Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28409
Title: การขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรกับปัญหาการขยายเมือง
Other Titles: The role of housing development projects on urban expansion
Authors: วงเดือน เกษสุภะ
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางความเจริญ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของประเทศ จากลักษณะดังกล่าวทำให้ประชากรอพยพหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครเป็น จำนวนมาก ประกอบกับการเพิ่มของประชากรตามธรรมชาติ ทำให้กรุงเทพมหานครมีจำนวน ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึง 5.2 ล้านคนในปี พ.ศ. 2524 และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไป การเพิ่มของประชากร เช่นนี้ ก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ โดยเขตเมืองชั้นในมีการใช้ที่ดินอย่างหนาแน่น ส่วนมากเป็นประเภทธุรกิจการค้าและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ส่วนบริเวณชานเมืองมีการขยายตัวของการใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ซึ่งการขยายตัวของการใช้ที่ดินประเภทนี้ที่สำคัญก็คือ การขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรร โดยหมู่บ้านจัดสรรเหล่านี้ส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่ตามเขตแถบชานเมือง โดยเกาะกลุ่มอยู่ตามเส้นทางคมนาคมสายสำคัญๆ จากการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรพดังกล่าว เป็นไปโดยปราศจาก การควบคุมนี้ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ปัญหาการขยายตัวของเมืองตามยถากรรม การใช้ที่ดินสับสน ไม่คุ้มค่า ขาดแคลนสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ปัญหาด้านการจราจร ตลอดจนปัญหามลภาวะ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่รัฐควรจะมีมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทาง ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอันจะเกิดขึ้น เหล่านี้วัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้ศึกษาถึงทิศทางการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรในแถบชานเมือง รวมทั้งสภาพที่ตั้งและความพร้อมของการขยายตัวที่เกิดจากการให้บริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการของหมู่บ้านจัดสรรในแต่ละขนาดโดยศึกษาจากตัวอย่างหมู่บ้านจัดสรรบริเวณแถบชานเมืองกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่พื้นที่เขตพระโขนง บางกะปิ บางเขน รวม 3 เขต ซึ่งตัวอย่างในการศึกษานี้ ได้แยกประเภทเป็น 3 กลุ่ม ตามขนาดของหมู่บ้าน คือ กลุ่มที่มีขนาดไม่เกิน 100 หน่วย ตั้งแต่ 100-200 หน่วย และ 200 หน่วยขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ ปรากฏว่า หมู่บ้านจัดสรรที่มีขนาดใหญ่ (เกินกว่า 200 หน่วยขึ้นไป) มีการให้บริการด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่มีทั้งปริมาณและประสิทธิภาพดีกว่าหมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็กและขนาดกลาง หมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่อยู่ในสภาพที่ตั้งที่มีการให้บริการด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ จะมีผลต่อการขยายเมือง ด้านการขยายตัวของย่านการค้าเดิม โดยจะมีกิจกรรมด้านต่างๆ หนาแน่นยิ่งขึ้น หมู่บ้านจัดสรรทั้ง 3 กลุ่มที่อยู่ในบริเวณสภาพที่ตั้งที่มีบริการสาธารณูปโภค แต่ไกลจากบริการ ด้านสาธารณูปการ ก่อให้เกิดการขยายตัวของเมือง ส่งผลให้ย่านการค้าเดิมมีกิจการประเภทต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และเกิดย่านการค้าและบริการแห่งใหม่ในบริเวณที่มีศักยภาพสูง หมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่ตั้งในบริเวณที่มีบริการสาธารณูปโภคเพียงบางอย่าง เช่น ถนน ไฟฟ้า จะมีผลต่อการขยายตัวของ เมืองน้อยกว่า 2 กรณีแรก แต่จะมีผลต่อการขยาย เมืองมากกว่าหมู่บ้านขนาดใหญ่ในสภาพที่ตั้งเดียวกัน ซึ่งสามารถให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ของหวานได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรโดยปราศจากการควบคุม คือ ทำให้การขยายตัวของเมืองเป็นไปตามยถากรรม ปราศจากการควบคุมที่เหมาะสม เกิดการใช้ที่ดินแบบ Ribbon Development ในบริเวณระหว่างชุมชนเมืองกับหมู่บ้านจัดสรร การใช้ที่ดินสับสน ไม่เป็นระเบียบไม่คุ้มค่า การรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการด้านสาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ ตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ การระบายน้ำเสีย และการใช้น้ำบาดาล ส่วนแนวทางที่เสนอแนะเพื่อควบคุมการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรร คือ ควรมีการวางผังเฉพาะ (Specific Plan) ในบริเวณชานเมืองให้ชัดเจน โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร และผังเมืองรวมกรุงเทหมหานคร เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตในการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรให้แน่นอน โดยการรักษานี้ได้เสนอแนะว่า หมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็กและขนาดกลาง จัดสร้างได้เฉพาะในเขตที่มีบริการด้าน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่พร้อมเท่านั้น โดยทางรัฐต้องมีการวางแผนเพื่อหาพื้นที่รองรับ การขยายบริการดังกล่าวให้เพียงพอต่อผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้ด้วย ส่วนหมู่บ้านขนาดใหญ่ สามารถจัดสร้างได้ทั้งในเขตที่มีการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการพร้อม และในเขตที่มีการให้ บริการสาธารณูปโภคบางอย่าง ในบริเวณที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน และหมู่บ้านจัดสรรขนาดดังกล่าว จะต้องมีบริการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เพื่อตอบสนองผู้อยู่อาศัยของตนอย่าง เพียงพอด้วยนอกจากนี้ ควรมีการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน และหมู่บ้าน จัดสรรให้ชัดเจน รัดกุม มีผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงในการจัดบริการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ส่วนเรื่องปัญหาการจราจร ผู้รักษาเสนอว่า ควรมีการลดจำนวนการใช้รถยนต์ส่วนตัวลงโดยจัดบริการแบบ demand responsive transit system เพื่อบรรเทาความแออัดคับคั่ง ของการใช้ถนน และการจราจรภายในเมือง
