Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29038
Title: กฎหมายและการปฏิบัติต่อผู้อพยพชาวอินโดจีนในประเทศไทย
Other Titles: The law and practice relating to Indochinese displaced persons in Thailand
Authors: พนมวรรณ ยามัสเถียร
Advisors: วิทิต มันตาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เป็นที่ประจักษ์ว่า สาเหตุมูลฐานสำคัญยิ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดการอพยพลี้ภัย ทั้งในอดีตและปัจจุบันส่วนหนึ่งมาจากภัยสงคราม และการสู้รบอันเนื่องมาจากความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และหรือความขัดแย้งภายในประเทศนั้น ๆ ยังผลให้บังเกิดความเคลื่อนไหวไปยังแหล่งใหม่ซึ่งปลอดภัยกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงต่อภัยคุกคามนั้น ๆ และเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตและเผ่าพันธุ์ของตน สำหรับประเทศไทยนั้น จากการเริ่มต้นของสงครามกู้ชาติระหว่างประเทศเวียดนามและประเทศฝรั่งเศส และสงครามปฏิวัติในประเทศจีน รวมทั้งการสู้รบเพื่อความเป็นอิสระของชนเผ่าต่าง ๆ ในประเทศพม่า หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตลอดจนสภาพเชิงภูมิประเทศกอปรด้วยเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย ยังผลให้เกิดการอพยพลี้ภัยของชาติต่าง ๆ เข้ามาสู่ราชอาณาจักรไทยเป็นจำนวนมาก หากแต่ในระยะนั้น ปัญหาของอพยพชาวอินโดจีน มิได้รับความสนใจทั้งในระดับภายในประเทศ และระดับต่างประเทศเท่าที่ควร ทำให้ประเทศไทยต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยอาศัยพื้นฐานทางด้านมนุษยธรรมเพียงลำพัง โดยไม่มีองค์การกุศลหรือประเทศใดให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเลย อย่างไรก็ดี เมื่อไม่นานมานี้ ปัญหาผู้อพยพชาวอินโดจีนได้ถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางและจริงจัง ทั้งในระดับชาติและระดับ ระหว่างประเทศ เนื่องจากการอพยพลี้ภัยของชาวอินโดจีนในระยะหลังมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านการเมืองเป็นสำคัญ กล่าวคือ หลังสงครามระหว่างประเทศเวียดนามเหนือ และประเทศเวียดนามใต้สิ้นสุดลง ในช่วงปี พ.ศ. 2518 และ เมื่อประเทศเวียดนามเหนือ เข้าครอบครองประเทศเวียดนามใต้โดยสมบูรณ์แล้ว รัฐบาลของประเทศเวียดนามเหนือได้เปลี่ยนรูปการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมโดยทันที ทำให้เกิดผลสะท้อนเป็นแรงผลักดันให้ชาวเวียดนามใต้ซึ่งไม่ประสงค์จะเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเสรีประชาธิปไตยเป็นสังคมนิยมต้องพากันอพยพลี้ภัยออกนอกประเทศ เพื่อให้พ้นจากภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดย ใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางไปสู่ประเทศต่าง ๆ อีกทั้งการต่อสู้ การสู้รบภายในประเทศของ ประเทศลาว และประเทศเขมร เพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิวัติให้เป็นประเทศในระบบสังคมนิยม โดยสมบูรณ์ สาเหตุดังกล่า เหล่านี้ ยังผลให้ประชาชนชาวอินโดจีนเป็นจำนวนมากได้เริ่มหลั่งไหลอพยพเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางบกและทางน้ำ อีกครั้งหนึ่ง และต่อเนื่องมาจนบัดนี้ ซึ่งการอพยพของบุคคลดังกล่าว เป็นจำนวนมหาศาล และฉับพลันย่อมก่อให้เกิด ผลกระทบต่อประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเกี่ยวโยงไปถึงปัญหาด้านกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จึงได้วิเคราะห์ถึงกรรมสารระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลที่มีสถานะเป็นผู้ลีภัยและผู้อพยพ ตลอดจนกฎหมายภายในที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้อพยพชาวอินโดจีนในประเทศไทย ตลอดจนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อบุคคลดังกล่าวทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาต่างๆอันเกิดจากกฎหมายและการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของผู้อพยพชาวอินโดจีนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในอนาคต ทั้งในระดับภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศ อนึ่ง ผู้เขียนได้พิเคราะห์ถึงว่า แม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมิได้เป็นภาคีในกรรมสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ และใช้กฎหมายภายในซึ่งบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรควบคุมความประพฤติของบุคคลดังกล่าว หากแต่แนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแบบแผนที่จะยึดถือไว้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติได้ เพราะได้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ไปตามเหตุการณ์สภาวะของบ้านเมือง และนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุคสมัย ซึ่งการปฏิบัติต่อผู้อพยพชาวอินโดจีนในบางช่วง ก็คล้ายคลึงกับบทบัญญัติซึ่งได้กำหนดไว้ในกรรมสารระหว่างประเทศอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยการทำวิทยานิพนธ์มุ่งไปสู่ข้อยุติในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพชาวอินโดจีนในประเทศโดยใช้กฎหมายเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย เพื่อให้บังเกิดผลมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างความมั่นคงของชาติและมนุษยธรรมเป็นสำคัญ กระนั้นก็ดีเนื่องจากปัญหาของผู้อพยพกระทบและเกี่ยวโยงกับปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ปัจจัยในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ฯลฯ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจะสำเร็จลุล่วงไปได้ย่อมต้องอาศัยความรอบรู้และการวิเคราะห์ในเชิงสหสาขาวิชา ประกอบกับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความร่วมมือร่วมใจของประชาคมระหว่างประเทศในการแบ่งเบาภาระของผู้อพยพ และการแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างถาวรของผู้อพยพโดยเร่งด่วน และจริงจังอีกด้วย
