน้มของการลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ มากขึ้น เพื่อให้การวางแผนของบริษัทมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น นอกจากนั้นยังช่วยให้การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการวางแผนการตลาดของบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ผู้บริหารของบริษัทสถาปนิกควรจะลดภาระหน้าที่ด้านการบริหารงานในบริษัทของตนเอง เพราะผู้บริหารของบริษัทสถาปนิกมีภาระรับผิดชอบหลายด้าน ทั้งการบริหารงาน การตลาด และการออกแบบ จึงควรสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถมาช่วยบริหารงานในบริษัทจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3. บริษัทสถาปนิกทุกบริษัทควรตระหนักถึงความรับผิดชอบในการรักษามาตรฐานการออกแบบของตน เนื่องจากการลดอัตราค่าออกแบบเพื่อการแข่งขัน โดยการลดมาตรฐานการออกแบบเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จะทำให้ผู้ใช้บริการขาดความเชื่อถือในบริษัทและก่อให้เกิดผลเสียต่อภาพพจน์โดยส่วนรวมของบริษัทสถาปนิก 4. บริษัทสถาปนิกควรทำสัญญาว่าจ้างออกแบบกับผู้ใช้บริการ เพื่อลดปัญหาของการเรียกชำระเงินค่าบริการ และการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน เป็นผู้ดำเนินการเรียกชำระเงินค่าบริการ จะทำให้การเรียกชำระเงินค่าบริการของบริษัทมีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะให้สถาปนิกเป็นผู้ดำเนินการ นอกจากข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังได้กล่าวมาแล้ว จากการศึกษาพบว่าผู้บริหารของบริษัทสถาปนิกควรจะเปลี่ยนทัศนคติ จากการเป็นนักวิชาชีพมาเป็นนักวิชาชีพกึ่งธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัท และนักศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ควรให้ความสนใจกับการศึกษาวิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์มากกว่านี้ ซึ่งจะนำมาใช้ในการประกอบวิชาชีพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: The objective of this thesis is to make a comparative study on management between large and medium size of architecture firms in Bangkok metropolis. The size of the architecture firms is based on the number of employees, the firms with more than 40 employees is considered as large size firms, and firms with 15-40 is considered as medium size. The primary data of this study is collected from the interview taken with the managing Director of architecture firms and also with those who are experienced in this field. The secondary data is taken from document, articles and others various textbooks. The comparative study management between large and medium size firms shows differences is planning. The large size architecture firms design large project, covering a long period of time, which make it possible to have long term planning. On the other hand, the medium size companies design small project in short period of time, whereby long term planning becomes an obstacle. The large and medium size firms do not differ in their organizational structure and function. The quality control of the design of large and medium size firms is more or less the same. But the supervision and the controlling of staff in the large size firms are not strict with their employees as they realize that architects are quite sensitive and temperamental. In order to maintain maximum efficiency, The large size firms like their staff to strictly follow the company’s rules and regulations. The result of the studies went according to and not according to the assumptions as follows. 1. The assumption that the size and the number of projects affects the pattern of management is correct. The large project consumes long period of time which makes it possible to have long term planning whereas the small project with short term contract will have more changes in its plan. The function of big size project requires as large number of staff, specializing in various fields. In effect the organizational structure change to adapt itself to the working procedures of that project. In case of an extremely large project such as an airport layout, the project will be in the form of a joint venture between various architecture firms. In addition, the management of the large project will be more complicated than that of the small one. 2. The assumption that the decision making of large architecture firms is made by the top management, whereas the decision making of medium size companies is decided by one person is wrong. Most of the decision making does not relate with the size of the companies but relates directly to the type of ownership. For architecture firms that have only one person holding the majority of shares, the decision making will lie with that person. Similarly, the architecture firms having a group of person holding the majority shares equally among them, then the decision making will lie with them. 3. The assumption that the large architecture firms have more systematic administrative system than the medium size architecture firms is correct. This factor is specially true in finance and accounting administration and in the supervision of staff, where the large size companies have much stricter policy than the medium size firms. 4. The assumption that the reputation of the leader architect reflects on the success of the companies is true. Leader architect plays an important role in designing, administrating and marketing of the firms. He therefore, is an important person to contribute to the success of the companies. From our studies we can suggest means of solving the problems as follows, 1. The management of the architecture firms should concentrate more on the analysis of the economic situation of the country and on the business investment in general, so that their planning will gear in lines with the economic conditions at the time, Moreover, it will assist in the selection of potential customers and also assist in the more effective marketing planning of the companies. 2. The Management of the architecture firms should decrease their workload, and should instead recruits capable staff to assist them in the administration of the companies. 3. The architecture firms should maintain the quality of their design. The reduction of fee, by lowering the quality of design and cost to compete in the market will damage the goodwill of the customers and create bad image for the companies. 4. The architecture firms should sign the contract with their customers to avoid difficulties in collecting the fees. The collection of fees will be more effective if bill collector is assigned to collect the money. Apart from the suggestion to the problems already given, the management of the architecture firms should adapt themselves to be more of a businessman. In addition, the students who studies architecture should give more importance to the studies of Business Administration and economics, as these subjects will be beneficial to them in their career.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27714
ISBN: 9745641383
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ongoaj_Ra_front.pdf490.44 kBAdobe PDFView/Open
Ongoaj_Ra_ch1.pdf338.11 kBAdobe PDFView/Open
Ongoaj_Ra_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Ongoaj_Ra_ch3.pdf673.71 kBAdobe PDFView/Open
Ongoaj_Ra_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Ongoaj_Ra_ch5.pdf526.01 kBAdobe PDFView/Open
Ongoaj_Ra_back.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.