Other Abstract: Bangkok, the center of development in every aspect; economical social, political for the country. From this special characteristic created a great number of rural migration into Bangkok Metropolitan area. In the same time, the population by natural growth made the total population increasing rapidly to 5.2 millions in 1981 and have the trend to go bigger in the near future. The increasing of population growth directly created the problems in different land use types. The land use in inner city area is very condensed for commercial activities and very high density for residential area. At the periphery area, the residential use is still low density only for the private housing development are spread all over along the main road access. From the distribution of these private housing development without control and created a lots of problems. For example, the haphazard growth of the housing development, the complexity of mixed use of land and inadequate of infrastructure public utilities and services, traffic congestion and pollution. The government sector should try to find measurement to prevent and improving these problems. The objective of this study is to look in depth into the direction of the private, housing development around periphery area. In the other hand, to study the potential location of the expansion. Together with public utilities facilities and services for the housing in different level. By studying from the existing situation of those private housing development at the Northeastern area in the district of Bang Khen, Bang Kapi and phra Khanong. Those sampling study divided into 3 groups, according to the project size; below 100 units, 100-200 units and above 200 units. From the analysis founded that the private housing development of bigger size (more than 200 units) provided better facilities in term of quantity and efficiency. The middle and small size of housing development which has a potential location near public utilities and facilities effected to the expansion of the city, especially to the old commercial area and created more activities. The three groups of housing development which located at the area served by public utilities but far from those public facilities created the expansion for the city and effected to the original commercial area by increasing more activities turn out. to be high potential new commercial and service area. The middle and small size of housing development which are located at the area served with some public utilities; as road, electricity, will be more effected to the city expansion than the large housing project. This can be served with complete public utilities and facilities. The un control housing development created haphazard development for the city without proper control. Created ribbon development at the area between urban area and housing development project area. In the same time, the irregular order in land use happened in the agriculture area which effected to environment of the city in drainage system and the use of sub-soil water. The recommendation to control the expansion of housing development project are concern with the clear land use planning policy at the periphery area which go along according to the National Economic and Social Development Plan for Bangkok Metropolitan area. This will give a guideline to locate the limitation to the housing development project expansion. This study as a tool to recommend the small and middle size of housing project should be developed at the area which served by adequate public utilities and facilities. Government sector should adequate plan the extend of this services for those who live in this new area. But those big size project can be developed in the planned area served with good or some part of public utilities and facilities. This project should provide adequate service for the dwellers. Besides this, the improvement of law and regulation measurement of land subdivision and housing development project should be clear and practical effected in order to prevent the avoidance of the provision of infrastructure in standardize public utilities and facilities. For the traffic problems, this study strongly recommend to reduce the private car use by providing service of demand-responsive transit system to solve the problem of traffic congestion on the road and in the city itself.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: การผังเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28409
ISBN: 9745647292
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wongduen_ke_front.pdf22.8 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_ch1.pdf7.54 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_ch2.pdf18.36 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_ch3.pdf83.11 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_ch4.pdf20.48 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_ch5.pdf134.89 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_ch6.pdf52.37 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_ch7.pdf24.75 MBAdobe PDFView/Open
Wongduen_ke_back.pdf50.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.