Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29023
Title: การพึ่งตนเองของประชาชนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: People's self-reliance in the royal recommended project : A case study of the food processing section,lahan sai,buri ram province
Authors: พิเชียน ลิมป์หวังอยู่
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาวิธีการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของประชาชนในโครงการ และผลกระทบของการดำเนินงานโครงการฯ ต่อการพึ่งตนเองของประชาชน จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของโครงการฯ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะคือ ระยะแรกเป็นการดำเนินงานเพื่อพยายามยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้สูงขึ้น พร้อม ๆ ไปกับการพยายามสร้างเสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้าน และในระยะหลัง โครงการได้หันมาให้ความสำคัญกับการพยายามสร้างเสริมรายได้ให้แก่ชาวบ้านเพียงด้านเดียว กิจกรรมของโครงการฯ ในระยะหลังจึงเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเพื่อส่งให้โรงงานอาหารสำเร็จรูปที่ได้จัดตั้งขึ้น การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพึ่งตนเองในครั้งนี้ได้มีการจำแนกปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองเป็น 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ในแต่ละปัจจัยมีการจำแนกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ กล่าวคือ ในปัจจัยทางการเมืองมี 3 องค์ประกอบคือ ความสามารถในการรับข่าว การมีส่วนร่วม และการรู้จักแก้ปัญหา ปัจจัยทางเศรษฐกิจมี 3 องค์ประกอบคือ การมีปัจจัยพื้นฐานเพียงพอแก่การดำรงชีพ ความสมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางจิตวิทยามี 4 องค์ประกอบคือ ความมั่นใจในตนเอง ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่มในการสร้างความร่วมมือ และความพอใจและภูมิใจในตนเอง ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมมี 3 องค์ประกอบคือ ประชากรเหมาะสมกับการผลิต มีสถาบันในการแก้ปัญหาร่วมกัน และความสามารถในการปรับประสานกับภายนอก ผลของการดำเนินงานโครงการฯ พบว่า โครงการสามารถทำให้ชาวบ้านสามารถมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น มีปัจจัยพื้นฐานเพียงพอกับความต้องการมากขึ้น มีความสมดุลย์ระหว่างรายได้กับรายจ่ายในครอบครัวมากขึ้น และสามารถให้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากขึ้น นอกจากนี้ชาวบ้านก็เห็นความสำคัญของข่าวสารมากขึ้น ชาวบ้านมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการผลิตมากขึ้น มีความสามารถในการปรับประสานกับวิทยาการใหม่ ๆ ได้ดี และมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงการฯ ยังไม่ได้ทำให้ชาวบ้านเกิดการมีส่วนร่วม และการรู้จักแก้ปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง ไม่ได้ทำให้ชาวบ้านมีความรับผิดชอบมากขึ้น เกิดความคิดริเริ่มในการสร้างความร่วมมือและเกิดความพอใจและภูมิใจในตนเอง และไม่ได้ทำให้เกิดสถาบันในการแก้ปัญหาร่วมกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า โครงการมีส่วนทำให้เกิดปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งตนเองของชาวบ้านมากขึ้นระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอต่อการทำให้ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้
Other Abstract: This study was to evaluate the implementation of the Royal Recommended Project, the Food Processing Section, Lahan Sai, Buri Rum Province, the factors affecting people’s self-relaince, and the impacts of the project implementation on people’s self-relaince. The project implementation could be divided into 2 phases. The first phase, attempted to lift the living standard of people along with their income while the second phase put emphasis on income generating and promoting cultivation for the food processing factory. Self-reliance was analysed in term of political, economic, psychological, and socio-cultural factors. Variables included in the analysis of the political factor were information awareness, participation, and problem-solving ability. The economic factor included attainment of subsistence level of basic needs, balance of income and expenditure, and resource utilization. The psychological factor was classified into self-confidence, responsibility, initiative in establishing mutual co-operation, and self-satisfaction. The socio-cultural factor included appropriation between population and productions, the existence of local institution for mutual problem-solving, and ability to co-ordinate with external resources. In terms of impact, the project succeeded in enabling the people to have higher income, better quality of life and satisfying basic needs, better balance between income and expenditure, and better resource utilization. In addition the people were able to increase their information awareness, had more appropriate production system, were more able to adjust to new technology and had more self-confidence. However, the project was still unable to promote people’s participation especially in problem-solving, sense of responsibility, and feeling of self-satisfaction among the people. The project could not create local institution for mutual problem-solving. Therefore, it could be stated that the project had created factors affecting people’s self-reliance to some extent, but not sufficient to make the people become self-reliance in all four aspects indentified.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29023
ISBN: 9745687588
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichian_li_front.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open
Pichian_li_ch1.pdf15.07 MBAdobe PDFView/Open
Pichian_li_ch2.pdf18.98 MBAdobe PDFView/Open
Pichian_li_ch3.pdf12.39 MBAdobe PDFView/Open
Pichian_li_ch4.pdf18.42 MBAdobe PDFView/Open
Pichian_li_ch5.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open
Pichian_li_ch6.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
Pichian_li_back.pdf8.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.