Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28766
Title: | ทรรศนะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล เขตกรุงเทพมหานครต่อนิตยสารการ์ตูน |
Other Titles: | Viewpoint of governmental elementary school pupils in Bangkok towards the comic magazines |
Authors: | เรืองสิริ นิชรัตน์ |
Advisors: | กล่อมจิตต์ พลายเวช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงประเภทของการ์ตูนที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาชอบอ่าน ทรรศนะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาต่อนิตยสารการ์ตูน 9 รายชื่อในด้านรูปเล่ม ราคา ภาพการ์ตูน คอลัมน์ การใช้ภาษาและประโยชน์ ตลอดจนเพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพศและชั้นเรียนต่อความพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาต่อนิตยสารการ์ตูนในด้านดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการผลิตนิตยสารการ์ตูนปรับปรุงแก้ไขหรือผลิตนิตยสารการ์ตูนให้เป็นที่พอใจของเด็ก และสำหรับบรรณารักษ์และบิดามารดาในการดูแลแนะนำการอ่านที่ดีแก่เด็ก เพื่อปลูกฝังจริยธรรมและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างเลือกกลุ่มประชากร ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 และปีที่ 6 ทั้งชายและหญิงจำนวน 300 คน จากโรงเรียนรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง คือ โรงเรียนอนุบาลสามเสน โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ โรงเรียนวัดมหาบุศย์ โรงเรียนวัดพลับพลาชัยและโรงเรียนวัดหนัง นิตยสารการ์ตูนที่ศึกษาเป็นนิตยสารการ์ตูนที่จำหน่ายเป็นรายเดือนหรือรายปักษ์ที่แน่นอน ในเล่มมีเนื้อหาสาระหลายด้านแต่มุ่งเพื่อความบันเทิงเป็นสำคัญจำนวน 9 รายชื่อ ได้แก่ การ์ตูนมหาสนุก ชัยพฤกษ์การ์ตูน ตุ๊กตา เบบี้ เพื่อนการ์ตูน เพื่อนรัก เยาวชน รักยิ้ม และหนูจ๋า นิตยสารการ์ตูนทั้งหมดนี้ เลือกนำมาศึกษาตั้งแต่ฉบับที่พิมพ์จำหน่ายในช่วงเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2525 ผู้วิจัยได้นำนิตยสารการ์ตูนเหล่านี้ไปให้เด็กนักเรียนแต่ละโรงเรียนอ่านก่อน 1 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 2 จึงให้ตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ประเภทของการ์ตูนที่เด็กชั้นประถมศึกษาชอบ ได้แก่ การ์ตูนตลกขบขัน มีนักเรียน 69.3% ชอบ 2. ทรรศนะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาต่อนิตยสารการ์ตูนในด้านต่างๆ เป็นดังนี้ 2.1 ด้านรูปเล่มของนิตยสารการ์ตูน นักเรียนกว่า 50% เห็นว่านิตยสารการ์ตูน 6 รายชื่อ คือ การ์ตูนมหาสนุก ตุ๊กตา เบบี้ เยาวชน รักยิ้ม และหนูจ๋า มีขนาดเล่มพอเหมาะคือ 10.5"X 8.0" 2.2 ด้านราคา นักเรียนเกินกว่า 60% เห็นว่านิตยสารการ์ตูน 6 รายชื่อเดิมมีราคาเหมาะคือ 5 บาท 2.3 ด้านภาพการ์ตูน นักเรียน 50% เห็นว่า หนูจ๋ามีภาพการ์ตูนสวยที่สุด ขณะที่รักยิ้มมีนักเรียน 25% เห็นว่าไม่สวยที่สุด นักเรียนเกินกว่า 50% พอใจในภาพสีของนิตยสารการ์ตูนมากกว่าภาพขาวดำ นักเรียนชั้นประถมศึกษา 73% พอใจในภาพการ์ตูนขำขันของการ์ตูนมหาสนุก เช่นเดียวกับการ์ตูนภาพปกของนิตยสารการ์ตูนนี้ มีนักเรียน 64.3% ชอบมาก 2.4 ด้านคอลัมน์ นักเรียนไม่ถึง 30% อ่านนิตยสารการ์ตูนแต่ละเล่มตลอดทั้งเล่ม ส่วนมากนักเรียนเลือกอ่านแต่ที่ตนชอบและนักเรียนคิดว่านิตยสารการ์ตูน 6 รายชื่อ คือการ์ตูนมหาสนุก ชัยพฤกษ์การ์ตูน ตุ๊กตา เบบี้ เพื่อนการ์ตูน และหนูจ๋า มีจำนวนคอลัมน์เหมาะสม คือประมาณ 18-20 คอลัมน์ และสิ่งที่นักเรียนเกินกว่า 50% ต้องการให้ลงพิมพ์มากๆได้แก่ การ์ตูนขำขัน ในนิตยสารการ์ตูน 4 รายชื่อคือ การ์ตูนมหาสนุก เบบี้ รักยิ้ม และหนูจ๋าและนักเรียนเกือบ 