Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29031
Title: บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: Roles of the office of the national education commission
Authors: สุภาวดี ตรีรัตน์
Advisors: ประกอบ คุปรัตน์
สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2502-2521) เพื่อวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงาน และปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และเพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องและนักการศึกษาที่มีต่อบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติในช่วง พ.ศ. 2502-2511 เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2512-2515 ประสบความสำเร็จในด้านการวิจัยเพื่อการวางแผนการศึกษา พ.ศ. 2516-2520 ให้ความสำคัญกับการวางแผนการศึกษามากขึ้น พ.ศ. 2521-2529 ได้มีส่วนร่วมสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารการประถมศึกษา แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องการจัดทำนโยบาย การวางแผนมีการพัฒนาเทคนิควิธีขึ้นกว่าเดิม แต่ยังขาดการติดตามผล การวิจัยขาดทิศทาง และยังไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศให้ได้มาตรฐาน ส่วนการประเมินผลโครงการสามารถประเมินได้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่นำไปปฏิบัติพอสมควร บุคคลต่าง ๆ คาดหวังให้สำนักงานฯ มีบทบาทในการจัดทำนโยบายและวางแผนการศึกษา ติดตามผล วิจัย เป็นศูนย์สารสนเทศ และเป็นหน่วยประสานงานด้านการศึกษา ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อบทบาทของสำนักงานฯ ได้แก่ องค์ประกอบและการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ คุณลักษณะของผู้บริหาร คุณสมบัติของบุคลากร และวิธีการทำงานของสำนักงานฯ
Other Abstract: Objectives of this research were : 1) to analyse roles of the Office of the National Education Commission (NEC) starting from the establishment to present (B.E. 2502 to B.E. 2529) 2) to identify the NEC’s work procedures, successes and failures. 3) to explore expectations of the NEC’s roles as perceived by administrators, educationists and other involved. Findings revealed that much attention was given to higher education during B.E. 2502 to B.E. 2511, while research for the educational planning purposes was remarkably noted between B.E. 2512 and B.E. 2515, and within the following four years (B.E. 2516-2520) proper attention was paid to the educational planning. From B.E. 2521 to 2529 the NEC took a key role in reforming the administration of primary education and has improved overtime the adopted planning techniques. In addition, the project evaluation was found useful for implementing nits. However, the NEC has not accomplished its duty as far as policy formulation is concerned. It also feel short of research direction and did not follow up plan implementation in a due manner nor did it take actions to standardize the management information system. Involved persons expected the NEC to take charge of the educational policy and planning, monitoring and research as well as to function as an active center for the educational management information and co-ordination. Factors affecting the role of the NEC included the structure and roles of the National Education Commission, administrators and staff qualifications, and organization management.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29031
ISBN: 9745693618
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_tr_front.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tr_ch1.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tr_ch2.pdf11.88 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tr_ch3.pdf24.3 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tr_ch4.pdf21.53 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tr_ch5.pdf7.77 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_tr_back.pdf19.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.