Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29029
Title: ผลของการไถกลบหญ้าแฝกและระดับน้ำในนาข้าวต่อสมบัติของดินและการปลดปล่อยก๊าซมีเทน
Other Titles: Effect of vetiver grass plough and water levels in rice field on soil properties and methane gas emission
Authors: อรรถพล โสภาพงศ์
Advisors: กนกพร บุญส่ง
สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: kanokporn.b@chula.ac.th
Somkiat.P@Chula.ac.th
Subjects: หญ้าแฝก
ข้าว -- เกษตรอินทรีย์
ข้าว -- ดิน
มีเธน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับปรุงดินด้วยการไถกลบหญ้าแฝก และระดับน้ำในนาข้าวต่อสมบัติของดินและการปลดปล่อยก๊าซมีเทน จากการผลิตข้าวอินทรีย์ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 4 แปลง แต่ละแปลงมีพื้นที่ประมาณ 800 ตร.ม. มีปัจจัยที่ทำการวิจัย คือ (1) การปรับปรุงดิน 2 แบบ คือ แปลงที่ผ่านการปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก (ปลูกหญ้าแฝกในแปลงนา 500 วันแล้วไถกลบ) และแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก (ใช้ทำนา 3 ฤดูกาลเพาะปลูก และภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแต่ละครั้งใช้การไถกลบปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด) และ (2) ปัจจัยด้านระดับน้ำที่ท่วมขัง 2 ระดับ คือ 5 และ 10 ซม. ปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ด้วยวิธีหว่านน้ำตม ระยะเวลาการเพาะปลูก 117 วัน เก็บตัวอย่างก๊าซมีเทนด้วยเทคนิค static closed chamber ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว 6 ระยะ คือ ระยะเมล็ดข้าวงอก ระยะต้นกล้า ระยะข้าวแตกกอ ระยะข้าวตั้งท้อง ระยะเมล็ดน้ำนม และระยะเก็บเกี่ยว ผลการศึกษา พบว่า ดินในแปลงที่ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (7.38-7.42 และ 6.74-6.82) การนำไฟฟ้า (0.45-0.52 และ 0.19-0.27 dS/m) ศักย์รีดอกซ์ (-106.93 ถึง -110.21 และ -109.29 ถึง -113.38 mV) ความหนาแน่นรวม (1.33-1.36 และ 1.21-1.24 g/cm3) และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (72.96-74.39 และ 46.70-58.04 mg/kg)สูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการปลดปล่อยก๊าซมีเทน พบว่า แปลงที่ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกมีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำกว่าแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกทั้งระดับน้ำ 5 และ 10 ซม. มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.79, 18.19, 25.29 และ 29.96 mg/m2/hr ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีค่าต่ำที่สุดในระยะเมล็ดข้าวงอก (0.60-2.83 mg/m2/hr) และสูงที่สุดในระยะเมล็ดน้ำนม (52.22-86.86 mg/m2/hr) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของข้าวกับการปลดปล่อยก๊าซมีเทน พบว่า ความเป็น กรด-ด่าง การนำไฟฟ้า ศักย์รีดอกซ์ อุณหภูมิ อินทรียวัตถุ อินทรีย์คาร์บอน ความสูง และมวลชีวภาพรวมของข้าวมีความสัมพันธ์กับการปลดปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนระดับน้ำในนาข้าวไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่พบแนวโน้มว่าแปลงที่มีระดับน้ำ 5 ซม. มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำกว่าแปลงที่มีระดับน้ำ 10 ซม. ในด้านผลผลิตข้าว พบว่า แปลงที่ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกมีผลผลิตข้าวสูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝกทั้งระดับน้ำ 5 และ 10 ซม. มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 421.47, 401.35, 374.72 และ 366.79 กก./ไร่ ตามลำดับ จากผลการวิจัยทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า แปลงที่ผ่านการปรับปรุงดินด้วยการปลูกและ ไถกลบหญ้าแฝกมีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำกว่าและมีผลผลิตข้าวสูงกว่าแปลงที่ไม่ได้ปรับปรุงดินด้วยหญ้าแฝก
Other Abstract: This research aimed to study the effects of vetiver grass plough and water levels on soil properties and methane emission from organic rice production in Cha-am District, Phetchaburi Province. The studies were conducted in four plots of approximately 800 m2 each. The factors studied were (1) soil improvement i.e., plot with vetiver plough (cultivated vetiver grass for approximately 500 days before ploughing) and plot without vetiver plough (cultivated rice for 3 consecutive crops; and after each harvest, sunn hemp was used as green manure for soil improvement) and (2) floodwater levels i.e., 5 and 10 cm. The rice Oryza sativa L. cultivar Chainat1 was cultivated using broadcasting technique for 117 days. The methane emissions were measured 6 periods during growth stages of rice i.e. germination, seedling, tillering, booting, milk grain and harvest using static closed chamber technique. The results indicated that soil in plots with vetiver plough had significantly higher pH (7.38-7.42 and 6.74-6.82), electrical conductivity (0.45-0.52 and 0.19-0.27 dS/m), Eh (-106.93 to -110.21 and -109.29 to -113.38 mV), bulk density (1.33-1.36 and 1.21-1.24 g/cm3) and exchangeable K (72.96-74.39 and 46.70-58.04 mg/kg) than soil in plots without vetiver plough. For methane emission, the values from plots with vetiver plough with both 5 and 10 cm. water levels (15.79 and 18.19 mg/m2/hr) were lower than plots without vetiver plough (25.29 and 29.96 mg/m2/hr). The methane emission trends were increased with rice growth stages i.e., lowest in germination stage (0.60-2.83 mg/m2/hr) and highest in milk grain stage (52.22-86.86 mg/m2/hr). According to the correlation between soil properties and methane emission, the results indicated significant correlation (p<0.05) between soil pH, electrical conductivity, Eh, temperature, organic matter, organic carbon; and methane emission. In addition, shoot height and total biomass of rice were significantly correlated with methane emission. Whereas floodwater level showed non-significantly correlated with methane emission (p>0.05). However, there was the tendency that plots with 5 cm. water level emitted lower methane. For rice production, the production in plots with vetiver plough with both 5 and 10 cm. water levels (421.47 and 401.35 kg/rai) were higher than plots without vetiver plough (374.72 and 366.72 kg/rai). In conclusion, overall results suggested that soil improvement by vetiver grass plough emitted lower methane while yielded higher rice production.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29029
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1591
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1591
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
attapon_so.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.