60% ชอบเล่นเกมต่างๆใน การ์ตูนมหาสนุก ตุ๊กตา เบบี้ และหนูจ๋า สำหรับการติดต่อเป็นส่วนตัวกับผู้จัด พบว่านักเรียนไม่ถึง 20% เคยทำเช่นนั้น และนักเรียนกว่า 50% รับว่า เคยคิดแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติ เมื่ออ่านนิตยสารการ์ตูนแล้ว นักเรียน 60% พอใจในการ์ตูนมหาสนุก และขณะเดียวกัน นักเรียนกว่า 60% เห็นว่านิตยสารการ์ตูน 4 รายชื่อจัดทำได้ดีมาก ได้แก่ การ์ตูนมหาสนุก ชัยพฤกษ์การ์ตูน เบบี้ และหนูจ๋า 2.5 ด้านประโยชน์ นักเรียน 49 % ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดให้ความเห็นว่า ชัยพฤกษ์การ์ตูน มีประโยชน์มากที่สุด 2.6 ด้านการใช้ภาษา นักเรียน 70 % พบว่า การ์ตูนมหาสนุก ใช้ภาษาง่ายเข้าใจเรื่องได้ดี แต่มีนักเรียน 43- 57 % เห็นว่า ในนิตยสารการ์ตูนทุกเล่มมีคำพูดหยาบคายเล็กน้อย ส่วนนิตยสารการ์ตูนที่ใช้คำพูดสุภาพที่สุด ได้แก่ เพื่อนการ์ตูน 2.7 นิตยสารการ์ตูนที่นักเรียนเป็นอัตราส่วนร้อยสูงสุด 19% ชอบที่สุดได้แก่ ชัยพฤกษ์การ์ตูน เหตุผลที่นักเรียนชอบอ่านนิตยสารการ์ตูน ได้แก่ ในเล่มมีการ์ตูนตลก เพลิดเพลิน อ่านสนุกและเข้าใจง่าย 2.8 ข้อควรแก้ไขในนิตยสารการ์ตูน นักเรียนเห็นว่าภาพการ์ตูนควรปรับปรุงเป็นอันดับแรก และจำนวนคอลัมน์เป็นอันดับรอง 3. เพศและชั้นเรียนไม่มีความสัมพันธ์ต่อความพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาต่อนิตยสารการ์ตูนในด้านรูปเล่ม ราคา ภาพการ์ตูน คอลัมน์ ประโยชน์และการใช้ภาษา |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the kind of cartoons that governmental elementary school pupils liked most, their viewpoints towards the comic magazines especially in their format, price, cartoons, columns, use of language and advantages, including their relationship of sex and grade level between children's pleasure of comic cartoons in all aspects mentioned. The results would be used as facts and data for those who dealed with the producing of comic magazines in order to improve and bring them about to fulfill children's pleasure. In addition, the results would also stimulate parents and librarians to take more care in their children's reading or suggest the worthy reading so that they would be established with morality and useful knowledge since their childhood. The researcher used the method of random in choosing the research population. It consisted of pratom 3 and pratom 6 pupils of both sexes from 5 governmental elementary schools in Bangkok. They were the Sam Sen Kindergarten School, the Piboon- Oopatum School, Wat Maha-Busaya School, Wat Plab-Pla-Chai School and Wat. Nang School. The nine comic magazines studied here were those which have the exact date of release i.e, monthly or semi-monthly. In the magazines, contexts are of varieties but the main purpose is for entertainment. The nine magazines; were Cartoon Mahasanook, Chaiyapruek Cartoon, Tookkata, Baby, Poen Cartoon, Poenruk, Yaowachon, Rukyim and Noocha, All these were callected for this research during June-December า982. They were left for 1 week at each school and in the second week the pupils were to answer the questionnaires. The results of this research were as followed. 1. The kind of cartoons that elementary school pupils of 69.3% liked most was humorous cartoons. 2. The viewpoints of pupils towards comic magazines were as followed. 