Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28148
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorศิวธิดา ทรัพย์เหมือน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-26T04:38:47Z-
dc.date.available2012-12-26T04:38:47Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28148-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) วิเคราะห์คุณภาพงานวิจัยด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านภูมิหลังของผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสถานศึกษา และปัจจัยด้านสังคม กับผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรม 3) วิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ของปัจจัย 4 ด้านกับผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และ 4) สังเคราะห์องค์ความรู้และข้อสรุปที่ได้จากงานวิจัยในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์มีจำนวน 63 เล่ม เป็นงานวิจัยในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2519 ถึง พ.ศ.2553 แบ่งเป็น งานวิจัยเชิงทดลอง และงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ จำนวน 55 เล่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์อภิมานตามวิธีของ Glass ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จำนวน 255 ค่า แบ่งเป็นปัจจัยด้านภูมิหลังของผู้เรียน 133 ค่า ปัจจัยด้านครอบครัว 15 ค่า ปัจจัยด้านสถานศึกษา 73 ค่า และปัจจัยด้านสังคม 34 ค่า จากนั้นนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วย F-test แล้ววิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 8 เล่ม ใช้วิธีการวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. คุณภาพของงานวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดี คะแนนคุณภาพงานวิจัยเชิงปริมาณเฉลี่ย 2.69 คะแนน คะแนนคุณภาพงานวิจัยเชิงคุณภาพเฉลี่ย 2.95 คะแนน สิ่งที่ควรปรับปรุง คือ การเขียนข้อจำกัดในงานวิจัย และการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านครอบครัว (r̅ = 0.422) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสถานศึกษา (r̅ = 0.403) ทั้ง 2 ปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวก ความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านภูมิหลังของผู้เรียน (r̅ = 0.148) 3. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ คุณภาพงานวิจัย ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวนสถิติวิเคราะห์ ชนิดเครื่องมือวัดตัวแปรตาม วิธีการเปรียบเทียบผลการทดสอบ และผลการทดสอบระดับนัยสำคัญ สามารถอธิบายความแปรปรวนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ได้ร้อยละ 60.40 4. องค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย คือ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ควรเน้นปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสถานศึกษาเป็นหลัก รูปแบบการเลี้ยงดูแบบควบคุม และแบบประชาธิปไตยมีประสิทธิผลสูงสุดกับนักเรียนระดับประถมศึกษา การสอนจริยธรรมโดยอ้อมมีประสิทธิผลสูงสุดกับนักเรียนระดับอนุบาล โดยการสอนด้วยวิธีการเล่านิทานแบบไม่จบเรื่อง มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมมากที่สุดen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to analyze the quality of research on students’ moral development, 2) to study the relationship of four factors; learner factor, parents factor, school factor and social factor related to students’ moral development, 3) to analyze the research characteristics affecting correlation coefficients between the four factors and students’ moral achievement and 4) to synthesis knowledge and draw conclusions from the research. The sample of 63 research reports from the Faculty of Education, Chulalongkorn University, published in B.E. 1976-2010 was synthesized. Fifty-five of which were experimental and correlational research, and 8 qualitative research reports. The quantitative research reports were synthesized by the Glass method, and yielded 255 correlation coefficients; 133 of learner factor, 15 of parents’ factor, 73 of school factor and 34 of social factor. Statistics employed in this study were descriptive statistics, one way analysis of variance and multiple regression analysis. The qualitative research reports were synthesized by Meta-Ethnography method. Data were gathered by employing research characteristic recording form, and quality research evaluation form.The results of research synthesis were: 1. Both quantitative and qualitative research reports had totally good level quality. The mean quality score was 2.69 for quantitative research, and 2.95 for qualitative research. The improvement should be made on writing limitations and synthesizing the literature. 2. The factor indicating the highest correlation with student moral achievement was the parents factor (r̅ = 0.422); followed by school factor (r̅ = 0.403). There were a positive relationship between the two main factors and student moral achievement in the medium level. On the other hand, the learner factor was the one that provided the least correlation with student moral achievement. 3. The research characteristic variables which significantly accounted for the variation in the correlation coefficients were quality of research reports, samples sizes, number of statistical analyses, types of dependent instrumentation, comparison method of research testing results and statistics significant level. They could simultaneously explain 60.40 percents of variation in the correlation coefficients. 4. The knowledge gained from this research was that the result of the quantitative research was consistent with qualitative research. It emphasized that the importance of parents’ factor and school factors were to promote students’ moral development. The authoritarian and democratic care had highest effect on elementary students. The indirect-moral discipline had highest effect on nursery students. Unfinished storytelling method had highest effect on moral development.en
dc.format.extent12627623 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1466-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจริยธรรมen
dc.subjectการพัฒนาจริยธรรมen
dc.subjectการวิเคราะห์อภิมานen
dc.titleประสิทธิผลของปัจจัยสี่ด้านในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน : การวิเคราะห์อภิมานen
dc.title.alternativeEffectiveness of four factors in student moral development : a meta analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDuangkamol.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1466-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siwathida_su.pdf12.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.