Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28588
Title: ระบบการบังคับคดีทางแพ่ง
Other Titles: Civil executionalsystem
Authors: ศุภลักษณ์ จันทพลาบูรณ์
Advisors: พิพัฒน์ จักรางกูร
มุรธา วัฒนะชีวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบังคับคดีทางแพ่งเป็นกระบวนการที่รองรับและบังคับให้คำพิพากษาของศาลทุกคำพิพากษา มีความศักดิ์สิทธิ์ และสัมฤทธิ์ผล ควรเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และ เป็นธรรมอย่างที่สุดแก่คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับระบบ การบังคับคดีทางแพ่งของต่างประเทศ คือประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส และ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายในเรื่องนของประเทศไทยแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ และพบว่ากฎหมายไทยในปัจจุบันยังมีมาตรการที่อำนวยให้การบังคับคดีดำเนินไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรมแก่คู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ไม่มากเท่าที่ควร และ เห็นว่าควรจะมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งทางหลักกฎหมายและทางปฏิบัติ โดยอาศัยแนวทางแห่งหลักการของกฎหมายต่างประ เทศ เหล่านั้นเป็นเครื่องช่วยในการพิจารณาปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ในส่วนสุดท้าย ผู้เขียนจึงได้สรุปการวิ เคราะห์ เชิงเปรียบเทียบดังกล่าว และเสนอแนะแนวทาง แห่งการกำหนดมาตรการในการบังคับคดีที่เหมาะสม ทั้งในด้านองค์กร บุคลากร ขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ในการบังคับคดี พร้อมทั้ง เสนอข้อดีและข้อเสีย ในการเสนอแนะนั้นประกอบด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงความพยายาม ส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้กฎหมาย เกี่ยวกับระบบการบังคับคดีทางแพ่งของประเทศไทย เรานี้สามารถใช้บังคับ ได้อย่างตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเรื่องนี้อย่างมากที่สุดต่อไป
Other Abstract: Civil execution is the procedure to support and enforce every judgment to be effective. This procedure should be convenient, time and cost saving, as well as fair for both parties and all related people. In this thesis, the author studied and analyzed the provisions of civil executional system of foreign countries, ie, England, United States of America, France, and Germany. By comparing these foreign provisions with the one of Thailand, the differences exist in many aspects. The major finding is that the law of Thailand does not provide convenience, time and cost saving nor justice to both parties and related people up to the level that it should have been. The suggestion is that the various procedures be set up in additional to solve the correct problems of both the principal of law and its practice, by taking foreign laws into consideration as guidelines. Finally, the author summarized the analysis on the comparative basis and proposed the direction to improve the procedure of execution, addressing on institutions, personnels, processes and procedures, as well as the evaluation in term of pros and cons. The author believed that all of these efforts can express willingness to push the law of Thailand regarding the civil executional system towards the objective of the civil law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28588
ISBN: 9745762016
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaluc_ja_front.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open
Supaluc_ja_ch1.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Supaluc_ja_ch2.pdf79.68 MBAdobe PDFView/Open
Supaluc_ja_ch3.pdf51.21 MBAdobe PDFView/Open
Supaluc_ja_ch4.pdf12.99 MBAdobe PDFView/Open
Supaluc_ja_ch5.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open
Supaluc_ja_back.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.