Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27745
Title: การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในภาษาพูด ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
Other Titles: An analysis of English structures in spoken language of English major students at higher certificate of education level
Authors: อรุณี ตัณฑ์ศิริ
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในภาษาพูดของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาขั้นสูง ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามการพูดภาษาอังกฤษขึ้น 1 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบที่เป็นรูปภาพต่อเนื่องกัน 3 ภาพ จำนวน 6 ชุด และแบบสอบที่เป็นบทความจำนวน 6 ชุด เพื่อให้นักศึกษาบรรยายภาพเป็นภาษาอังกฤษ คนละ 1 ชุด และพูดสรุปข้อความที่อ่านคนละ 1 ชุด โดยผู้วิจัยเป็นผู้สุ่มแบบสอบให้นักศึกษาโดยใช้วิธีสุ่มแบบธรรมดา นำแบบสอบที่สร้างขึ้นไปทดลองสอบกับนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาขั้นสูง จำนวน 10 คน เพื่อหาความเหมาะสมของเวลาและคำสั่ง แล้วนำแบบสอบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาขั้นสูงในวิทยาลัยครูในภาคกลาง 4 แห่ง จำนวน 100 คน โดยบันทึกภาษาพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาลงในเครื่องบันทึกเสียง แล้วถอดข้อความภาษาพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาแต่ละคนจากเครื่องบันทึกเสียงเป็นภาษาเขียน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อผิดในการใช้โครงสร้างประโยค โดยคำนวณหาค่าร้อยละของข้อผิด และวิเคราะห์ปัญหาในการใช้โครงสร้างประโยค ตามหาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่อง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. ลักษณะโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในภาษาพูดของนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นรูปประโยคเอกรรถประโยค นักศึกษาใช้รูปประโยค Active Voice มากกว่า Passive Voice คำนามที่ใช้มักไม่แสดงลักษณะความเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ รูปกริยาส่วนมากไม่แสดงกาล นักศึกษามักจะละกรรมในประโยคและเพิ่มคำสรรพนามหลังคำนาม 2.นักศึกษามีข้อบกพร่องในการใช้โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในภาษาพูดแบ่งตามประเภทของคำและการเรียงลำดับคำดังต่อไปนี้ ข้อบกพร่องด้านการใช้คำกริยา ร้อยละ 46.59 คำนำหน้านาม ร้อยละ 16.38 คำบุพบท ร้อยละ 10.01 คำนาม ร้อยละ 8.01 คำสันธาน ร้อยละ 5.82 คำสรรพนาม ร้อยละ 5.36 การเรียงลำดับคำ ร้อยละ 2.91 คำกริยานุเคราะห์ ร้อยละ 2.46 คำคุณศัพท์ ร้อยละ 0.64 คำกริยาวิเศษณ์ ร้อยละ 0.55 การใช้ Expletive ‘There’ ร้อยละ 0.55 คำขยายคุณศัพท์ ร้อยละ 0.36 การใช้ Impersonal ‘It’ ร้อยละ 0.36 3. ข้อบกพร่องในการใช้โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษในภาษาพูดของนักศึกษา แบ่งตามประเภทของสาเหตุได้ดังนี้ 3.1 สาเหตุจากการแทรกแซงจากภาษาแม่ 3.2 สาเหตุจากความยากในตัวภาษาอังกฤษเอง 3.3 สาเหตุจากความเลินเล่อหรือความพลั้งเผลอ จากผลการวิจัยที่ได้รับ ผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะว่าผู้สอนควรจะฝึกให้นักศึกษาใช้ภาษาพูดภาษาอังกฤษในห้องเรียนให้มากขึ้น โดยใช้โครงสร้างประโยคอย่างง่ายๆ และต้องมีการแก้ไขทันทีที่ผู้เรียนละเลยการใช้ปัจจัยและตัวแสดงกาล ควรมีการฝึกฝนการใช้ Expletive ‘There’ และ Impersonal ‘It’ ให้มากขึ้น และควรมีการจัดเตรียมบทเรียนอย่างดีโดยไม่ควรเสียเวลาสอนในสิ่งที่เป็นปัญหาต่อผู้เรียนเพียงเล็กน้อยให้มากเกินไป
Other Abstract: The purposes of this research were to study and analyze English structures in spoken language of English major students at higher certificate of education level. An oral English language test consisting of six sets of three pictures and six passages was constructed. Each student was to describe a set of three pictures and summarize a passage which were drawn randomly by the researcher. The test was pretested with ten English major students at higher certificate of education level before administering to the sample which was 100 English major students at higher certificate of education level drawn randomly from 4 teacher training institutions in Bangkok. The data consisted of 2 minutes of tape-recorded picture description and passage summarization of each student for a total of 3.33 hours of recordings. After having been transcribed into written form, the transcript was analyzed to identify errors of oral English usages. Then, the errors were grouped according to their causes and analyzed in percentage. Findings and conclusion are as follows: 1. Most of sentences spoken by samplers are simple sentences and in active voice. Indications of tenses in verb form and singular or plural forms of nouns are not used. Objects of sentences are sometimes omitted. Pronouns are often inserted after nouns. 2. Of the 1099 errors found in this study, 46.59 per cent were verb errors, 16.38 per cent were determiner errors, 10.01 per cent were preposition errors, 8.01 per cent were noun errors, 5.82 per cent were conjunction errors, 5.36 per cent were pronoun errors, 2.91 per cent were word order errors, 2.46 per cent were auxiliary errors, 0.64 per cent were adjective errors, 0.55 per cent were adverb errors or Expletive ‘There’ errors, 0.36 per cent were intensifier errors or Impersonal ‘It’ errors. 3. Sources of errors mentioned are the influence of the Thai Language on English structures, difficulties in English itself, and lapses. It is recommended that the oral English should be frequently practiced and in simple structures. Errors in using of suffixes and tense markers must be immediately corrected. Expletive ‘There’ and Impersonal ‘It’ should be more emphasized. Teachers should examine their programs of instruction in English carefully to see whether they are wasting time teaching usages in broad categories when pupils may actually be experiencing difficulty with only one small segment of that category.
Description: วิทยานิพนธ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27745
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunee_Tu_front.pdf447.86 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Tu_ch1.pdf506.74 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Tu_ch2.pdf732.38 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Tu_ch3.pdf344.23 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Tu_ch4.pdf867.54 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Tu_ch5.pdf555.63 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_Tu_back.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.