Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27803
Title: | การสร้างเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัตงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครู |
Other Titles: | Construction of job perfformance evaluation criteria of teacher college instructors |
Authors: | เอนก ศิลปนิลมาลย์ |
Advisors: | นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาถึงการปฏิบัติงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครู 2. เพื่อศึกษาหาแนวทางในการสร้างเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครู 3. เพื่อเสนอหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครูในการพิจารณาความดีความชอบ วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มาจากอาจารย์ในวิทยาลัยครูของแต่ละกลุ่มวิทยาลัยครู 9 แห่ง โดยแต่ละวิทยาลัยครูแบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารใช้ประชากรร้อยละ 100 และนักวิชาการใช้ตัวอย่างประชากร ร้อยละ 20 จากประชากรที่สุ่มได้ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มและแบบ random sampling ได้กลุ่มตัวอย่างของผู้บริหารการศึกษา จำนวน 72 คน และนักวิชาการ จำนวน 234 คน รวมตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครู ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครู ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการใช้แบบประเมินและการนำเอาผลการประเมินมาใช้ในการพิจารณาความดีความชอบอย่างยุติธรรม จากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นสูง เพราะได้ค่าความเชื่อมั่นสูงกว่า 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลในค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินแต่ละแบบ สรุปผลการวิจัย 1. อาจารย์ประจำในวิทยาลัยครู ปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ การสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ, นิเทศการสอนหรือฝึกงาน, วิจัย, เขียนตำราและเอกสารทางวิชาการ, ให้บริการทางวิชาการ, บริหาร, ธุรการ, บริการ, บริการนักศึกษา, และงานอื่นๆ ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นครั้งคราว อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการสอน รองลงมา ได้แก่ การบริการนักศึกษาและการบริหารตามลำดับ ส่วนงานด้านการวิจัยมีอาจารย์ทำน้อยที่สุด 2. แบบประเมินผลงานในการพิจารณาความดีความชอบของอาจารย์ในวิทยาลัยครูมี 8 แบบด้วยกันคือ แบบประเมินผลงานสอน, แบบประเมินผลงานนิเทศการสอนหรือฝึกงาน, แบบประเมินผลงานวิจัยและงานเขียนตำราทางวิชาการ, แบบประเมินผลงานบริการทางวิชาการ, แบบประเมินผลงานบริหารและบริการ, แบบประเมินผลงานกิจการนักศึกษา, แบบประเมินผลงานพิเศษทั่วไปและงานในแผนก,และแบบประเมินผลบุคลิกภาพและจรรณยาบรรณ 3. อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้นำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานทั้ง 8 แบบไปประเมิน โดยให้หัวหน้าหน่วยงานเบื้องต้นรวบรวมข้อมูลและจัดอันดับและควรมีคณะกรรมการพิจารณาผลการประเมินของผู้ที่ควรจะได้ขึ้นเงินเดือน 2 ขั้น lสำหรับปริมาณงานของการทำงานของอาจารย์นั้นควรมีคณะกรรมการกำหนดเวลาที่ใช้ในการทำงานจริงของแต่ละประเภท ส่วนระบบความดีความชอบในการขึ้นเงินเดือนควรมีทั้ง 4 อย่าง คือ ตัดเงินเดือน, งดการขึ้นเงินเดือน, ให้ 1 ขั้น, และให้ 2 ขั้น |
Other Abstract: | The Purposes of the Study 1. To study the functions of teacher college instructors. 2. To construct job performance evaluation criteria of teacher college instructors. 3. To propose criteria for evaluating the performance of teacher college instructors in promoting the salary. Methods of the Study Nine teacher colleges were randomly selected from the total of 36 colleges. All of educational administrators from the college samples participated in this study. The other group of the subjects were 20 percents of instructors which accidentally picked up from those college samples. There were 306 participants in this study which consisted of 72 educational administrators and 234 instructors. The questionnaire about job performance evaluation which was constructed by the researcher was used as the instrument of this study. It was divided into 3 parts. The reliabity of this instrument was above 0.83. Precentage, mean, and standard deviation were used to analyze the data. The Research Results 1. Most of the participants agreed that teaching, doing research, writing supplementary texts, academic services, administration, student services, and extra jobs were the functions of teacher college instructors. The majority of instructors spent most of the time on teaching. There was a small number of the participants who involved in doing research. 2. All of the participants agreed that job performance evaluation could be used as a tool in judging a promotion. 3. The majority of instructors accepted these evaluation forms. The instructors’ information should be collected and ranked by the first level administrators. There should be a committee for considering the productiveness of the instructors who ought to get 2 steps of increasing their salary. There should be a committee to consider the work-load of instructors. There should be 4 operational levels of appraisal : decrease the salary, not increase the salary, increase 1 step of the salary , and increase 2 steps of the salary. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27803 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anake_Si_front.pdf | 481.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anake_Si_ch1.pdf | 537.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anake_Si_ch2.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anake_Si_ch3.pdf | 518.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anake_Si_ch4.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anake_Si_ch5.pdf | 711.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anake_Si_back.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.