Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27885
Title: การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ
Other Titles: Development of management strategies for vocational education institutions in response to manpower requirement of enterprises
Authors: ลือชัย แก้วสุข
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chayapim.U@chula.ac.th
Pruet.S@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษาทางอาชีพ
การพัฒนากำลังคน
กำลังคนระดับอาชีวศึกษา
การประเมินความต้องการจำเป็น
Vocational education
Manpower development
Needs assessment
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ 2) ศึกษาสภาพความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการในเขตบริการสถานศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ ประชากรในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ด้านการนำแผนการผลิตกำลังคนไปปฎิบัติ มีความจำเป็นพัฒนาเป็นลำดับแรกคือ การสนับสนุนห้องปฎิบัติการจากสถานประกอบการ ความร่วมมือรับนักศึกษาฝึกงาน การบริหารงบประมาณและการจัดเตรียมบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ด้านการประเมินผลการปฎิบัติตามแผนการผลิตกำลังคนมีความจำเป็นพัฒนา การประเมินผลและการเผยแพร่ผลการประเมินทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้านการวางแผนการผลิตกำลังคน มีความจำเป็นพัฒนาการนำผลการประเมินไปปรับปรุง ผลการสำรวจการผลิตและการทำงานหลังสำเร็จการศึกษาพบว่า สถานศึกษาผลิตกำลังคนได้ปริมาณใกล้เคียงกับแผน ผู้สำเร็จการศึกษามีการศึกษาต่อมากกว่าทำงานกับสถานประกอบการ มีการทำงานกับสถานประกอบการมากกว่าทำงานส่วนตัว และทำงานกับสถานประกอบการนอกเขตบริการมากกว่าในเขตบริการสถานศึกษา 2) สภาพความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการพบว่า มีความต้องการทักษะด้านเทคนิคการทำงานเฉพาะสาขามากที่สุด เช่น การปฎิบัติงานได้ทันทีที่รับเข้าทำงาน การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี่ การถ่ายทอดเทคโนโลยี่ การมีระบบคิดที่สามารถแก้ปัญหาในงานได้ ส่วนทักษะด้านสติปัญญาและทักษะด้านพฤติกรรม ก็มีความจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการมากขึ้น 3) กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 9 กลยุทธ์รอง และวิธีดำเนินการ 19 วิธี ได้แก่ 1. กลยุทธ์หลักการวางแผนเชิงรุก กลยุทธ์รอง 1.1 กำหนดแผนการผลิตกำลังคนเชิงรุก 1.2 กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในการผลิตกำลังคน 1.3 กำหนดเวลาในการปรับปรุงแผน และวิธีการดำเนินงาน 6 วิธี 2. กลยุทธ์นำแผนสู่การปฏิบัติด้วยไตรภาคี กลยุทธ์รอง 2.1 ไตรภาคีสารสนเทศกำลังคน 2.2 ไตรภาคีในการพัฒนาทักษะกำลังคน 2.3 ไตรภาคีในการผลิตกำลังคน และวิธีการดำเนินงาน 7 วิธี 3. กลยุทธ์ปรับกระบวนทัศน์ในการประเมินผล กลยุทธ์รอง 3.1 ประเมินประสิทธิภาพภายนอกอย่างต่อเนื่อง 3.2 นำผลการประเมินไปปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 3.3 แจ้งผลการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา และวิธีดำเนินงาน 6 วิธี
Other Abstract: To 1) study current state of vocational education institution to meet manpower demands of the enterprises. 2)study the enterprise’s manpower demands in education zone.3)develop management strategies of vocational institution to meet the manpower demands of enterprise. The populations were vocational institute administrators and enterprises management. The data collections comprised document analysis, questionnaire, and survey. The data analyses were content analysis, frequencies, percentage, mean, standard deviation and modify priority need technique. The research findings showed that 1) Regarding to current state of vocational institution of the manpower produce‘s implementation. The first priority had to develop was the laboratory that support from enterprise. Budget management and preparing specialist teacher; Evaluation to comply with the manpower produce's implement plan should be develop between vocational institution and enterprise. Inform evaluation result of manpower produce both of quantity and quality. The evaluation result of manpower producing plan should be continuous improvement. 2) Requirement of enterprises were Technical skill in priority and follow with Cognitive skill and Behavior skill. 3) Strategies for vocational administration this study found 3 principle strategies 9 subordinate strategies and 19 processes as detail : 1. Approach manpower planning strategies with 1.1 create approach plan 1.2 provide success indicators 1.3 provide time frame for plan adjusting 2. Implementation plan by three parties strategies with 2.1 information by three parties. 2.2 skill development by three parties. 2.3 manpower produce by three parties 3. Paradigm shift evaluation method strategies with 3.1 Continuous external efficiency evaluation 3.2 Take feedback to adjust performing 3.3 report working information after by alumnus.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27885
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1461
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1461
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
luechai_ka.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.