2.1 For the format, more than 50% of pupils thought that six comic magazines have the appropriate size of 10.5"x 8.0". They were Cartoon Mahasanook, Tookkata, Baby, Yaowachon, Rukyim and Noocha. 2.2 For the price, pupil of more than 60% agreed that the same six magazines have the reasonable price of 5 baht. 2.3 For the cartoons, pupils of more than 50% voted for Noocha having the most beautiful cartoon whereas Rukyim had the ugliest. Most of them also preferred coloured cartoons to black and white. 73% of pupils were enjoyed by humorous cartoons in Cartoon Mahasanook as same as its cover-page, 64,3% liked it. 2.4 For the columns, pupils of less than 30% read all through the magazines. Most of them read the part they preferred. Seven comic magazines most pupils considered having the suitable numbers of columns (18-20 columns) were Cartoon Mahasanook. Chaiyapruek Cartoon, Tookkata, Baby, Poen Cartoon, Rukyim Sind Noocha. The column that more than 50% of pupils preferred having been much printed was the humorous cartoons in Cartoon Mahasanook, Baby, Rukyim and Noocha. There were almost 60% of pupils liked playing games in Cartoon Mahasanook, Tookkata, Baby and Noocha. As in the contacting personally with the cartoonists, it was found that less than 20% of pupils did and 50% confessed that they thought to but never did. When finished reading, 60% of pupils were pleased with Cartoon Mahasanook. At the same time, more than 60% agreed that four magazines i.e. Cartoon Mahasanook, Chaiyapruek Cartoon, Baby and Noocha were at their best in producing. 2.5 For the advantages, 49% of pupils which was the highest percentage gave their opinion that Chaiyapruek Cartoon offered the most profits. 2.6 For the use of language, 70% of pupils considered that Cartoon Mahasanook used the most understanding language.Though, there were 43% - 57% of pupils thought that every comic magazines used a little bit of rude words. The one that was considered using the most polite words was Poen Cartoon. 2.7 The comic magazines that most of pupils (1956 or 57. pupils) liked most was Chaiyapruek Cartoon. The reason that pupils liked reading comic magazines was that they contained humorous cartoons which gave much pleasure and easy understanding. 2.8 For the improvement, the children agreed that cartoons should be improved in their drawing in the first place and numbers of columns in the second. 3. There was no relationship of sex and grade level between children's pleasure of comic magazines in format, price, cartoons, columns, use of language and advantages. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28766 |
ISBN: | 9745631574 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ruangsiri_ni_front.pdf | 14.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ruangsiri_ni_ch1.pdf | 17.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ruangsiri_ni_ch2.pdf | 38.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ruangsiri_ni_ch3.pdf | 30.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ruangsiri_ni_ch4.pdf | 12.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ruangsiri_ni_back.pdf | 85.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.