Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28848
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษา: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามตัวแปรสังกัด
Other Titles: Indicator development of researchership attributes of secondary school students: testing measurement invariance by jurisdiction
Authors: เมทินี ยอดเสาวดี
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษา
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
พฤติกรรมการเรียน
นักวิจัย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษาระหว่างสังกัดของโรงเรียนที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย และแบบสอบถามคุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ และองค์ประกอบด้านลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการวิจัย องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 4 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้ความสามารถด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ และความมีวิจารณญาณ องค์ประกอบด้านลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการวิจัย มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 8 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความสุขในการค้นพบสิ่งใหม่ การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มนุษยสัมพันธ์ การตัดสินใจ ความอยากรู้อยากเห็น และความซื่อสัตย์ 2. โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า X² = 4.388, df = 17, p = .999, GFI = .999, AGFI = .995 และ RMR = .007 3. โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นนักวิจัยของนักเรียนมัธยมศึกษา มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างกลุ่มนักเรียนในสังกัดที่แตกต่างกัน แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลักด้านความรู้ความสามารถ และด้านลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการวิจัย
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to development researchership attribute indicators of secondary school students 2) to validate model researchership attribute indicators of secondary school students 3) to test the invariance of the model of researchership attribute indicators of secondary school students across those four jurisdiction. The participants of this research were 1,333 secondary school students. The research tool were in-depth interview with expert and questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics (e.g., means, S.D., C.V., skewness, kurtosis) and Pearson’s correlation, exploratory factor analysis by employing SPSS. Second order confirmatory factor analysis and multiple group structural equation model analysis by LISREL.The research results were as follows 1. Researchership attribute indicators of secondary school students consisted of two factors, namely knowledge and characteristics conducive to research. The knowedge factor consisted of 4 indicators: the scientific process, the ability of communicate, creativity and critical. The characteristics conducive to research factor consisted of 8 indicators: responsibility, tolerance, the joy of discovering something new, the comments of others, human relations, decision, curiosity and integrity. 2. The model of the researchership attribute indicators for secondary school students found that the model fit the empirical data (X² = 4.388, df =17, p =.999, GFI = .999, AGFI =.995 and RMR =.007) 3. The model of researchership attribute indicators for secondary school students indicated invariance of model form across those four jurisdiction, but the model indicated variance of the factor loading of each indicators and factor loading of knowledge and characteristics conducive to research factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28848
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1607
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1607
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
metinee_yo.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.