Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28189
Title: | การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเวลาของกระบวนการกู้กลับร่วมหลายระดับชั้นสำหรับทราฟฟิกแบบมัลติคาสต์ |
Other Titles: | Time efficiency analysis of multi-layer network recovery mechanisms for multicast traffic |
Authors: | จุมพล สุขวัฒนานุกิจ |
Advisors: | ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | chaiyachet.S@chula.ac.th |
Subjects: | เครือข่ายคอมพิวเตอร์ -- การจัดการ การแพร่สัญญาณเฉพาะกลุ่ม (เครือข่ายคอมพิวเตอร์) |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การกู้กลับของทราฟฟิกเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องถูกพิจารณา เมื่อมีการนำมาใช้ในกระบวนการกู้กลับของความขัดข้องในโครงข่ายความเร็วสูง ซึ่งสำหรับเวลาที่ใช้ในการกู้กลับของความขัดข้องเพื่อรองรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์นั้น ขั้นตอนวิธีดั้งเดิมอาจไม่สามารถทำให้เวลาที่ใช้ในการกู้กลับของความขัดข้องบนโครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังนั้น จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์นี้ คือ นำเสนอขั้นตอนวิธีที่ช่วยให้เวลาในการกู้กลับของความขัดข้องลดลง สำหรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์ (multicast traffic) ของหนึ่งเซสชัน (session) โดยมีผลกระทบของความขัดข้อง (failure) ที่เกิดจากเส้นใยนำแสง (fiber optic) อุปกรณ์เชื่อมต่อวงจรแสง (Optical Cross-Connect: OXC) หรือ อุปกรณ์จัดหาเส้นทาง (router) บนโครงข่าย (network) โดยมีงานวิทยานพินธ์นี้ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ การเลือกเส้นทางป้องกันร่วมกันหลายระดับชั้น และ การวิเคราะห์เชิงเวลาในกระบวนการกู้กลับของความขัดข้องร่วมกันหลายระดับชั้นบนโครงข่ายโดยใช้เวลาในการกู้กลับของความขัดข้อง (recovery time) เป็นค่าชี้วัดในการเปรียบเทียบ ผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเวลาที่ใช้ในการกู้กลับของความขัดข้องด้วยวิธีที่นำเสนอเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการกู้กลับของความขัดข้องแบบวง (cycle algorithm) [6] มาดำเนินการเข้ากับวิธีการกู้กลับของความขัดข้องร่วมกันหลายระดับชั้น [17] โดยวิธีการที่นำ เสนอนั้นจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อทดสอบด้วยโครงข่ายที่มีค่าเฉลี่ยดีกรีของโหนดของ (average node degree) ในระดับชั้นออพติคอลต่ำลง |
Other Abstract: | Traffic recovery is one of the crucial issues that need to be considered intensively when deploying the recovery mechanism in high speed networking. Regarding the recovery time, some traditional recovery schemes do still not perform efficiently. In this thesis, we investigate the recovery schemes for multi-layer network which provide efficient recovery outcomes. Then, we proposed an algorithm that adapts the concept of multi-layer cooperation approach to restore multicast traffic in order to recovery from node or link failures (e.g., optical/OXC and router) and reduce recovery time at the same time. In the design, our algorithm will be divided into two parts, i.e. the selection process of multicast multi-layer protection and the reduction of recovery time when the network failure occurs. In the first part, three types of failures which are optical link failure, OXC failure and router failure are considered to construct the failure independent path protection. Whereas in the second part, the analysis of recovery time in the multi-layer network using the recovery time is an indicator for comparison. Our simulation results show that the proposed algorithm can provide multicast traffic restoration which consume less time in recovering from failure compared with the cycle algorithm [6] implemented on the sequential two-layer in [17].The difference will be more significant if our algorithm is implemented in the network topology with low average node degree. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28189 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1488 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1488 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jumpon_su.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.