Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28714
Title: การใช้มาตรการทางกฎหมายลงโทษริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด
Other Titles: Implementation process of forfeiture of assets as punishment for narocitic offences
Authors: วันชัย ศรีนวลนัด
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยาเสพติดเป็นภัยร้ายแรงต่อมนุษยชาติ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ สังคม เป็นอันตรายต่อ เศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ ประเทศไทยประสบกับปัญหายาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน เนื่องจากพื้นที่บางส่วนทางภาคเหนือของประเทศไทย อยู่ติดกับบริเวณที่เป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่เรียกว่า "สาม เหลี่ยมทองคำ" จากการศึกษาทฤษฎีอาชญาวิทยา ผู้เขียนได้วิเคราะห์ให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อป้องกันจะมีความเหมาะสมกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการผลิต และการค้ายาเสพติดมากที่สุดโดยมุ่งเน้นถึงปริมาณโทษที่จะลง ต้องมากกว่าผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับจากการกระทำนั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการข่มขู่ผู้กระทำความผิด และบุคคลทั่วไปให้เกิดความเกรงกลัว และไม่กล้ากระทำความผิดนั้นอีก อันจะเป็นผลดีต่อการป้องกันและปราบปรามในอนาคต เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการผลิต และการค้ายาเสพติด มีมูลเหตุจูงใจสำคัญที่สุดก็คือ ผลประโยชน์จำนวนมากที่ผู้กระทำความผิดมุ่งหวังจะได้รับ ดังนั้นการลงโทษทางเศรษฐกิจ ด้วยมาตรการริบทรัพย์สินอย่างเด็ดขาดและกว้างขวาง จะเป็นการตัดโอกาสไม่ให้ผู้กระทำความผิดได้รับสิ่งที่เขามุ่งหวัง และในที่สุดก็จะไม่มีผู้ใดอยากกระทำความผิดนั้นขึ้นมาอีก โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่มีบทบัญญัติกำหนดมาตรการลงโทษริบทรัพย์สินเกี่ยวกับคดียาเสพติดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาบทบัญญัติและหลักเกณฑ์ตามประมวล กฎหมายอาญามาใช้ อันเป็นบทบัญญัติสำหรับการกระทำความผิดทางอาญาทั่วๆไป ซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์แล้ว เห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติด เพราะมีข้อจำกัดและขาดมาตรการพิเศษที่จำเป็นสำหรับความผิดประเภทนี้อยู่หลายประการ สำหรับปัญหาเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้บุคคลรับผิดทางอาญาไว้ก่อน ซึ่งจะนำมาบัญญัติไว้นั้น จากการศึกษาได้พบว่าปัจจุบันมีกฎหมายของประเทศต่างๆ และกฎหมายของประเทศไทย ยอมรับหลักเรื่องข้อสันนิษฐานนี้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดกับหลักของกฎหมายอาญา แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตจำกัด และมีเงื่อนไขบางประการ เพื่อผลในการคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัย จากการกระทำความผิดบางประเภท ผู้เขียนเสนอแนะให้มีมาตรการทางกฎหมายริบทรัพย์สินสำหรับใช้บังคับกับคดียาเสพติดไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ โดยนำเอามาตรการต่างๆ ดังกล่าวทำนองของต่างประเทศ มาพิจารณากำหนดไว้ใน กฎหมายนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้บังเกิดผลสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดในประเทศไทย ให้สัมฤทธิ์ผลดียิ่งขึ้นต่อไป
Other Abstract: Narcotic is one of the greatest threat to mankind. It breeds numerous social problems and threatens the nation's economy and stability. Thailand has a long history of coping with narcotic problems, since a part of its northern territory is adjacent to the world renowned narcotic production area know as "The Golden Triangle" From his study of criminological theories, the author is convinced that punishment for production and distribution of narcotic would achieve deterrent effect only when the degree of punishment meted out outweighs benefits obtained from the commission of such offences. This strategy would deter an offender from further violations and hence deemed most effective for protection of potential offenders. The most important motive behind narcotic violation is an enormous financial gain received or envisioned by offenders. Financially related punishment through severe and instantaneous forfeiture of assets would minimize the chance for an offender to enjoy such gain and would serve as the best deterrent. Since present narcotic laws in Thailand do not specifically provide for forfeiture of assets as punishment, therefore measures inherent in the Criminal Code for general offences have been applied for narcotic cases. After having meticulously analyzed those measure, the author purports that they are not appropriate for narcotic offences since they have their own limitation and lack several extraordinary measures unique to such offences. On the issue of criminal violation presumption, the author finds that several countries, Thailand included, embrace this legal doctrine and do not perceive it as contradictory to constitutional rights or criminal doctrine. However, it must be used within a defined boundary and under certain conditions which will prevent the society from certain transgression of law. The author suggests that the implementation process of forfeiture of assets as punishment should be adopted specifically for narcotic offences. With measures outlined above incorporated into the law, he sincerely believe that such law would lead to successful protection and suppression of narcotic problems in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28714
ISBN: 9745760374
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_sr_front.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_sr_ch1.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_sr_ch2.pdf19.53 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_sr_ch3.pdf44.42 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_sr_ch4.pdf25.42 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_sr_ch5.pdf12.59 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_sr_back.pdf13.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.