Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2908
Title: รูปแบบการเลือกที่อยู่อาศัยเพื่อการทดแทนประชากรของปลาสลิดหิน Pomacentrus cuneatus ในแนวปะการัง
Other Titles: Habitat selection pattern for recruitment of wedgespot damselfish Pomacentrus cuneatus in coral reefs
Authors: คัมภีร์ ผาติเสนะ, 2521-
Advisors: ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์
วิภูษิต มัณฑะจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: nitthar@sc.chula.ac.th, Nittharatana.P@Chula.ac.th
Subjects: ปลาสลิดหิน
ปลาแนวปะการัง
ปลาสลิดหิน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยของปลาสลิดหิน Pomacentrus cuneatus หลังการทดแทนประชากรในแนวปะการังบริเวณเกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2545 จนถึงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 โดยเก็บข้อมูลเปรียบเทียบในช่วงเวลาเช้าและช่วงเวลาเย็นเดือนละหนึ่งครั้งยกเว้นเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ที่ทำการเก็บข้อมูลเดือนละสองครั้ง การเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยของปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กและตัวเต็มวัยหลังการทดแทนประชากรในแนวปะการังบริเวณเกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรีมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานีที่ทำการศึกษา โดยบริเวณสถานี A ซึ่งเป็นด้านอับลมที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะทั้งที่ตื้นและที่ลึกพบปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กและตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ตามปะการังก้อนมากที่สุด ส่วนบริเวณสถานี B ซึ่งเป็นด้านรับลมที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะบริเวณที่ลึกพบปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กอาศัยอยู่ตามเศษก้อนหินก้อนปะการังมากที่สุดแต่ปลาสลิดหิน P. cuneatus ตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ตามปะการังก้อนมากที่สุด การเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยนี้มีอิทธิพลมาจากองค์ประกอบของลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันในแต่ละสถานีศึกษา ส่วนการเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยของปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กและตัวเต็มวัยในห้องปฏิบัติการนั้นไม่พบว่าปลามีพฤติกรรมในการเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยอย่างเด่นชัด สำหรับการทดแทนประชากรของปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กพบว่ามีปริมาณสูงสุดในช่วงเวลาเช้าต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 บริเวณสถานี B ที่ลึกโดยมีค่าเท่ากับ 3.7+-1.2 ตัว/4 ม2 อาจเนื่องมาจากบริเวณสถานี B มีองค์ประกอบของลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเศษก้อนหินก้อนปะการังและปะการังตายที่มีสาหร่ายปกคลุมซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของปลาสลิดหิน P. cuneatus ในสัดส่วนที่สูงกว่าที่พบในสถานี A การทดแทนของประชากรปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กในการศึกษาครั้งนี้มีรูปแบบเป็นไปตามแบบจำลองการจำกัดการทดแทนประชากรปลา (Recruitment Limitation Model) โดยมีปริมาณการทดแทน การเลือกลักษณะที่อยู่อาศัยและปัจจัยด้านผู้ล่าเป็นตัวกำหนดสำคัญ สำหรับการศึกษาผลของปลาสลิดหิน P. cuneatus ตัวเต็มวัยและเม่นหนามดำ Diadema setosum ต่อการทดแทนประชากรของปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กพบว่าปลาสลิดหิน P. cuneatus ตัวเต็มวัยไม่มีผลอย่างเด่นชัดต่อการทดแทนประชากรปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็ก แต่ปริมาณของเม่นหนามดำ D. setosum มีผลทำให้มีการทดแทนประชากรของปลาสลิดหิน P. cuneatus ขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพบว่าปลาสลิดหิน P. cuneatus ตัวเต็มวัยมีการแข่งขันเพื่อใช้ทรัพยากรกับเม่นหนามดำ D. setosum โดยเฉพาะทรัพยากรด้านที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร
Other Abstract: Habitat selection pattern for recruitment of wedgespot damselfish Pomacentrus cuneatus in coral reefs at Khangkhao Islands, Chonburi Province, was investigated during April 2002 to May 2003. Sampling periods were scheduled monthly during dawn and dusk except for the months of May and June 2002, that samplings were conducted twice each month. Habitat selections in wedgespot damselfish juveniles and adults in post-recruitment in the coral reefs at Khangkhao Islands were siginficantly different between the two stations. At station A the north and leeward, both phase of wedgespot damselfish were common among the massive corals at the reef flat and the reef slope. While at station B the southeast and windward, the wedgespot damselfish juveniles preferred the rubbles at reef slope. However the adults were common among the massive corals. Habitat heterogeneity at the two stations determined the habitat selection pattern in this fish. The habitat selection experiment in the laboratory did not show that the wedgespot damselfish had specific preference for habitats. The highest recruitment of wedgespot damselfish, P. cuneatus occurred at reef slope in station B at dawn in early May 2002 of 3.7+-1.2 individuals/4 m[superscript 2]. Habitat heterogeneity at station B reflected the higher proportions of rubbles and dead corals with algae coverage than station A. This served as food source for the fish. The recruitment pattern of wedgespot damselfish P. cuneatus in this study followed the Recruitment Limitation Model. Juvenile abundance, habitat selection and predation governed the recruitment pattern. The study revealed that the adult population of wedgespot damselfish did not showed significant effects on the recruitment of juvenile fish. However the sea urchin, Diadema setosum population facilitated the post-recruitment of juvenile wedgespot damselfish. It was cleared that there was competitions for habitats and food sources between the adult fish and the sea urchins.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2908
ISBN: 9741738536
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kampee.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.