Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27784
Title: ตัวแปรที่สัมพันธ์กับทัศนคติต่อวิชาชีพครู ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
Other Titles: Variables related to attitude towards profession of undergraduates of the institute of technology and vocational education
Authors: ศิริธร ทัดติ
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นักศึกษา -- ทัศนคติ
การฝึกหัดครู
ครูอาชีวศึกษา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลุ่มของตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครู เปรียบเทียบความสำคัญของตัวแปรในการทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประชากร 690 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้น ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 5 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ สภาพการมีงานทำ คะแนนเฉลี่ยสะสมในหมวดวิชาชีพครู และระดับอิทธิพลของญาติที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู สามารถร่วมกันอริบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 8.49 2. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาชาย ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อยได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ และสภาพการมีงานทำ สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 9.68 3. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาหญิง ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ไค้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู อาชีพครูของบิดา ระดับอิทธิพลของอาจารย์แนะแนวที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู สามารถร่วมกันอริบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 8.23 4. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่1 ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 6 ตัวแปร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลุ่มของตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครู เปรียบเทียบความสำคัญของตัวแปรในการทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประชากร 690 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้น ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 5 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ สภาพการมีงานทำ คะแนนเฉลี่ยสะสมในหมวดวิชาชีพครู และระดับอิทธิพลของญาติที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู สามารถร่วมกันอริบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 8.49 2. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาชาย ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อยได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ และสภาพการมีงานทำ สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 9.68 3. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาหญิง ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ไค้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู อาชีพครูของบิดา ระดับอิทธิพลของอาจารย์แนะแนวที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู สามารถร่วมกันอริบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 8.23 4. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่1 ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 6 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู อาชีพลูกจ้างเอกชนของมารดา ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ ระดับอิทธิพลของญาติที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู การมีญาติเป็นครู และอาชีพรับราชการอื่น ๆ นอกจากอาชีพครูของบิดา สามารถร่วมกันอริบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษา ได้ร้อยละ 14.57 5. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 2 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู และคะแนนเฉลี่ยของหมวดวิชาชีพครู สามารถร่วมกันอริบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 6.31 6. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 มีจำนวน 5 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ระดับอิทธิพลของผู้อุปการะที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู ความตั้งใจประกอบวิชาชีพวิชาชีพครู การศึกษาระดับมัธยมศึกษาของมารดา สภาพการมีงานทำ และอาชีพลูกจ้างเอกชนของมารดา สามารถร่วมกันอริบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 45.71 7. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะคหกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ อาชีพส่วนตัวของมารดา ขนาดของครอบครัว การศึกษาระดับอาชีวศึกษา ฝึกหัดครู (ปวช.ปวส. ป.กศ. ป.กศ.สูง หรือเทียบเท่า) ของมารดา สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 27.46 8. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 2 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ระดับอิทธิพลของอาจารย์แนะแนวที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู และความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 27.87 9. กลุ่มตัวพยากรณ์สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 มีจำนวน 2 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ อาชีพรับราชการอื่น ๆ นอกจากอาชีพครูของบิดา และจำนวนคาบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต่อสัปดาห์ สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 21.44 10. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะวิศวกรรมเทคโนโลยีระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพครู ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ ระดับอิทธิพลของเพื่อนที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู และการศึกษาระดับประถมศึกษาของมารดา สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 9.75 11. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะ ศิลปกรรมระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 5 ตัวแปร เรียงลำดับความสำคัญในการทำนายจากมากไปน้อย ได้แก่ ความตั้งใจประกอบวิชาชีพวิชาชีพครู อาชีพลูกจ้างเอกชนของมารดา การศึกษาระดับประถมศึกษาของบิดา ประสบการณ์ไนการเป็นผู้นำ และระดับอิทธิพลของอาจารย์แนะแนวที่มีต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพครู สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาได้ร้อยละ 25.00
Other Abstract: The purpose of this research was to study a group of variables which would explain variance and predict the attitudes .towards teaching profession of undergradutes of the Institute of Technology and Vocational Education A sample consisted of 690 students of undergraduates of the institute of technology and vocational education. The questionnaires and an attitude test were used to collect the data. Stepwise multiple regression analysis was employed to analyze the obtained data. Major findings were as follows :- 1. The 8.49 percent of variance in attitudes towards the teaching profession were explained by the group of 5 variables. Intention to enter the teaching profession was the most powerful predictor in attitute towards teaching profession, followed respectively in importance by leadership experiences, unemployment, accumulate grade point average in educational courses on teaching profession in education and influences from relatives. 2. The 9.68 percent of variance in attitude towards the teaching profession of male undergraduates of the Institute of Technology and Vocational Education were explained by the group of 3 variables. Arrange in order respectively first, intention to enter the teaching profession was the most powerful predictors in attitudes towards teaching profession, second, leadership experiences and the last is unemployment. 3. The 8.23 percent of variance in attitude towards the teaching profession of female undergraduates of the Institute of Technology and Vocational Education were explained by the group of 3 variables. Intention to enter the teaching profession was the most powerful predictors in explaining variance of attitudes toward teaching profession, followed respectively in importance by profession of father non-teacher influences from father having teacher relatives. 4. The 14.57 percent of variance in attitude towards the teaching profession of the first year undergraduates of the Institute of technology and Vocational Education were explained by the group of 3 variables. The most powerful predictors in attitude towards teaching profession was Intention to enter the teaching profession, followed respectively in importance by profession of mother private sector employee, leadership experiences, influences from relatives, having relatives on teaching profession, profession of father non-teacher government official 5. The 6.31 percent of variance in attitude towards the teaching profession of the second year undergraduates. The most powerful predictors was Intention to enter the teaching profession and the another was accumulate grade point everage in educational courses on teaching profession. 6. The 45.71 percent of variance in attitudes towards the teaching profession in faculty of Agriculture were explained by the group of 5 predictors. The most powerful predictor was influences from parents, followed respectively in importance by intention to enter the teaching profession, the education level of mother, unemployee and profession of mother private sector employment. 7. The 27.46 percent of variance in attitude towards the teaching profession in faculty of Home economics were explained by the group of 3 predictors. Arranged in order respectively, first was profession of mother self-employee, second was family size and the last was the education level of mother. 8. The 27.87 percent of variance in attitude towards the teaching profession in faculty of Music and Drama were explain by the group of 2 predictors. Influences from school counsellor was used to predict better than Intention to enter the teaching profession. 9. The 21.44 percent of variance in attitude towards the teaching profession in faculty of Accounting were explained by 2 predictors profession of father non-teacher government and hour per week in teaching experience. 10. The 9.75 percent of variance in attitude towards the teaching profession in faculty of Engineering Technology were explained by the group of 3 predictors. The best predictor was the intention to enter the teaching profession, following by leadership experience and influences from friends. 11. The 25.00 percent of varince in attitude towards the teaching profession in faculty of Fine Arts were explained by the group of 5 predictors. The best was Intention to enter the teching profession and the other was profession of mother private sector employee, the education level of mother, leadership experience and influences from school counselor.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27784
ISBN: 9745669059
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siritorn_Ta_front.pdf786.38 kBAdobe PDFView/Open
Siritorn_Ta_ch1.pdf475.82 kBAdobe PDFView/Open
Siritorn_Ta_ch2.pdf497.28 kBAdobe PDFView/Open
Siritorn_Ta_ch3.pdf470.05 kBAdobe PDFView/Open
Siritorn_Ta_ch4.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Siritorn_Ta_ch5.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Siritorn_Ta_back.pdf506.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.