Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27742
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี ศิริโชติ
dc.contributor.authorอรุณี จักรสิรินนท์
dc.date.accessioned2012-12-15T15:37:43Z
dc.date.available2012-12-15T15:37:43Z
dc.date.issued2526
dc.identifier.isbn9745624799
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27742
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีองค์ประกอบแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ ความสนใจทางคณิตศาสตร์ และสถิติการมาเรียนของนักเรียน อาชีพและระดับการศึกษาของผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว ขนาดของครอบครัว และการใช้สื่อมวลชนของครอบครัว วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2525 ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 388 คน รวมทั้งผู้ปกครองของนักเรียนเหล่านั้น โดยผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2 ประเภท คือแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กับแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนและข้อมูลสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิรวม 8 ท่าน ก่อนนำแบบทดสอบไปทดลองใช้ แล้วนำผลมาวิเคราะห์ ได้แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าระดับความยากระหว่าง .20-.77 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .21-.61 แบบทดสอบฉบับนี้มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .0845 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปของ SPSS (Statistical Package For The Social Science) ผลการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีองค์ประกอบแตกต่างกันในเรื่องอายุ ความสนใจทางคณิตศาสตร์ สถิติการมาเรียน อาชีพของผู้ปกครอง ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และการใช้สื่อมวลชนของครอบครัว มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ดังนี้ นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 9-10 ปี มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีอายุระหว่าง 7-8 ปี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีความสนใจทางคณิตศาสตร์มาก มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีความสนใจทางคณิตศาสตร์น้อยและปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีจำนวนวันมาเรียนมาก มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีจำนวนวันมาเรียนน้อย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักเรียนที่มีผู้ปกครองจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีผู้ปกครองจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หรือต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นักเรียนที่ครอบครัวมีการใช้สื่อมวลชนมาก มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ครอบครัวมีการใช้สื่อมวลชนน้อย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีองค์ประกอบแตกต่างกันในเรื่อง เพศ รายได้ของครอบครัว และขนาดของครอบครัว มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
dc.description.abstractalternativePurposes The purpose of this research was to study the problem- solving abilities in mathematics of Prathom Suksa three students by comparing their different selected factors in sex, age, mathematical interest, attendance records, including parents‘ y occupation, educational background, family income, family size, and the mass media. Procedures The samples consisted of 388 Prathom Suksa three students, the academic year 1982 in Bangkok Metropolis including their parents. The tools employed were the mathematical problem solving ability test and the questionnaire dealing with student's data and socioeconomic status of their families. These had been approved by 8 experts. After trying out the first test, it had the level of difficulty in the range between .20-.77, the power of discrimination between .21-.61 and the reliability 0.845. The data were analyzed by the SPSS computer program. Findings 1. The Prathom Suksa three students with different factors in-age, mathematical interest, attendance records, parents occupation, educational background and the mass media available had different ability in solving mathematical problem significantly at the .05 level as the following details: - Students in the 9-10 years age group had higher ability than those in the 7-8 years age group. - Students with more mathematical interest had higher ability than those with medium and low. - Students with good attendance records had higher ability than those with poor attendance records. - Students whose parents’ holding bachelor‘s degree or equivalence had higher ability than those whose parents educated at and lower than Prathom Suksa four. -Students with more mass media available had higher ability than those with less mass media available family. 2. Students with different factors in sex, family income and size had different ability in solving mathematical problem insignificantly at the .05 level.
dc.format.extent510845 bytes
dc.format.extent537080 bytes
dc.format.extent648730 bytes
dc.format.extent409262 bytes
dc.format.extent682768 bytes
dc.format.extent555248 bytes
dc.format.extent1137070 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่มีองค์ประกอบคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนต่างกันen
dc.title.alternativeA comparison of problem-solving abilities in mathematics of prathom suksa three students with their different selected factorsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunee_Ja_front.pdf498.87 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Ja_ch1.pdf524.49 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Ja_ch2.pdf633.53 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Ja_ch3.pdf399.67 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Ja_ch4.pdf666.77 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Ja_ch5.pdf542.23 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Ja_back.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.