Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28879
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลเชิงอุปนัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
Other Titles: | Effects of organizing mathematics learning activities using concept development model and concept worksheets on mathematical concepts and inductive reasoning ability of ninth grade students |
Authors: | อัญชลีรัตน์ รอดเลิศ |
Advisors: | อัมพร ม้าคนอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Aumporn.M@chula.ac.th |
Subjects: | คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ความคิดรวบยอด |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์กับกลุ่มที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงอุปนัย ทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผล เชิงอุปนัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพธิ์แก้วประชาสรรค์ จังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2553 จำนวน 2 กลุ่ม เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดมโนทัศน์และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงอุปนัยทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t – test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance) สรุปผลการวิจัย 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์ มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงอุปนัยทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการพัฒนามโนทัศน์และเอกสารสรุปมโนทัศน์ มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงอุปนัยทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to compare mathematical concepts of ninth grade students between groups being taught by organizing mathematics learning activities using the concept development model and concept worksheets and being taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach, 2) to compare mathematical inductive reasoning abilities of ninth grade students before and after learning by using the concept development model and concept worksheets, 3) to compare mathematical inductive reasoning abilities of ninth grade students between groups being taught by organizing mathematics learning activities using the concept development model and concept worksheets and being taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach. The subjects were ninth grade students in academic year 2010 of Phokeawprachasan School, Roi – ed Province. They were divided into two groups, one experimental group with 32 students and the other controlled group with 30 students. Students in experimental group were taught by organizing mathematics learning activities using the concept development model and concept worksheets and those in control group were taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach. The research instruments were the mathematical concepts and inductive reasoning ability tests. The data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, t – test and analysis of covariance. The research results were revealed that: 1) Mathematical concepts of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using the concept development model and concept worksheets were higher than those of students being taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach at .05 level of significance. 2) Mathematical inductive reasoning abilities of ninth grade students after learning by using the concept development model and concept worksheets were higher than those before using the concept development model and concept worksheets at .05 level of significance. 3) Mathematical inductive reasoning abilities of ninth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using the concept development model and concept worksheets were higher than those of students being taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach at .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28879 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2014 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.2014 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Unchaleerat_ra.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.