Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28452
Title: Effects of garlic extract on serum insulin, lipid profiles and lipoprotein, cardiac functions, coronary artery structures and protein in urine in induced diabetic rats
Other Titles: ผลของสารสกัดกระเทียมต่อระดับอินสุลิน ระดับไขมันและไลโปโปรตีนในซีรั่มการทำงานของหัวใจ โครงสร้างของหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ และโปรตีนในปัสสาวะในหนูที่ทำให้เป็นเบาหวาน
Authors: Sarawanee Tevit
Advisors: Suthiluk Patumraj
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 1996
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The objective is to study the effects of garlic extract on serum insulin, serum lipid profiles and lipoprotein including cardiac functions, coronary artery structures, and protein in urine in induced diabetic rats by a single intraperitoneal injection with the dose of 70mg/kg.BW. streptozotocin (STZ-rats). Garlic-treated STZ-rats (STZ-G) and tolbutjiamide-treated STZ-rats (STZ-T) were received daily oral feeding of 100 mg/kg.BW. garlic extract and 0.25 g/kg.BW. tolbutamide, respectively. Hypoglycemic activity and insulin effect were compared between these two groups. The results showed that at all three monitored time pointy,8116,and 20 weeks following streptozotocin injection, hypoglycemic activity of garlic extract was 74.22, 96.23 and 93.27 1 percent of activity of tolbutamide, respectively. Concomitantly, the levels of serum insulin were increased up to 37j.03, 42.16 and 62.66 percent of tolbutamide effect. Besides, the levels of serum cholesterol and triglycerides in STZ-GI rats were lower, whereas the levels of serum HDL were higher than those of STZ-rats. Moreover, garlic has been shown I to attenuate the abnormalities of cardiac functions. Systemic blood pressure was significantly decreased, while heart I rate, aortic flow rate and coronary flow rate were greater than those of STZ-rats. Left ventricular isotonic contraction values of STZ-rats were higher than those of STZ-rats at 16 and 20 weeks following streptozotocin injection. However garlic extract Could not significantly reduced proteinuria at all three monitored time points. Examination of vascular morphology by scanning and transmission electron microscopes demonstrated that the inner surface of coronary artery and arteriole of STZ-G rats were smoother than those of STZ-rats. Moreover, the thickness of arterial wall and capillary basement membrane of STZ-G rats were thinner than those of STZ-rats. The results of this study I implied that garlic could be a useful agent for preventing or delaying the diabetic cardiovascular complications.
Other Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของสารสกัดจากกระเทียมต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับอินสุลิน ระดับไขมันและไลโปโปรตีนในซีรั่ม รวมทั้งการทำงานของหัวใจ โครงสร้างของหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์และโปรตีน ในปัสสาวะ ของหนูที่ทำให้เป็นเบาหวานด้วยสเตรปโตโซโตซินขนาด 70 มิลลิกรัมต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัมเข้าทางช่องท้องครั้งเดียว เปรียบเทียบฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและผลต่ออินสุลินระหว่างกลุ่มหนูเบาหวานที่ได้รับการป้อนสารสกัดกระเทียมในขนาด 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันทางปากทุกวัน กับกลุ่มหนูเบาหวานที่ได้ รับการป้อนยาทอลบิวตาไมด์ในขนาด 0.25 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันทางปากทุกวัน ผลการทดลองแสดงว่าในทุกช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษาคือ 8, 16 และ 20 สัปดาห์ หลังการฉีดสเตรปโตโซโตซิน ฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของสารสกัดกระเทียมเท่ากับ 74.22, 90.23 และ 93.27 เปอร์เซ็นต์ของฤทธิ์ ของยาทอลบิวตาไมด์ ในขณะเดียวกันระดับของอินสุลินในซีรั่มเพิ่มขึ้นเท่ากับ 37.03, 42.16 และ 62.66 เปอร์เซนต์ของฤทธิ์ของยาทอลบิวตาไมด์ นอกจากนี้ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอรอลในซีรั่มของกลุ่มหนูเบาหวานที่ได้รับสารสกัดกระเทียมต่ำกว่า ในขณะที่ระดับไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงในซีรั่มสูงกว่ากลุ่มหนูเบาหวาน ยิ่งกว่านั้นกระเทียมสามารถลดความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ โดยพบว่าค่าความดันเลือดลดลง อัตราการบีบตัวของหัวใจ อัตราการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดเอออร์ตา อัตราการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดโคโรนารีย์มากกว่ากลุ่มหนูเบาหวาน แรงหดตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายจะมากกว่ากลุ่มหนูเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 16 และ 20หลังการฉีดสเตรปโตโซโตซิน อย่างไรก็ดีสารสกัดกระเทียมสามารถลดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะแต่ไม่มีความ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา การตรวจสอบรูปร่างลักษณะของหลอดเลือดโดย กล้องสแกนนิ่งและทรานสมิชชั่นอิเลคตรอนไมโครสโคป แสดงให้เห็นว่าผนังหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์และหลอดเลือดแดงรองของกลุ่มหนูที่ได้รับสารสกัดกระเทียมจะเรียบกว่ากลุ่มหนูเบาหวาน ยิ่งกว่านั้นความหนาของผนังหลอดเลือด แดงและเบสเมนท์เมมเบรนของหลอดเลือดฝอยในกลุ่มหนูที่ได้รับสารสกัดกระเทียมจะบางกว่ากลุ่มหนูเบาหวาน ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดกระเทียมสามารถเป็นสารที่มีประโยชน์สำหรับการป้องกันหรือทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ของระบบหัวใจและหลอดเลือดในภาวะเบาหวานช้าลงได้
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1996
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Physiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28452
ISBN: 9746364022
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarawanee_te_front.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open
Sarawanee_te_ch1.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open
Sarawanee_te_ch2.pdf741.15 kBAdobe PDFView/Open
Sarawanee_te_ch3.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open
Sarawanee_te_ch4.pdf15.85 MBAdobe PDFView/Open
Sarawanee_te_ch5.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open
Sarawanee_te_ch6.pdf436.44 kBAdobe PDFView/Open
Sarawanee_te_back.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.