Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28826
Title: การพัฒนาแบบวัดความรับผิดชอบสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: A development of responsibility scale for parthom suksa six students
Authors: ภัสรา อรุณมีศรี
Advisors: สุภาพ วาดเขียน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและพัฒนาแบบวัดความรับผิดชอบสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคุณภาพ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2532 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,233 คนได้มาจากการสุ่มกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัด 3 ฉบับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามรายวิชาจริยศึกษา แผนภารสอนที่ 11 เรื่องความรับผิดชอบ ในหลักสูตรประถม ศึกษาพุทธศักราช 2521 คือ แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ, แบบสำรวจตนเองด้านความรับผิดชอบ และแบบวัดความรู้สึกรับผิดชอบชนิดกำหนดสถานการณ์บังคับ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่า ความตรงความเที่ยงโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSX ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.) แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบจำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาในการสังเกต 6 สัปดาห์มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงภายในตั้งแต่ .6423 ถึง .9422 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง 2.) แบบสำรวจตนเองด้านความรับผิดชอบจำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาในการตอบ 10 นาที มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงภายในเท่ากับ .8898 หาอำนาจจำแนกโดยการตรวจสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายข้อโดยใช้เทคนิคกลุ่มที่รู้ชัดทดสอบด้วยสถิติ t-test พบว่ามีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ ความตรงตามสภาพนี้มีค่าตั้งแต่ .48 ถึง .76 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ มีค่าตั้งแต่ .1129 ถึง .6141 ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ และมีความตรงเชิงโครงสร้าง 3.) แบบวัดความรู้สึกรับผิดชอบชนิดกำหนดสถานการณ์บังคับจำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาในการตอบ 30 นาที สัมประสิทธิ์ความเที่ยงภายในมีค่าเท่ากับ .6889 อำนาจจำแนกจากเทคนิค 27 % พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ทุกข้อ ความตรงตามสภาพมีค่าตั้งแต่ .43 ถึง .69 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับมีค่าตั้งแต่ .1613 ถึง .6448 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ และมีความตรงเชิงโครงสร้าง 4.) แบบวัดทั้ง 3 ฉบับ มีดวามสัมพันธ์กันเป็นคู่ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to construct and develop an appropriate quality test of responsibility behavior of Prathom Suksa six students. The subjects used in this research were 1,233 cluster-sampling Prathom Suksa six students in the academic year 1989 in the primary schools under the jurisdiction of the Provincial Primary Education office, udornthani. The three researcher-constructed tests, namely, the Responsibility Behavior Test, the Self of Responsibility Test and the Limited situation of Sense of Responsibility Test were used. The tests were constructed in accordance with the elevenths lesson plan topic "Responsibility" of moral study in the National Primary Curricurum 2521 B.E. The data obtained were analyzed by the SPSSX program to determined validity and reliability of the tests. The major findings were as follows. 1.) The 30-item Responsibility Behavior Test. It took the researcher 6 weeks to complete the test; the internal reliability coefficient ranged from .6423 to .9422 and the construct validity was found as well. 2.) The 30-item self of Responsibility Test. It took the subjects 10 minutes to complete the test; the internal reliability coefficient was .8898; the power of discriminantion according to Known-Group technique was significant at the .01 level; the Concurrent validity was from .48 to.76; the correlation coefficient between the item score and the global score was from ,1129 to .6141 which was significantly related at the .01 level; the construct validity was also found. 3.) The 30-item Limited situation of Sense of Responsibility Test. It took the subjects 30 minutes to complete the test; the internal reliability coefficient was .6889; the power of discrimination according to the 27 % technique was significant at the .05 level; the concurrent validity was from .43 to .69; the correlation coefficient between the item score and the global score was from .1613 to. 6448 which was significantly related at the .01 level; the construct validity was also found. 4.) The correlation coefficient between each two tests of the three constructed-tests were found.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28826
ISBN: 9745783358
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patsara_ar_front.pdf8.76 MBAdobe PDFView/Open
Patsara_ar_ch1.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Patsara_ar_ch2.pdf14.41 MBAdobe PDFView/Open
Patsara_ar_ch3.pdf28.26 MBAdobe PDFView/Open
Patsara_ar_ch4.pdf19.74 MBAdobe PDFView/Open
Patsara_ar_ch5.pdf14.28 MBAdobe PDFView/Open
Patsara_ar_back.pdf50.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.