Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28919
Title: การปรับปรุงคุณสมบัติด้วยสารเคมี RRP
Other Titles: Soil stabilization with the RRP chemical
Authors: อาคม เตชะธัญญกุล
Advisors: บุญสม เลิศหิรัญวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการนำสารเคมี RRP มาใช้ปรับปรุงคุณสมบัติดิน 2 ชนิดคือ ดินเหนียว จากนิคมอุตสาหกรรมบางปู และ ดินทรายปนดินเหนียว จากแหลมฉบัง เมื่อผสมสารเคมี RRP ที่ปริมาณต่าง ๆ โดยได้พิจารณาคุณสมบัติของส่วนผสม ดิน – สารเคมี RRP ดังนี้ คือค่า CBR ค่ากำลังรับแรงอัด ค่าการพองตัว ค่าการดูดซึมน้ำ และความคงทน ผลการศึกษาพบว่า สารเคมี RRP จะช่วยทำให้เสถียรภาพของดินทั้ง 2 ชนิดดีขึ้น ในขณะที่ ค่าการดูดซึมน้ำ และการพองตัวลดลง ดังนี้ – ดินเหนียวบางปู ซึ่งเป็นดินประเภท CH มีค่า LL= 73 % PI= 40 % CEC= 13.05meg. ได้ปริมาณสารเคมี RRP ที่เหมาะสม 0.024 % โดยทำให้ส่วนผสมมีค่า soaked CBR เพิ่มจาก 2.72 % เป็น 3.92 % ในขณะที่ ค่าการพองตัว และค่าการดูดซึมน้ำลดลงจาก 5.77 % เป็น 3.74 % และ 9.71 % เป็น 4.93 % ตามลำดับ – ดินทรายปนดินเหนียวแหลมฉบัง เป็นดินประเภท SC มีค่า LL= 48 % PI= 22 % CEC= 3.95 meq. ได้ปริมาณสารเคมี RRP ที่เหมาะสม 0.012 % โดยทำให้ส่วนผสมมีค่า soaked CBR เพิ่มจาก 7.27 % เป็น 10.90 % ในขณะที่ ค่าการพองตัวและค่าการดูดซึมน้ำลดลงจาก 0.70 % เป็น 0.11 % และ 7.05 % เป็น 1.31 % ตามลำดับ
Other Abstract: This research aims at the study about the effect of using RRP chemical for soil stabilization. The clayey soil from Bangpoo Industrial Estate and clayey sand from Lam Chabng are selected as soil samples. The engineering properties of the RRP – soil mixtures such as CBR value, unconfined compressive strength, water absorption, swelling and durability are considered. The study results showed that RRP chemical can stabilize 2 types of soil by increasing strength, reducing water absorption and swelling properties.- Bangpoo soil sample was classified as high plastic clay (CH) having LL = 73 % PI = 40 % and CEC =13.05 meg. At the optimum RRP content of 0.024 %, the soaked CBR was increased from 2.72 % to 3.92 % while swelling was reduced from 5.77 % to 3.74 % and the water absorption value was reduced from 9.71 % to 4.93 %.- Lam Chabung soil sample was classified as clayey sand (SC) having LL = 48 % PI = 22 % and CEC = 3.95 meg. At the optimum RRP content of 0.012 %, the soaked CBR was increased from 7.27 % to 10 90 % while swelling was reduced from 0.70 % to 0.11 % and the water absorption value was reduced from 7.05 % to 1.31 %.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28919
ISBN: 9745814733
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arkom_te_front.pdf11.41 MBAdobe PDFView/Open
Arkom_te_ch1.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Arkom_te_ch2.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open
Arkom_te_ch3.pdf11.3 MBAdobe PDFView/Open
Arkom_te_ch4.pdf13.98 MBAdobe PDFView/Open
Arkom_te_ch5.pdf39.6 MBAdobe PDFView/Open
Arkom_te_ch6.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Arkom_te_back.pdf23.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.