Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27733
Title: | เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชสมัยการปกครองแบบเก่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2435 |
Other Titles: | The governorship of ligor under the old system of government of the Bangkok period (A.D. 1782-1892) |
Authors: | อรียา เสถียรสุต |
Advisors: | แสงโสม เกษมศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | นครศรีธรรมราช -- การเมืองและการปกครอง ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325- |
Issue Date: | 2515 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราชและเจ้าเมือง โดยเริ่มการวิจัยเฉพาะสมัยรัตนโกสินทร์ขณะปกครองตามแบบเก่า ระยะตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนสมัยการปฏิรูปการปกครอง ตลอดจนเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองด้วย เพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราชและเจ้าเมืองในแต่ละรัชกาล โดยเฉพาะบทบาทของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช วิทยานิพนธ์นี้มี 7 บท บทนำกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหาการค้นคว้า ความมุ่งหมายของการวิจัย ขอบเขตการวิจัย และวิธีการค้นคว้า บทที่สองกล่าวโดยย่อถึงลักษณะโดยทั่วไปของเมืองนครศรีธรรมราช ประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มแรกและบรรดาเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในแต่ละสมัย เพื่อเป็นการวางพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเมืองนครศรีธรรมราช บทที่สามกล่าวถึงเมืองนครศรีธรรมราช สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยกรุงธนบุรี เมืองนครฯ ได้เลื่อนฐานะเป็นเมืองประเทศราช แต่ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ถูกลดฐานะให้เป็นเมืองชั้นเอกดังเดิม เจ้าเมืองนครฯ เป็นผู้ดูแลปกครองหัวเมืองทางใต้เป็นส่วนใหญ่ บทที่สี่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองนครฯ ในสมัยรัชกาลที่สอง ประกอบด้วยเรื่องราวภายในและภายนอกประเทศ เน้นถึงเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ซึ่งมีชื่อเสียงในการปกครองบรรดาหัวเมืองทางใต้ และด้านการต่างประเทศ เหตุการณ์สำคัญคือ การปราบเมืองไทรบุรีใน พ.ศ. 2364 และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษ สงครามอังกฤษและพม่า ตลอดจนเรื่องเมืองไทรบุรี เป็นส่วนหนึ่งที่ชักจูงให้อังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้องกับไทย และส่งทูตเข้ามาเจรจากับไทยในเวลาต่อมา บทที่ 5 ต่อเนื่องกับเหตุการณ์ในบทที่สี่คือ การเจรจากับอังกฤษในรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยานครฯ (น้อย) มีบทบาทในการเจรจากับเฮนรี่ เบอรนี และเป็นผู้ทำสนธิสัญญาเบื้องต้น การปราบกบฏพวกเจ้าพระยาไทรบุรีครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2373 และ พ.ศ. 2380 แสดงถึงความพยายามของเมืองนครฯ ที่จะควบคุมบรรดาหัวเมืองมลายูไว้ในอำนาจของไทย ในเวลาเดียวกันได้กล่าวถึงการแข่งขันระหว่างเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสงขลาซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อการปกครองบรรดาหัวเมืองทางใต้ บทที่ 6 เมื่อเมืองนครฯ เปลี่ยนเจ้าเมืองเป็นเจ้าพระยานครฯ (น้อยกลาง) ปัญหาเรื่องเมืองไทรบุรียุติลงชั่วคราว แต่มีปัญหาเรื่องเมืองกลันตันและสงคราวกลางเมืองปะหัง เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 4 ไม่มีอะไรเด่นนัก บทที่ 7 ซึ่งเป็นบทสุดท้าย กล่าวถึงสภาพเมืองนครศรีธรรมราชก่อนและหลังการปฏิรูปการปกครอง ตลอดจนผลของการปฏิรูปการปกครอง พระยานครฯ (หนูพร้อม) เจ้าเมืองนครฯ คนสุดท้ายในสมัยการปกครองแบบเก่า เป็นเจ้าเมืองอยู่ไม่นาน ถูกเรียกตัวให้เข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อเริ่มการปฏิรูปการปกครองเพื่อให้การปกครองมีประสิทธิภาพ และรัดกุมขึ้นกว่าเดิม พระวิจิตรวรสาสน์ได้รับแต่งตัวให้เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการ และเลื่อนเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลปกครองมณฑลนครศรีธรรมราช เมืองนครศรีธรรมราชได้รับการปรับปรุงในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการศาล ตำแหน่งเจ้าเมืองมีความสำคัญลดน้อยลงกว่าเดิม แต่เมืองนครฯ เจริญก้าวหน้าขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยที่มีการปกครองแบบเก่า ในตอนท้ายเป็นการสรุปผลของการวิจัยซึ่งแบ่งออกเป็นข้อๆเกี่ยวกับ ด้านการปกครอง การต่างประเทศ ตำแหน่งเจ้าเมือง ความเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับการแตกแยกและแข่งขันกันระหว่างเมืองนครฯ และเมืองสงขลา พร้อมทั้งเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจบทบาทเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ในด้านการต่างประเทศ ถ้าหากสามารถหาเอกสารขั้นต้นและขั้นรองจากภาษาต่างประเทศมาประกอบการค้นคว้า อาจะเป็นการวิจัยที่น่าสนใจอย่างมากได้เรื่องหนึ่ง |