Other Abstract: It is evident that some of the most important reasons why people seek refuge from their country of origin in the pact and at present are warfare, military activities arising from ideological differences and internal conflicts. For the sake of personal safety and social integrity, and in order to escape dangers, people must move to other safer havens. In the case of Thailand, the Revolution in Vietnam against France, the Revolution in China, the fighting of minorities seeking independence in Burma, coupled with the geographical location of Thailand and her relative political stability, have led to large-scale influxes of refugees of various nationalities into Thailand after the Second world War. At the time, the problem of Indochinese displaced persons did not attract much attention whether at the national or international level. Thailand alone, therefore, had to resort to solutions based upon humanitarian grounds without the support of charitable organizations and other countries. However, lately, the problem of Indochinese displaced persons has called for critical appraisal both at the national and international levels. This has been due to recent influxes of Indochinese displaced persons mainly caused by political factors such as the Vietnam War which ended in 1975 and the complete subsumption of South Vietnam under North Vietnamese rule. The fact that the North Vietnamese Government has changed the system of Government in the South instantly to Socialism has acted as an incentive to ’’push out” those Vietnamese who do not wish to change from democratic freedom to Socialism. They have thus sought refuge in other countries by land and boat to escape the dangers to their lives and property. Similar occurrences of warfare and internal fighting with the underlying aim of attaining complete Socialism in Laos and Kampuchea have led to further massive influxes of Indochinese into Thailand both by land and by sea. Vast numbers have taken refuge in Thailand until now and have created economic, social and political repercussion for the country. In addition, this has inevitably given rise to legal problems. This thesis will analyze the international instruments which affect the status of refugees and displaced persons. It will examine important national laws which affect Indochinese displaced persons in Thailand as well as the practice of government officials towards such persons in the past and at present. It will analyze various legal problems as well as problems relating to the government officials. Its intentions are thus to pinpoint possible solutions for the problem of Indochinese displaced persons on the short term and long term basis, both at the national and international levels. The writer wishes to emphasize that until now Thailand has not yet acceded to any international instruments on refugees and displaced, persons and merely applies internal written laws for supervising the behavior of the latter. In practice, government officials are sometimes left without definite guidelines as to what measures to adopt since amendments and modifications may take place depending upon the circumstances within the country and national policy according to the times yet, it is interesting to observe that in some instances, national practice towards Indochinese displaced persons has resembled the provisions stated in the international instruments to a marked extent. This thesis aims to make certain suggestions concerning solutions to the problem of Indochinese displaced persons in Thailand. Legal solutions are part and parcel of such suggestions and the thesis will maximize the potential for such solutions by bearing in mind the balance between national security and humanitarianism. However, it must be realized that as the problem of displaced persons is multidimensional with social, economic, political and administrative implication, solutions can only succeed if they are based upon comprehension and analysis of such inter-disciplinary aspects. In any event, they are contingent upon continuous and effective cooperation by government officials as well as international solidarity in sharing the burden of displaced persons. Additional to that is the need to search for permanent solutions to the problem of displaced persons with immediacy and sincerity of purpose.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29038
ISBN: 9745633046
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panomwan_ya_front.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch0.pdf8.23 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch1.pdf29.35 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch2.pdf8.56 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch3.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch4.pdf11.66 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch5.pdf8.17 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch6.pdf14.13 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch7.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_ch8.pdf12.33 MBAdobe PDFView/Open
Panomwan_ya_back.pdf32.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.