Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27937
Title: | ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแผนร่วมกับการใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อนต่ออุณหภูมิของร่างกายและภาวะหนาวสั่นในผู้สูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม |
Other Titles: | Effects of preparatory information provision program combined with forced-air warming blanket on body temperature and shivering of elders receiving total knee arthroplasty |
Authors: | รจนาถ หอมดี |
Advisors: | ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tassana.C@Chula.ac.th |
Subjects: | การดูแลหลังศัลยกรรม ข้อเข่า -- ศัลยกรรม ผู้สูงอายุ -- ศัลยกรรม -- การดูแล |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อนต่ออุณหภูมิของร่างกายและภาวะหนาวสั่น ในผู้สูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ณ โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 ราย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการใช้ผ้าห่มแบบเป่าลมร้อน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึก แผนการสอน ภาพประกอบ และคู่มือ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิร่างกาย ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t-test ภาวะหนาวสั่นเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Chi-Square Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิร่างกายของผู้สูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในระยะก่อนผ่าตัด ระยะ ผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. การมีภาวะหนาวสั่นของผู้สูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด กลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This two-group pretest and posttest quasi-experimental research aimed to examine the effect of preparatory information provision program combined with forced-air warming blanket on body temperature and shivering of elders receiving total knee arthroplasty. The samples were 40 older persons with osteoarthritis receiving total knee arthroplasty operation at Police General Hospital. They were divided into experimental group and control group equally. The control group received conventional care whereas the experimental group received the preparatory information provision program combine with forced-air warming blanket. The instruments using in this study were procedure booklets. Content validity of instruments were approved by five experts. Frequency, percentage, mean, and standard deviation were used for data analysis: The mean score of body temperature before and after implementing program between the experimental group and control group were compared by independent t-test. Shivering between two groups were compared by Chi-Square Test. The results revealed that: 1. The mean score of body temperature in the experimental group was significantly higher than the control group at the .01 level 2.The shivering in the experimental group and the control group were not significantly different at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27937 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1442 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1442 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rojjanart_ho.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.