Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorศรัณยพร รัตนสุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-01-14T07:47:52Z-
dc.date.available2013-01-14T07:47:52Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746333771-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28418-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจตำราภาษาไทยสาขาเทคโนโลยีการศึกษาและ (2) วิเคราะห์เนื้อหาตำรา ภาษาไทยสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตำราภาษาไทยสาขาเทคโนโลยีการศึกษาที่เขียนโดยอาจารย์สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นตำราที่ตีพิมพ์ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2520 ถึง เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2537 รวมจำนวนทั้งสิ้น 199 เล่ม ผู้วิจัยวิเคราะห์เนื้อหาตำราตามเนื้อหาหลักที่ ปรากฏ และจำแนกเนื้อหาออกเป็นกลุ่มตามเกณฑ์หลัก 4 เกณฑ์ คือ (1) กลุ่มวิชาในหลักสูตร (2) ขอบข่ายสาระทฤษฎีและ หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา (3) ประเภทของสื่อการสอน และ (4) ลักษณะเนื้อหาตำรา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้แก่ แบบสำรวจตำรา และแบบวิเคราะห์เนื้อหาตำรา ตำราจำนวน 199 เล่ม ถูกนำมาลงความถี่ตามเกณฑ์ทั้ง 4 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่และร้อยละ ผลการสำรวจและวิเคราะห์พบว่า : (1) ในปี พ.ศ. 2529 และปี พ.ศ. 2533 มีการจัดพิมพ์ตำรามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 9.04 และในปี พ.ศ. 2534 มีการจัดพิมพ์ตำราน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 1.51 (2) การวิเคราะห์เนื้อหาตำราโดยจำแนกตามกลุ่มวิชาในหลักสูตรพบว่า มีตำราในกลุ่มวิชาการออกแบบ การผลิต การเลือก การใช้ และการบำรุงรักษาสื่อการสอนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.9 ส่วนตำราในกลุ่มวิชาการศึกษานอกระบบ โรงเรียน และกลุ่มวิชาการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรมการศึกษา มีน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 0.25 (3) การวิเคราะห์เนื้อหาตำราโดยจำแนกตามขอบข่ายสาระทฤษฎีและหลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา 9 ขอบข่าย พบว่า มีตำราในขอบข่ายสาระด้านสื่อสารการศึกษามากที่สุด ร้อยละ 36.54 และมีตำราในขอบข่ายสาระด้านการเผยแพร่และยอมรับนวัตกรรมน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 0.58 (4) การวิเคราะห์เนื้อหาตำราโดยจำแนกตามประเภทของสื่อการสอน 5 ประเภท พบว่ามีตำราเกี่ยวกับสื่อโสตทัศน์ มากที่สุด คือ ร้อยละ 32.83 และมีตำราเกี่ยวกับสื่อบุคคลน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 0.58 สำหรับหัวข้อเรื่องที่ปรากฏในตำรามาก ที่สุด คือทฤษฎีและหลักการและหัวข้อเรื่องที่น้อยที่สุดคือ แนวโน้ม (5) การวิเคราะห์เนื้อหาตำราโดยจำแนกตามลักษณะเนื้อหาตำรา 3 ลักษณะ พบว่า ร้อยละ 71.86 เป็นเนื้อหาตำรา เชิงทฤษฎีหลักการและเชิงปฏิบัติ และไม่ปรากฏเนื้อหาตำราในลักษณะเชิงปฏิบัติ-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to survey educational technology texts and (2) to analyze the content of those texts. The population employed in this research were 199 Thai educational technology texts written by educational technology faculty in College of Education, under the jurisdiction of Ministry of University Affairs and were printed during January, B.E. 2520 to October, B.E. 2537. The educational technology texts were analyzed to identify their main topics and categorized based on four categories ะ (1) area of courses in curriculum (2) range of educational technology principles and researches (3) media type and (4) text content styles. Two research instruments were developed by a researcher. They were a text survey and a content analysis form. The total of 199 texts were tallied based on four categories. Frequency and percentage were used in the study. The following results were obtained from the survey and analysis: (1) In the year of B.E. 2529 and B.E. 2533, texts were printed the most (9.04 %) and in the year of B.E. 2534, texts were printed the least (1.51 %). (2) The content analysis of texts based on curriculum category showed that design, production, selection, utilization and maintenance of Media were the most frequent texts accounted for 15.9 % of the total texts. The least frequent texts found were non-formal education (0.25 %) and diffusion and adoption of educational innovation (0.25%). (3) The content analysis of texts based on 9 ranges of educational technology principles and researches revealed that there was 36.54 % of texts on educational media. There was only 0.58 % of the texts on diffusion and adoption of educational innovation. (4) The content analysis of texts based on media types indicated that there was 32.83% of the texts on audio-visual media and only 0.58 % on Personal. The most frequent topics found was theory and principle and the least frequent topics found was trends. (5) The content analysis of texts based on 3 text content styles showed that 71.86% of texts were written in theory and practice and there was no text written in practice style.-
dc.format.extent6025460 bytes-
dc.format.extent4221183 bytes-
dc.format.extent18230487 bytes-
dc.format.extent10755071 bytes-
dc.format.extent13554314 bytes-
dc.format.extent7733094 bytes-
dc.format.extent25071893 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์เนื้อหาตำราภาษาไทยสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ที่เขียนโดยอาจารย์สาขาเทคโนโลยีการศึกษาen
dc.title.alternativeA content analysis of Thai textbooks on educational technology written by educational technology faculty membersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranyaporn_ra_front.pdf5.88 MBAdobe PDFView/Open
Saranyaporn_ra_ch1.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
Saranyaporn_ra_ch2.pdf17.8 MBAdobe PDFView/Open
Saranyaporn_ra_ch3.pdf10.5 MBAdobe PDFView/Open
Saranyaporn_ra_ch4.pdf13.24 MBAdobe PDFView/Open
Saranyaporn_ra_ch5.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open
Saranyaporn_ra_back.pdf24.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.