Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28398
Title: การศึกษาเปรียบเทียบความคิดทางการเมืองในคัมภีร์อรรถศาสตร์ ของเกาฏีลยะกับแนวความคิดในหนังสือ เรื่อง เจ้าของมาเคียเวลสี
Other Titles: The comparative study of Political Thoughts in Kautilya's Arthasastra and Machiaveli's the Prince
Authors: ลุยง ตรัยไชยาพร
Advisors: วิจิตร เกิดวิสิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ เรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดทางการเมืองของเกาฏีลยะ อรรถศาสตร์และ เรื่องเจ้าของมาเคียเวลลีในแง่เปรียบเทียบ เกาฏีลยะเห็นว่าการปกครองระบอบราชาธิปไตยนั้น เป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด ตามระบอบนี้ เจ้ากระจายอำนาจของตนเป็นระบบราชการไปยังผู้ปกครองตามลำดับโดยมีพราหมณ์ปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาหรือร่วมมีอำนาจในการปกครอง หน้าที่ของเจ้า ก็คือเป็นผู้รับใช้ประชาชน ดูแลประชาชน เหมือนพ่อดูแลลูกภายใต้คุณธรรมและกฎหมาย ซึ่งมีเหตุผลเป็นตัวกำหนดแนวทาง แต่ในบางครั้งเจ้าก็ต้องใช้อำนาจเฉียบขาด เกาฏีลยะถือว่ารัฐที่ดีซึ่งกำเนิดขึ้นตามธรรมชาติ ต้องเป็นรัฐที่ที่มีองค์ประกอบของรัฐครบถ้วน เช่นมีป้อมปราการที่แข็งแรง ประชาชนมีความจงรักภักดี และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือรัฐนั้นต้องเป็นรัฐที่มีความเจริญทาง เศรษฐกิจ หน้าที่ที่สำคัญของรัฐคือปกป้องคุ้มครองสังคม ยกระดับทั้งด้านวัตถุและจริยธรรมของสังคม รัฐเปรียบเสมือนศูนย์กลางของสังคมที่จะผสมผสานความสนใจในด้านรูปแบบต่างๆ ของประชาชนเข้าด้วยกัน กองทัพถือว่าเป็นฐานอำนาจของรัฐควรมาจากทหารของชาติผู้มีแต่ความจงรักภักดีและซื่อสัตย์มากกว่าทหารจ้างและทหารต่างชาติ การพ่ายแพ้ด้วยกำลังทหารของตน ดีกว่าชัยชนะที่เกิดจากทหารต่างชาติ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นชัยชนะอย่างแท้จริง การใช้กำลังและยุทธวิธีอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอ ดังนั้น จึงต้องใช้เล่ห์กลด้วย เกาฏีลยะถือว่าเศรษฐกิจสำคัญที่สุดในการปกครอง การบริหารรัฐจะเป็นไปไม่ได้หากปราศจากระบบเศรษฐกิจที่ดี ความมั่งคั่งเป็นสิ่งเดียวนั้นที่จะทำให้ความปรารถนาอื่นเป็นผลสำเร็จ ราชาธิปไตยในทรรศนะของมาเคียเวลลี เป็นระบอบรวมอำนาจไว้ในมือของเจ้า ผู้ปกครอง แม้ว่าระบอบการปกครองจะประกอบด้วยรัฐมนตรี และขุนนาง แต่มาเคียเวลลี คิดว่า เจ้าเมืองที่ใช้อำนาจโดยมอบอำนาจเด็ดขาดให้แก่ผู้ปกครองเขต ฐานะของเจ้าเมืองจะไม่มั่นคง และในที่สุดผู้รับมอบอำนาจนั้นอาจจะช่วงชิงอำนาจของเจ้าเมืองไป เจ้าจึงต้องรวบอำนาจและแสดงความเฉียบขาด เจ้ามีความโหดเหี้ยมและเฉียบขาด เพื่อให้ผู้ใต้ปกครองเกิดความจงรักภักดี เจ้าอาจแสดงความโหดเหี้ยมและเฉียบขาดในบางโอกาส เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ขุนนาง การกระทำรุนแรงใดๆ ก็ตาม หากกระทำด้วยเหตุผลทางการเมืองย่อมไม่มีดีหรือเลว ถูกหรือผิด เพราะชาติบ้านเมืองสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด แต่มาเคีย เวลลีก็ไม่ได้ปฏิเสธศีลธรรม เขาเพียงแต่เห็นว่าศีลธรรมเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ การเมืองตามความคิดของมาเคียเวลลี รัฐซึ่งถือกำเนิดตามธรรมชาตินั้นต้องขึ้นอยู่กับประชาชน ป้อมปราการแข็งแรงเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอในการป้องกันประ เทศ ป้อมปราการที่หนาแน่นห้อมล้อมด้วยชาวเมืองผู้จงรักภักดีเท่านั้น คือรัฐที่มาเคียเวลลีต้องการ อิตาลีสมัยนั้นมีทหารรับจ้าง ไม่มีทหารของตนเอง ดังนั้นมาเคียเวลลีจึงเห็นว่ากองทัพของชาติ ซึ่งจงรักภักดีต่อผู้ปกครอง จะทำให้ประเทศมั่นคงปลอดภัย ด้านเศรษฐกิจแม้มาเคียเวลลีจะไม่เน้นเด่นชัดเพราะอิตาลีเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากเศรษฐกิจเป็นรากฐานของชาติ มาเคียเวลลีจึงเห็นว่ารัฐควรสนับสนุนผู้ที่มีความสามารถด้านต่างๆเกียรติต่อผู้ชำนาญงานและมีฝีมือดีเด่น สนับสนุนประชาชนให้ทำงานเพื่อตนเองได้อย่างสันติ ความคิดของเกาฏีลยะและมาเตียเวลลีเหมือนกันในแง่ที่ว่าผู้ปกครองไม่ว่าจะอยู่ในสมัยใด มีความเฉลียวฉลาดและคติธรรมมากน้อยเพียงไร ย่อมต้องการอำนาจ ความเด็ดขาด จึงจะทำให้ประเทศดำรงอยู่ได้โดยปลอดภัย นั่นหมายความว่าส่วนมากความเฉียบขาดเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของความเป็นผู้นำเสมอมา ส่วนในแง่ที่แตกต่างกันนั้นเกาฏีลยะยอมรับแต่เจ้าที่สืบทอดกันมาโดยราชตระกูล ส่วนมาเคียเวลลีเห็นว่าใครก็ได้ที่จะเป็นผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในราชวงศ์ ประชาชนสามัญก็เป็นผู้ปกครองได้หากผู้นั้นมีความสามารถ นอกจากนี้มาเคียเวลลียังให้ความสำคัญแก่เรื่องโชคชะตาอย่างมาก เขาคิดว่าโชคชะตาเป็นตัวกำหนดการกระทำของมนุษย์ทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นการเมือง การปกครอง หรือการกระทำในชีวิตประจำวัน การกระทำของมนุษย์ครึ่งหนึ่งโชคชะตาจะเป็นผู้กำหนด และอีกครึ่งหนึ่งเป็นความสามารถของมนุษย์เอง เรื่องนี้เกาฏีลยะไม่สนใจที่จะแสดงความคิดเห็นไว้ แต่อย่างไร แนวคิดที่สำคัญที่ได้จากการวิจัยคือในบางกรณีการเมืองการปกครองเป็น เรื่องที่มีความสำคัญอยู่เหนือศีลธรรมและไม่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม เหตุผลของรัฐเท่านั้นสำคัญเหนือทุกสิ่ง และเศรษฐกิจกับการเมืองการปกครองเป็นเรื่องไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะความมั่งคั่งเป็นรากฐานที่สำคัญของรัฐ เศรษฐกิจที่ดีย่อมมีส่วนทำให้ กองทัพเข้มแข็ง ประชาชนกินดีอยู่ดี และทำให้การพัฒนาประ เทศเป็นไปในด้านอื่นตามความปรารถนาของผู้ปกครองได้โดยง่าย
Other Abstract: The objective of this thesis is to study in comparison the Political Thought of Kautilya's Arthasastra and Machiavelli's the Prince. Kautilya believes that the best of Political System is the absolute Monarchy, according to which the Prince can transfer his power to his representative governors as the official order of ranks. This system comprises Purohita as the consultant or the partner in political power. The duty of the Prince is to serve his people and care for them, just as the father protecting his sons, by the way of virtue and laws which are also under the guide of reason but in some cases the prince must be cruel. Kautilya hold that a good state that take place mutually must consist of various factors such as the strong forts together with the loyal people. The most important of all is that the state must be prosperous in good living. The important duty of the state is to protect society, improve the standard of living both in material and moral ways in the society. So the state may be taken as the center of society for the sake of compromising various interests of the peoples. The military power as the basis of the state should be drawn from the national soldiers who is more loyal and sincere than the hire ones, It is better to be defeated in war with his own soldiers than to win by the foreign and hire army. This results cannot be taken as the real victory. It is not enough for the Prince to use army and tactics only so he must utilize the thickly plots in various ways. Kautilya holds that the good living standard of the people in the state is the most important in political government. It is impossible for the state to be well without good economic system. The economic stability of the nation lead to other desirable results. According to Machiavelli, the monarchy is the political system in which the political power is monopolized by the Prince. Though the government is composed of the cabinet and ministers, according to Machiavelli, the rank of the