Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27760
Title: หน่วยเสียงภาษาระยอง
Other Titles: Phonemes in Rayong
Authors: อรพิมพ์ บุญอาภา
Advisors: วิจินตน์ ภาณุพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2512
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาเรื่อง หน่วยเสียงชนิดต่างๆในภาษาระยอง ข้อมูลที่นำมาศึกษานี้ได้มาจากภาษาที่ผู้วิจัยใช้เองเป็นส่วนใหญ่ และที่ชาวระยองคนอื่นๆใช้ด้วย จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า หน่วยเสียงภาษาระยองมี ๓ ชนิด คือหน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยเสียงพยัญชนะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือหน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว ซึ่งมี ๒๑ หน่วย และหน่วยเสียงพยัญชนะประสมซึ่งมี ๙ หน่วย หน่วยเสียงสระแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือหน่วยเสียงสระเดี่ยว ซึ่งมี ๑๘ หน่วย และหน่วยเสียงสระประสมซึ่งมี ๓ หน่วย หน่วยเสียงวรรณยุกต์มีทั้งหมด ๕ หน่วยคือ (๑) หน่วยเสียงกลาง (๒) หน่วยเสียงสูง-ระดับ (๓) หน่วยเสียงสูง-ตก หรือหน่วยเสียงสูง-ไม่ตก (๔) หน่วยเสียงต่ำ-ตก และ (๕) หน่วยเสียงต่ำ-ขึ้น หน่วยเสียงสูง-ตก และหน่วยเสียงสูง-ไม่ตกนั้น เป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัยได้อธิบายถึงลักษณะและหน้าที่ต่างๆของหน่วยเสียงแต่ละชนิดไว้โดยละเอียด และได้กล่าวถึงการประกอบหน่วยเสียงชนิดต่างๆเข้าเป็นพยางค์ เป็นลักษณะโครงสร้างของพยางค์แบบต่างๆ รวม ๒๒ แบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ ๕ ประเภทคือ ประเภท cvv, cvvn, cvvs, cvn,และ cvs นอกจากนั้นยังได้รวบรวมพยางค์ที่มีใช้ในภาษาระยองไว้ด้วย เท่าที่สำรวจได้มี ๒๓๑๑ พยางค์ ในจำนวนนี้มีปรากฏเป็นคำพยางค์เดียว ๑๙๓๑ คำ นอกนั้นปรากฏอยู่ในคำ ๒ พยางค์ หรือคำหลายพยางค์และได้แยกคำที่ใช้แตกต่างจากภาษากรุงเทพฯออกมาอธิบายด้วยการเขียนได้เขียนเป็นบทๆรวม ๖ บท คือบทที่หนึ่งบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัย วิธีดำเนินการค้นคว้าและวิจัย และประโยชน์ที่จะได้รับ บทที่สองกล่าวถึงหน่วยเสียงพยัญชนะ บทที่สามหน่วยเสียงสระ บทที่สี่หน่วยเสียงวรรณยุกต์ บทที่ห้าลักษณะของพยางค์ และบทที่หกคำที่มีใช้ในภาษาระยอง
Other Abstract: The purpose of this study is to analyze phonemes in the Rayong dialect of Thai, spoken in the Eastern part of Thailand. The data were mostly drawn from the writer's own use of the language and some were drawn from that of other native speakers of Rayong. The study led to the conclusion that the phonemes are classified into three categories: consonants, vowels, and tones. The consonants comprise 21 simple consonant phonemes and 9 consonant clusters. The vowels comprise 18 simple vowel phonemes and 3 dipthongs. There are altogether 5 tonemes which are (1) middle, (2) high - level, (3) high - falling or high non - falling, (4) low - falling, and (5) low - rising. The high - falling and high non - felling are two different allotones of the same toneme. In this study the writer has attempted to describe both the nature and the distribution of individual phonemes and their combinations into different syllables. Twenty - two patterns of syllable structure have been found. They are grouped into 5 types: CW, CWN, CWS, CVN and CVS. The writer found 2,311 syllables in Rayong, 1,931 of these occur as monosyllabic words and the remainder occur either as bisyldabic or polysyllabic words. In addition to the phonemic analysis, the writer has selected a group of words for special study. Some of these are only found in Rayong; others are used in both Rayong and Bangkok dialects but with semantic differences.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2512
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27760
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oraphim_Bo_front.pdf394.1 kBAdobe PDFView/Open
Oraphim_Bo_ch1.pdf327.66 kBAdobe PDFView/Open
Oraphim_Bo_ch2.pdf654.1 kBAdobe PDFView/Open
Oraphim_Bo_ch3.pdf603.54 kBAdobe PDFView/Open
Oraphim_Bo_ch4.pdf508.9 kBAdobe PDFView/Open
Oraphim_Bo_ch5.pdf544.81 kBAdobe PDFView/Open
Oraphim_Bo_ch6.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Oraphim_Bo_back.pdf244.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.