Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27768
Title: การจัดการและการดำเนินงานของศูนย์บริการสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The management and operation of public health centers in Bangkok metropolis
Authors: อรวรรณ ลีลารัศมี
Advisors: จินตนา บุญบงการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการบริการทางด้านส่งเสริมสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีอยู่ทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงทางด้านการจัดการและการดำเนินงานให้บริการดังกล่าวของศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่มีหน้าที่บริการเพื่อสุขภาพอนามัยโดยทั่วไปของประชาชนโดยตรง ในการศึกษาครั้งนี้ เน้นถึงการศึกษาถึงการจัดการและการดำเนินงานให้บริการด้านต่างๆรวมทั้งการประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อทราบถึงการดำเนินการในการให้บริการดังกล่าวแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครของศูนย์ฯว่าเป็นอย่างไร เหมาะสมหรือไม่เพียงใด ในอันที่จะนำการบริการส่งเสริมสุขภาพไปสู่ประชาชนของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงกัน วิธีการดำเนินการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและหนังสือต่างๆ ทางด้านสาธารณสุขและหลักการบริหารงาน นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์แพทย์และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เกี่ยวกับศูนย์บริการสาธารณสุขบางท่าน และส่งแบบสอบถามไปยังแพทย์หัวหน้าประจำศูนย์บริการสาธารณสุขต่างๆ ของสำนักอนามัยด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่ทำให้ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ยังไม่ได้รับการบำบัดควบคุมป้องกันโรค หรือส่งเสริมสุขภาพ ดังกล่าวอย่างทั่วถึงหรือกว้างขวางพอจนส่งผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจและสังคมนั้นก็คือ การที่ศูนย์บริการสาธารณสุขขาดการบริหารงานที่เหมาะสม เนื่องจากศูนย์ฯเป็นเพียงหน่วยปฏิบัติงาน ไม่มีอำนาจหน้าที่ในด้านการบริหารงานของศูนย์ฯอย่างเต็มที่ ระดับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมองไม่เห็นความสำคัญของงานด้านนี้ และไม่มีความเข้าใจกิจการของศูนย์อย่างแท้จริง อีกทั้งขาดความสนใจที่จะช่วยเหลือปรับปรุงงานของศูนย์ให้เจริญก้าวหน้าอย่างจริงจัง ที่สำคัญที่สุดคือศูนย์ฯขาดแคลนแพทย์และไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นเพียงพอ พร้อมกับขาดการบริหารงานของศูนย์ฯที่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถนำเอาแพทย์และบุคลากรที่มีอยู่แล้วเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ซ้ำยังเป็นการบั่นทอนกำลังใจในการปฏิบัติงานอีกด้วย งานของศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่บริการรักษาป้องกันและส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างใกล้ชิดและเข้าถึงประชาชนโดยตรง ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากจึงเห็นสมควรอย่างยิ่งที่น่าจะพิจารณาให้ความสนใจที่จะช่วยเหลือและปรับปรุงงานของศูนย์ฯ โดยให้มีการสร้างและซ่อมแซมศูนย์ฯเพิ่มขึ้น พร้อมกับจัดหาแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่างๆให้เพียงพอและเหมาะสม ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การบริการดังกล่าวไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง สามารถดูแลและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และส่งเสริมให้เป็นประชาชนที่มีสุขภาพ กล่าวคือ มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์
Other Abstract: This thesis aims principally at studying the efficiency of all government Public Health Centers in Bangkok Metropolis in carrying health service to the general public. This study is concentrated on administration and operation of the centers including their coorperation with other relevant units. It is attempted to investigate their availability and suitability in offering the services to the general public effectively. The study mainly relies on secondary date collected from various documents and books dealing with public health and administration. Moreover, in order to supplement the existing data, the writer had personally interviewed senior physicians and other person who have knowledge about Public Health Centers and had sent out questionnaire to heed of Public Health Centers in Bangkok. The study reveals that the reason for inadequate treatment or prevention is that Public Health Centers lack suitable administration. This is the problem which affects the economy and society as a whole. Since they are just working units without the real power autonomy on handling their own administration. The executive officers of Bangkok Metropolis and other revelant units have no true comprehension of Public Health Center activities. They do not see the importance of the work in this field, nor have they interest in expansion and improvement of Public Health Center activities. What is more important is the fact that there is n6 sufficient in physicians and medical technicians working in the centers and the lack of suitable administration has made it impossible to utilize all available personnel effectivety. This discourages them from performing their duties. Public Health Centers are closely contact with the people, hence any kind of improvement could directly have influence on the public. The Centers need improvement. Increase in budget and number of physicians and medical person as well as better instrument and equipment or even more new center are urgently needed if the good service of the centers and better health of the public are to be accomplished.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27768
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oravan_Le_front.pdf482.24 kBAdobe PDFView/Open
Oravan_Le_ch1.pdf489.87 kBAdobe PDFView/Open
Oravan_Le_ch2.pdf826.74 kBAdobe PDFView/Open
Oravan_Le_ch3.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Oravan_Le_ch4.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Oravan_Le_ch5.pdf739.74 kBAdobe PDFView/Open
Oravan_Le_back.pdf652.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.