Prince from whom the political power has been totally transferred to the district office cannot be stable and is liable to be finally dethroned. So it is better for the Prince to monopolize his political power and take to the cruel and savage role when it is needed to suppress his ministers and noblemen. Any activity, if it is raison d'état is neither good nor bad. This is because national interests are the most important of all. On the other hands, Machiavelli does not neglect the moral principle in justification, but he regards all other issues as second to political necessity. According to Machiavelli, the states that takes place naturally are based on the citizens. Only strong forts cannot sufficiency protect the state, but the fort together with the citizen loyal to the state is the best thing for which he seeks In the time of Machiavelli, Italy had no soldiers of her own. So Machiavelli advocates that it is because of national army composed of national soldiers. loyal to the government that the state may in security exists. Certainly, Machiavelli does not la emphasis on national economy because Italy during his time was a wealthy nation. But since the foundation of the states is nothing but the economy, he thinks therefore that the state should promote the competent in various field of subjects, honor the skill-man and experts and encourage them to work peacefully for the sake of themselves. Kautilya's thoughts and Machiavelli's ideas, if considering precedely, are similar in that the governor of the state, no matter they are good in intellect or virtue more or less, need the political powers. By the way of this, the state may in security exist and this means that dictatorship is always the method of most leaders. From the different point of views, Kautilya accepts the hierarchy of hereditary prince, whereas Machiavelli thoughts that the hereditary prince or common man can be a governor if he has competence. Moreover Machiavelli lay much emphasis on fortune. This is because fortune determines all human activities, irrespectively of politic, government, or works in daily life. One half of human activity is determined by fortune and another half depends upon human competency Kautilya does take interest in this aspect. Some important idea that can be squeezed out of this researches is that in some cases politics and government are importance beyond and without relation to morality. The reason of the state is more important of all and both politics and government cannot be separated. This is because the wealth of the nation is the important basis of the state. Good economy leads accordingly to strong army, the wellbeing of the people and various developments in the whole country desired by the government.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28398
ISBN: 9745644994
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Luyong_tr_front.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open
Luyong_tr_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Luyong_tr_ch2.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Luyong_tr_ch3.pdf14.75 MBAdobe PDFView/Open
Luyong_tr_ch4.pdf8.75 MBAdobe PDFView/Open
Luyong_tr_ch5.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open
Luyong_tr_ch6.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Luyong_tr_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.