Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27753
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนิตา รักษ์พลเมือง | |
dc.contributor.author | อรสา สุขเปรม | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-15T16:37:13Z | |
dc.date.available | 2012-12-15T16:37:13Z | |
dc.date.issued | 2526 | |
dc.identifier.isbn | 9745621724 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27753 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาของอาจารย์วิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานครกับคำรายงานพฤติกรรมการสอน (2) ลำดับความสำคัญของแนวคิดทางปรัชญาการศึกษา และคำรายงานพฤติกรรมการสอนตามแนวปรัชญาการศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การศึกษาแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาและการศึกษาพฤติกรรมการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คืออาจารย์วิทยาลัยครูทุกคณะวิชาจำนวน 308 คน และนักศึกษาชั้น ป.กศ. สูงปีที่ 2 จำนวน 620 คน จากวิทยาลัยครู 6 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด ชุดแรกเป็นแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ ประกอบด้วยสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม แนวคิดทางปรัชญาการศึกษา และพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ ชุดที่สองเป็นแบบสอบถามสำหรับนักศึกษา ประกอบด้วยพฤติกรรมการสอนของอาจารย์เพียงอย่างเดียว แบบสอบถามชุดแรกส่งไป 308 ฉบับ ได้รับคืนมา 291 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.48 ส่วนแบบสอบถามชุดที่สองส่งไป 620 ฉบับ ได้รับคืนมา 620 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แนวคิดทางปรัชญาการศึกษาของอาจารย์วิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มไปทางลัทธิประสบการณ์นิยม รองลงไปคือ นิรันตรนิยม บูรณนิยม อัตถิภาวนิยม และสารัตถนิยม ตามลำดับ 2. พฤติกรรมการสอนของอาจารย์วิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มไปทางลัทธิประสบการณ์นิยม รองลงไปคือ นิรันตรนิยม บูรณนิยม สารัตถนิยม และอัตถิภาวนิยมตามลำดับ 3. แนวคิดทางปรัชญาการศึกษาของอาจารย์วิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานครแต่ละลัทธิมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กับพฤติกรรมการสอนตามแนวปรัชญาการศึกษาในลัทธิเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า แนวคิดทางปรัชญาการศึกษาทุกลัทธิ ยกเว้น สารัตถนิยม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 กับพฤติกรรมการสอนในลัทธิอื่นๆด้วย 4. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ซึ่งอาจารย์เป็นผู้รายงานพฤติกรรมการสอนของตนเองและให้นักศึกษาเป็นผู้รายงาน ปรากฏว่าสำหรับพฤติกรรมการสอนตามแนวปรัชญาสารัตถนิยมนั้น อาจารย์และนักศึกษารายงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนพฤติกรรมการสอนตามแนวปรัชญานิรันตรนิยม ประสบการณ์นิยม บูรณนิยม และอัตถิภาวนิยม อาจารย์และนักศึกษารายงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study (1) the relationships between teachers‘ educational philosophy concepts and verbal reports of teaching behaviors in Teachers’ Colleges, Bangkok Metropolis and (2) rankings of teachers‘ educational philosophy concepts and verbal reports of teaching behaviors. This study was divided into 2 parts. The first part was the study of teachers’ educational philosophy concepts. In the second part, verbal reports of teaching behaviors were analyzed. The samples in this research were 308 teachers and 620 Higher Certificate in Education students from 6 teachers’ colleges in the Bangkok metropolis. Questionnaires were used as the instruments of this study. The first questionnaire, which was prepared for the teachers, was composed of items on their personal data, their educational philosophy concepts and their teaching behaviors. The other questionnaire which was prepared for the students had only items about teaching behaviors. The researcher distributed 308 copies of the first questionnaire and received 291 copies (94.48%). As for the second questionnaire, the researcher received all of the 600 copies distributed. The data were then analyzed by means of percentages, means, standard deviation, Pearson‘s product-moment correlation coefficient and the t-test. The results of the study were as follows: 1. The teachers’ educational philosophy concepts tended towards Experimentalism, Perennialism, Reconstructionism, Existentialism and Essentialism respectively. 2. The teaching behaviors tended towards Experimentalism, Perennialism, Reconstructionism, Essentialism and Existentialism respectively. 3. There were statistically significant relationships at the .001 level between the teachers’ educational philosophy concepts and their teaching behaviors in the same educational philosophy concept. Furthermore, it was found that there were statistically significant relationships at the .001 level between the educational philosophy concepts and the teaching behaviors in the other educational philosophy concepts except Essentialism. 4. The comparison of teaching behaviors reported by the teachers themselves and by the students were not statistically significant different at the .01 level for Essentialism but there were statistically significant I differences at the .01 level for the reports in Perennialism, Experimentalism, Reconstructionism and Existentialism. | |
dc.format.extent | 511764 bytes | |
dc.format.extent | 694672 bytes | |
dc.format.extent | 2068840 bytes | |
dc.format.extent | 624211 bytes | |
dc.format.extent | 821110 bytes | |
dc.format.extent | 1473892 bytes | |
dc.format.extent | 910289 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาของอาจารย์วิทยาลัยครู ในกรุงเทพมหานครกับคำรายงานพฤติกรรมการสอน | en |
dc.title.alternative | Relationships between teachers' educational philosophy concepts and verbal reports of teaching behaviors in teachers colleges, Bangkok metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สุขศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aurasa_So_front.pdf | 499.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_So_ch1.pdf | 678.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_So_ch2.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_So_ch3.pdf | 609.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_So_ch4.pdf | 801.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_So_ch5.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_So_back.pdf | 888.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.