Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27806
Title: ความคิดเห็นและบทบาทของผู้นำสมาคมทางพุทธศาสนาในการปรับตัว ของสมาชิกและประชาชนให้สอดคล้องกับความเป็นสมัยใหม่ของสังคมไทย
Other Titles: The opinion and roles of leasers of the buddhist association in the adaptations and compatability of its memberships and the public with the modernization of Thai society
Authors: เอนก ทิพลือชา
Advisors: ประเสริฐ แย้มกลิ้นฟุ้ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความคิดเห็นและบทบาทของผู้นำสมาคมทางพุทะศาสนาทั่วประเทศต่อการปรับตัวของสมาชิกและประชาชนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสมัยใหม่ โดยนำเอาลักษณะที่เกี่ยวข้อง ภูมิหลังของผู้นำในด้านอายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย รายได้ที่คิดว่ามีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและบทบาทในการปรับตัวพัฒนาให้สอดคล้องกับความเป็นสมัยใหม่ของสังคมไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการค้นคว้าเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม โดยการใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสุ่มตัวอย่างตามจุดมุ่งหมาย โดยใช้ตัวอย่างประชากรผู้นำ 125 คน จากสมาคมทางพุทธศาสนาทั่วประเทศ และจากผู้วิจัยไปสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจากกิจกรรมต่างๆ ของผู้นำ จากสมาคมพุทธศาสนาทั่วประเทศไทย และผู้นำที่เด่นๆในทางพุทธศาสนา การวิเคราะห์ทางสถิติส่วนมากใช้เป็นอัตราส่วนร้อยละ และแยกตามความแตกต่างของภูมิหลัง เช่น เพศ อายุ ถิ่นที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ ส่วนการวิเคราะห์รวมเป็นอัตราส่วนร้อย ผลการวิจัย ผู้นำส่วนมากเป็นชาย 76.8% อัตราส่วนของผู้นำชายในกรุงเทพฯ มีสัดส่วนมากกว่าผู้นำชายในต่างจังหวัด อายุของผู้นำส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 40-49 ปี รองลงไป คือ ผู้นำมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คือ 44.8% และ 34.4% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าส่วนมากมีอายุมากแล้ว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ กลุ่มผู้เกษียณอายุราชการ 60 ปีแล้วมาสนใจรวมกลุ่มในสมาคมทางพุทธศาสนามากที่สุด ระดับการศึกษาผู้นำในกรุงเทพฯ จะมีการศึกษาสูงกว่าผู้นำในต่างจังหวัด คือ มีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปร้อยละ 61.5 แต่ผู้นำในต่างจังหวัดเป็นผู้มีความสนใจในพุทธศาสนาและได้เปรียญธรรมเป็นจำนวนมาก ผู้นำชายมีอัตราส่วนร้อยที่ได้รับการศึกษาสูงกว่าผู้นำที่เป็นหญิง อาชีพของผู้นำส่วนมากรับราชการ 60.0 รองลงมา คือ ประกอบการค้าและบริการเอกชนที่เป็นเกษตรกรมีเพียง 5.1 รายได้ส่วนมากตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป คือ 4,000 – 6,000 บาท โดยผู้นำในกรุงเทพฯ มีรายได้ส่วนมากสูงกว่า 6,000 บาทขึ้นไป ผู้นำเหล่านี้เข้ามารวมกลุ่มกันเป็นสมาคมเพื่อฟื้นฟูส่งเสริมและศึกษาหลักธรรมของพุทธศาสนาที่ถูกต้องตามหลักธรรม ที่ผู้นำเชื่อมั่นว่าหากสังคมได้ปฏิบัติตามแล้วจะช่วยให้เกิดการพัฒนาได้อย่างแท้จริง คือ ช่วยพัฒนาทั้งตัวเอง ครอบครัว สังคม หมู่คณะ ชาติ บ้านเมือง และช่วยเหลือชาวโลก ผู้นำที่มาร่วมกันเป็นสมาคมนับตั้งแต่แรกเป็นผู้ได้รับการศึกษา มีผลให้มีความคิดที่ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถเข้าใจปัญหาเพื่อนำมาร่วมกันพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพสังคมให้เป็นสมัยใหม่ โดยนำหลักธรรมมาปฏิบัติเป็นทางสายกลางที่ไม่เน้นสุดโต่งการพัฒนาทางด้านวัตถุ ให้คนในสังคมไทยได้รับการศึกษาหลักคำสอนในพุทธศาสนาแล้วนำไปปฏิบัติที่สมควรแก่ธรรม เป็นสัมมาทิฏฐิหรือความเห็นชอบ ก็ยังผลให้เกิดความสงบสุข และพัฒนาเจริญไปในแนวทางที่สังคมไทยปรารถนา
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the opinions and roles of the leaders of Buddhist organization in Thailand. The adjustment of the members of Buddhist organization and Thai people to the modernization process is also studied. The factors considered are socio-economic backgrounds of the leaders including ages, sexes, education, profession, residences and incomes. The data that are used in this study are from library research and field trips. The primary data are collected by means of interviewing a sample of the leader of the Buddhist Associations using statistical analysis in terms of percentage is made according to the categories of sex, ages, residence, education, profession and income level of the leaders. It is found that most of the leaders are male (76.8%). The ratio of male to female leaders in Bangkok is higher than that in the provinces. The average ages of most leaders are 40-49 years (44.8%) and 60 and over (34.4%). The leaders in Bangkok have higher education than the leaders in rural areas and 61.5% of the leaders in Bangkok have bachelor degrees. Most of the leaders in the rural areas received traditional Buddhist education. The male leaders are more educated than the female leaders. About 60% of the leaders work in are the government sector. The rest are in private sector and only 5.1% of the leaders are farmers. The incomes are between 4,000 ฿ and 6,000 ฿. About 60% of leaders in Bangkok have an income of over 6,000 ฿. These leaders have joined together to form an organization. The purpose is to reorganize, support and study the doctrines of Buddhism. They believe that should the society follows these doctrines it will help what they called “a true development” which means the development of oneself, one’s family, one’s own nation and finally the world population. These leaders are all educated, thus it is rather certain that their thoughts and behavior are quite rational they can comprehend the problems and thus help find solutions in a modern way, that is, incorporating the Buddhist doctrines and emphasize mental rather than materialistic development. As a result, Thai people could follow the Buddhist doctrines and this leads to a peaceful and developed society as it should be.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27806
ISBN: 9745627232
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anek_Th_front.pdf429.79 kBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_ch1.pdf641.42 kBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_ch3.pdf342.11 kBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_ch4.pdf607.05 kBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_ch6.pdf901.63 kBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_ch7.pdf549.69 kBAdobe PDFView/Open
Anek_Th_back.pdf630.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.