Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28150
Title: ผลของการฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการไอซีทีในการสอนของครูมัธยมศึกษา
Other Titles: Effects of online project–based training with peer assist technique toward an ability of secondary teachers in developing ICT-integrated lesson plan
Authors: ธนพล ลิ่มอรุณ
Advisors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครูมัธยมศึกษา -- การฝึกอบรม
การสอน -- เทคโนโลยีสารสนเทศ
การสอนแบบโครงงาน
การวางแผนการศึกษา
การเรียนรู้
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบูรณาการไอซีทีในการสอนของครูมัธยมศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไอซีทีในการสอนของครูมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูระดับมัธยมศึกษา จำนวน 32 คน จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง 16 คน และกลุ่มควบคุม 16 คน โดยกลุ่มทดลองจะเป็นกลุ่มเข้าฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มควบคุมจะเป็นกลุ่มเข้าฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานโดยไม่ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เว็บไซต์ฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน และแบบวัดความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไอซีทีในการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (T-test Dependent และ T-test Independent)ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มครูระดับมัธยมศึกษาที่สำเร็จการฝึกอบรมออนไลน์ทั้งกลุ่มที่ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนและไม่ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการไอซีทีในการสอนหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มครูที่สำเร็จการฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานที่ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการไอซีทีในการสอนสูงกว่ากลุ่มครูที่สำเร็จการฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานที่ไม่ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of the research study was to study the effects of online project-based training with peer assist technique toward an ability of secondary teachers in developing ict-integrated lesson plan. The samples of the study were assigned into two experimental groups with 16 teachers in each group. The experimental group studied in the effect of using online project-based training with using peer assist technique and the control group studied in the effected of using online project-based training without peer assisted technique. The research instruments were an online project-based training with peer assisted technique and ability in developing ict-integrated rubrics criteria form. The data were analyzed using arithmetic mean, standard deviation and using t-test. The research results were as follows : 1. Teachers who graduated from the Project-Based Online Training with peer assisted technique had higher score of ability in developing ICT-integrated lesson plan when compared with teachers who graduated from Project-Based Online Training without peer assisted technique at .05 level of significance. 2. When comparing teachers in experimental group and teachers in control group, teachers in experimental group (with peer assisted technique) had higher score in developing ability of ICT-integrated lesson plan than teacher in control group (without peer assisted technique) at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28150
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1467
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1467
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanapol_li.pdf10.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.