Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28668
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกษตรกรรมจากเทปโทรทัศน์ ที่ใช้ภาษาไทยกลางและภาษาไทยถิ่นเหนือของชาวนาในจังหวัดลำปาง
Other Titles: A comparison of achievement on agrtculture learning through video tape,using Thai langunge and northern Thai dialect of the farmers in Chagwat Lampang
Authors: สไบทอง อักษรานุเคราะห์
Advisors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกษตรกรรมจากเทปโทรทัศน์ที่ใช้ภาษาไทยกลาง และ ภาษาไทยถิ่นเหนือของชาวนาในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยชาวนาชั้นเล็ก 50 คน และชั้นกลาง 50 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างง่ายจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัด ลำปางยกเว้นอำเภอเมือง จากนั้นแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน โดย กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เป็นชาวนาชั้นเล็ก ส่วนกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 เป็นชาวนาชั้นกลาง ให้กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 ดูเทปโททัศน์ที่ใช้ภาษาไทยกลาง ส่วนกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 4 ดูเทปโทรทัศน์ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือ ก่อนและหลังการดูเทปโทรทัศน์มีการทดสอบความรู้ ด้วยการถามคำถาม 24 ข้อ จากเทปบันทึกเสียงแบบตรับ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ นำคะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 3 ซึ่งเรียนจากเทป โทรทัศน์ภาษาไทยกลางมา เปรียบเทียบกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้กลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 4 ที่เรียน จากเทปโทรทัศน์ภาษาไทยถิ่นเหนือ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอบค่าที (t) ผลการวิจัยปรากฏว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่ดูเทปโทรทัศน์ภาษาไทยกลาง กับ ภาษาไทย ถิ่นเหนือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระดับชั้นของชาวนา ไม่มีผลต่อการเรียนรู้แต่ประการใด
Other Abstract: This research aimed at comparing degree of achievement of Farmers in Changwat Lampang in absorbing knowledge on agriculture from video tape using Thai language and Northern Thai dialect. Fifty of each small and medium farmers class was randomly selected from every Amphoes except Amphoe Muang. The selected 100 farmers, then, were subsequently divided into 4 groups of 25 in each; the first and second groups were small farmers class while the third and fourth were medium. Group I and III were assigned to watch video tape using Thai language while Group II and IV using Northern Thai dialect. Twenty-four question pretest-posttest was used to evaluate their levels of learning. After that, the gain scores of Group I and III who learnt from Thai language video tape were compared with those of Group II and IV who learnt from Northern Thai dialect by means of t-score data analysis. The result turned out that their scores were significantly different at .05. Additional data from this research showed that class of farmers, small and medium, didn't effect their levels of achievement.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28668
ISBN: 9745693081
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sabaithong_ak_front.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Sabaithong_ak_ch1.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Sabaithong_ak_ch2.pdf12.2 MBAdobe PDFView/Open
Sabaithong_ak_ch3.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open
Sabaithong_ak_ch4.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Sabaithong_ak_ch5.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Sabaithong_ak_back.pdf10.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.