Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28351
Title: การตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ต่อการใช้กรดซิดริกร่วมกับการขูดเหงือกช่วงล่างในผู้ป่วยโรคปริทันต์
Other Titles: Responses of the peridontium following the application of citric acid combining with subgingival curettage in periodontits
Authors: ลาวัณย์ บุณยมานนท์
Advisors: สิทธิพร เทพบรรเทิง
ไพฑูรย์ สังวรินทะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การใช้สารเคมีช่วยในการเตรียมผิวรากฟันเพื่อให้เกิดการหายของแผลในการรักษาโรคปริทันต์ อักเสบนั้น ได้รับความสนใจอย่างมากมายในการศึกษาขบวนการรักษาทางศัลย์ปริทันต์ สารที่มีรายงานว่าให้ ผลดีที่สุดคือ กรดซิตริกซึ่งในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ของผู้ป่วยต่อการใช้ กรดซิตริกร่วมกับการขูดเหงือกช่วงล่าง โดยศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอวัยวะปริทันต์ภายหลังการใช้ กรดซิตริกเปรียบเทียบกับการใช้น้ำ เกลือ การศึกษาทำในฟันที่มีความลึกของร่องลึกปริทันต์ที่เหลือจากการรักษาโรคปริทันต์อักเสบระยะ แรก 4-6 มิลลิเมตร ฟันที่ใช้ศึกษานี้เลือกจากฟัน 2 ซึ่งที่มีลักษณะคล้ายกันแต่อยู่ด้านตรงข้ามบนขากรรไกรเดียวกันของผู้ป่วย โดยฟันซี่หนึ่งจัดเป็นกลุ่มควบคุมและอีกซี่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวนฟันที่ใช้ตลอดการศึกษา กลุ่มละ 33 ซี่ แบ่งกลุ่มของฟันตัวอย่างนี้ด้วยวิธีการสุ่ม ฟันทั้งสองกลุ่มได้รับการขูดเหงือกช่วงล่าง ผิวรากฟัน ของกลุ่มทดลองได้รับการทำด้วยกรดซิตริก ส่วนผิวรากฟันของกลุ่มควบดมได้รับการทำด้วยนำเกลือ เปรียบเทียบผลการตอบสนองของอวัยวะปริทันต์ในด้านการเปลี่ยนแปลงความลึกของร่องลึกปริทันต์ การยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์และการร่นของเหงือกในสัปดาห์ที่ 8,12 และ16 ภายหลังการทำด้วยกรดซิตริกหรือนำเกลือ วิเคราะห์ค่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการศึกษาพบว่า การใช้กรดซิตริกทาที่ผิวรากฟันร่วมไปกับการทำศัลย์ปริทันต์แบบบิดสามารถลดความลึกของร่องลึกปริทันต์ได้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากการเพิ่มระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ดังนั้นการใช้กรดซิตริกร่วมกับการขูดเหงือกช่วงล่างในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ จะให้ผลการตอบสนอง ของอวัยวะปริทันต์ดีกว่าการขูดเหงือกช่วงล่างแต่เพียงเดียว
Other Abstract: Application of citric acid on the prepared root surface has been reported extensively and suggested to help improving of the periodontal wound healing, In this study, the effect of topical application of citric acid combining with subgingival curettage onclinical response of the periodontium in periodontitis patients was investigated, 66 teeths exhibiting 4-6 millimeters pocket depth each were randomly selected from 33 periodontitis patients. These teeths were equally divided into experimental group and control group. Subgingival curettage was performed in both groups. The experimental group recived topical application of citric acid immediately after subgingival curettage and the control group received application of normal saline. The clinical response of the periodontium was statistically analysed base on the differrence of probing depth, attachment level and gingival recession on 8, 12, 16 weeks after the citric acid application. The results showed that there were significantly more improvement in pocket reduction and attachment gain in the experimental group compared to the control group. But the difference in gingival recession was not establised. These findings thus indicated that the topical application of citric acid combining with subgingival curettage clinically gave better response in the periodontal wound healing than subgingival curettage itself.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28351
ISBN: 9745826863
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lawan_bo_front.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_bo_ch1.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_bo_ch2.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_bo_ch3.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_bo_ch4.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_bo_ch5.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Lawan_bo_back.pdf12.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.