Other Abstract: | This research is an attempt to make a detailed study of Nakhon Sritammarat (known to foreigners as Ligor) and its governors from the beginning of the Bangkok Period to the reforms in the reign of King Chulalongkorn. This thesis is devided into 7 chapters. The introductory chapter is a survey of the problem, the aims, the scope and the method of research of this thesis. The second chapter deals with the general background of Nakhon Sritammarat and its history in each period. The third chapter presents Nakhon Sritammarat at the end of the Ahyudaya Period and during the Thonburi Period. In the reign of King Rama I, Nakhon Sritammarat, raised a vassal state by King Taksin, was reduced to a first class province. The fourth chapter is concerned with internal and external events, namely, the Thai occupation of Kedah in 1821 and the relationship between England and Thailand. It is noted that the situation in Kedah and the Anglo-Burmese War were instrumental in arousing the interest of England in sending envoys to Thailand. Chapter V is related to chapter IV and describes the negociations between Thailand and England. Chao Phrya Nakhon Sritammarat (Noi) participated in the negociations with Henry Burney and signed the Preliminary Treaty in 1825. When the relatives of the Sultan of Kedah revolted against Thailand in 1830 and l837, Chao Phrya Nakhon Sritammarat took part in pacifying these two revolutions. His attempt to extend his control over the Malay Tributary States is shown. The rivalry, jealiousy and resentment between Nakhon Sritammarat and Songkla led to the lack of cooperation between these two main provincial centres over the Southern areas. The sixth chapter introduced the new governor, Chao Phrya Nakhon Sritammarat (Noi Klang), the dispute in Kedah and the war in Pahang. The last chapter is about Nakhon Sritam-marat before and after the reforms. Phrya Nakhon Sritammarat (Nhu Prom) was summoned to Bangkok and Pra Vichitrvarasat was appointed special-inspector and later resident commissioner in Monthol Nakhon Sritammarat. The administration, economy and judiciary of this province were greatly improved during the time of the Thesaphibal system of provincial administration. The thesis concludes with the writer's point of view about the administration, the foreign affairs, the governorship of Nakhon Sritammarat and the lack of cooperation and rivalry between Songkla and Nakhon Sritammarat. The writer suggests that the detailed study of the role of Chad Phrya Nakhon (Noi) in foreign affairs, if primary and secondary sources in other European languages could be found and utilized, would be more significant and interesting. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27733 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Areeya_Sa_front.pdf | 527.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_ch1.pdf | 285.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_ch2.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_ch3.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_ch4.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_ch5.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_ch6.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_ch7.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Areeya_Sa_back.pdf | 670.11 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.