Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27864
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสม-
dc.contributor.advisorเจตทะนง แกล้วสงคราม-
dc.contributor.authorณัฏฐ์ดนัย เจริญสุขวิมล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2012-12-17T09:00:09Z-
dc.date.available2012-12-17T09:00:09Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27864-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายแบบฉับพลันความหนักระดับสูงและความหนักระดับปานกลางที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มาใช้บริการ ณ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18-45 ปี (เพศชาย 10 คน เพศหญิง 17 คน) แบ่งเป็นผู้มีสุขภาพดี 14 คน และผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ 13 คน ให้กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกาย 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.วิ่งบนลู่วิ่งเพื่อวัดการใช้ออกซิเจนสูงสุดด้วยวิธีของบรูซจนเหนื่อยหมดแรง และ 2. วิ่งบนลู่วิ่งเป็นเวลา 30 นาทีด้วยความหนักระดับปานกลาง (65-70%ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง) โดยระยะเวลาห่างกัน 2 สัปดาห์ ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ทำการวัดตัวแปรทางสรีรวิทยา ปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูก การไหลของเลือดในโพรงจมูก และการประเมินอาการของโรค ได้แก่ คัดจมูก คันจมูก จาม และ น้ำมูกไหล นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างก่อนและหลังออกกำลังกายโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มการทดลองโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยตัวแปรทางสรีรวิทยา อันได้แก่ น้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมัน อัตราการเต้นหัวใจในขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ระหว่างกลุ่มผู้มีสุขภาพดีและผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันของกลุ่มผู้มีสุขภาพดีสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. ภายหลังจากการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบ ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูกมีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนอาการคัดจมูกลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดีและกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ แต่ไม่พบความเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอด และยังพบว่าค่าเฉลี่ยการไหลของเลือดในโพรงจมูกภายหลังการออกกำลังกายแบบฉับพลันชนิดความหนักระดับปานกลางมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มผู้มีสุขภาพดีและกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ นอกจากนั้นเปอร์เซ็นต์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบฉับพลันความหนักระดับปานกลางมีค่าน้อยกว่าแตกต่างกับการออกกำลังกายแบบฉับพลันที่ความหนักระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มผู้มีสุขภาพดีและกลุ่มผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ สรุปได้ว่า ผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีสมรรถภาพทางกายโดยทั่วไปไม่แตกต่างกัน การออกกำลังกายแบบฉับพลันทั้งที่ความหนักระดับสูงและความหนักระดับปานกลางมีผลทำให้จมูกโล่งขึ้น โดยเพิ่มปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูก และลดอาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the effect of acute exercise on physiological change and symptoms in allergic rhinitis patients. The subjects were patients of Chulalongkorn University Health Service Center and staff in Chulalongkorn University (aged between 18 to 45 years old, 10 males and 17 females)whom were recruited and divided into two groups; 14 healthy subjects (CON) and 13 patients with allergic rhinitis (AR). Two running exercise protocols included exhaustive exercise using bruce protocol and moderate exercise (65-70% HRR) for 30 minutes were performed. General physiological data, rhinitis symptom, peak nasal inspiratory flow and nasal blood flow evaluated at pre and post exercise protocol. The results were as follow: 1. There were no significant differences in the baseline general physiological data i.e. body weight, heart rate, systolic blood pressure, diastolic blood pressure, maximal oxygen consumption, forced vital capacity and forced expiratory volume in one second between the CON and AR groups. 2. After acute exhaustive and moderate intensity exercises, the mean of heart rate, systolic blood pressure and peak nasal inspiratory flow were significantly higher than pre-exercise in both CON and AR groups (p<0.05). After acute moderate intensity exercise, there were significant differences in nasal blood flow in both groups. While nasal congestion were significantly decreased but no found significant difference in lung function after each exercise in both groups. Moreover, the percent difference of heart rate after acute moderate intensity exercise in both CON and AR groups were significantly lower than acute exhaustive intensity exercise (p<0.05). In conclusion, the results demonstrated that both acute exhaustive and moderate intensity exercises increased peak nasal inspiratory flow and decreased rhinitis symptoms but no effect on lung function were found in patients with allergic rhinitis.en
dc.format.extent11345674 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1431-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ -- การรักษาด้วยการออกกำลังกายen
dc.subjectการออกกำลังกายen
dc.subjectสมรรถภาพทางกายen
dc.titleผลของการออกกำลังกายฉับพลันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้en
dc.title.alternativeEffects of acute exercise on physiological changes and symptoms in allergic rhinitis patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisordaroonwanc@hotmail.com-
dc.email.advisorJettanong.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1431-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nutdanai_ja.pdf11.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.