Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28292
Title: การใช้ทฤษฎีต้นแบบตราสินค้าในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับยาสมุนไพรไทย เพื่อกลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่น เอ็ม (GENERATION M)
Other Titles: The use of brand archetypes in graphic design for Thai herbal medicine for GENERATION M
Authors: ปณต ทองประเสริฐ
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Araya.S@Chula.ac.th
Subjects: เจนเนอเรชันวาย
การจัดการผลิตภัณฑ์
การจัดการตลาด
สมุนไพร -- ไทย
พฤติกรรมผู้บริโภค
ต้นแบบ (จิตวิทยา)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง การใช้ทฤษฎีต้นแบบตราสินค้าในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับยาสมุนไพรไทยเพื่อกลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่น เอ็ม (GENERATION M) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้ทฤษฎีต้นแบบตราสินค้าและทฤษฎีในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับยาสมุนไพรไทยเพื่อกลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่น เอ็มดำเนินการวิจัยโดยการศึกษารูปแบบการใช้ทฤษฎีต้นแบบตราสินค้า (Archetypes) รูปแบบการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณา (Creative Execution) รูปแบบการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย รูปแบบการใช้ภาพประกอบ รูปแบบการใช้สี และรูปแบบของดีไซน์เทรนด์นำไปสร้างแบบสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญ และนำไปถามกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเจนเนอเรชั่น เอ็ม จากนั้นทำการสรุปผล และนำผลที่ได้ไปเป็นข้อมูลในการออกแบบกรณีศึกษาผลสรุปของงานวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบได้ดังนี้ต้นแบบตราสินค้าที่เหมาะสมกับยาสมุนไพร ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญและนำไปถามความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่าง โดยเรียงลำดับจากความชอบมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุดได้แก่ ผู้ช่วยเหลือ ผู้วิเศษ นักปราชญ์ วีรบุรุษ และผู้แสวงหาต้นแบบตราสินค้าสำหรับโฆษณาที่เกี่ยวกับยานิยมใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือผู้ช่วยเหลือ อันดับ 2 ผู้วิเศษ อันดับ 3 วีรบุรุษ รูปแบบของการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาที่เหมาะสมกับสมุนไพรไทยได้แก่เสี้ยวหนึ่งของชีวิต (Slice of Life) การนำเสนอเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic) และวิธีการโฆษณาแบบอุปมาอุปไมย (Analogy) ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้ถูกเลือกมาใช้เหมือนกันหมดในต้นแบบตราสินค้าทั้ง 4 แบบ มีเพียงต้นแบบตราสินค้าผู้แสวงหาเพียงแบบเดียวที่ใช้รูปแบบเสี้ยวหนึ่งของชีวิต (SliceofLife) วิธีการโฆษณาแบบอุปมาอุปไมย (Analogy) และการนำเสนอแบบแฟนตาซี (Fantasy) รูปแบบของการจัดองค์ประกอบภาพถ่าย การใช้ภาพประกอบ การใช้สี และดีไซน์เทรนด์ สำหรับยาสมุนไพรไทยและต้นแบบตราสินค้าที่กลุ่มตัวอย่างชอบ มีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน ตามลักษณะบุคลิกของต้นแบบตราสินค้า
Other Abstract: The use of brand archetypes in graphic design for Thai herbal medicine for Generation M is a qualitative research that has purposes for study and analysis the use of brand archetypes theory the use of elements and graphic design theories for Thai herbal medicine for Generation M. To conduct the research by study brand archetypes, creative execution, photographic composition, illustrations, color usage and design trends to create the questionnaire to be screened by the specialists then ask Generation M for the preferences and then conclude these results and use them as the directions for case study design. The conclude results of this research can be used as the design directions as follows: brand archetypes that suitable for Thai herbal medicine which are selected by the specialists and together with the opinions from the participants, arranging from strongly prefer to strongly non-prefer are helper, magician, sage, hero and seeker. The most popular brand archetypes in the medicine advertising that are: 1. helper, 2. magician, 3. hero. The advertising executions that suitable for Thai herbal medicine are Slice of Life, Symbolic and Analogy which most of them are selected for 4 brand archetypes except seeker which uses Slice of Life, Analogy and Fantasy. The photographic composition, illustrations, color usage and the design trends that preferred by the target are obviously different according to the characteristics of the brand archetypes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28292
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1524
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1524
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panot_th.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.