Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29159
Title: ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแกมโมจิกแอซิดจากรงทองต่อกล้ามเนื้อเรียม
Other Titles: The pharmacological effect of gambogic acid from Garcinia hanburyi hooker filices on smooth muscle
Authors: พิณรัตน์ เพ็งคุ้ม
Advisors: จันทนี อิทธิพานิชพงศ์
ประสาน ธรรมอุปกรณ์
นิจศิริ เรืองรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แกมโบจิกแอซิด เป็นสารบริสุทธิ์ที่แยกจากรงทอง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น gum resin ได้จากต้นรงทอง (Garcinia hanburyi Hooker fileces) การศึกษาฤทธิ์เบื้องต้นทางเภสัชวิทยาของสารแกมโบจิกแอซิดต่ออวัยวะที่แยกจากกาย กระต่าย, หนูขาว, หนูถีบจักร และหนูถีบจักรสภาพปกติ พบว่า แกมโบจิกแอซีค ความเข้มข้น 1.3x10-5 - 3.9x10-5 โมลาร์ สามารถเพิ่มการหดเกร็งของลำไส้กระต่าย ส่วนความเข้มข้น 5.2x10-5 โมลาร์ ลดการหดเกร็งของลำไส้กระต่ายแกมโบจิกแอซิดความเข้มข้น 6.5x10-6 - 1.3x10-5 โมลาร์ สามารถเพิ่มแรงหดเกร็งและความตึงตัวของลำไส้เล็กหนูขาว และความเข้มข้น 6.5x10-6 -3.25x10-5 โมลาร์ เพิ่มการหดเกร็งของกระเพาะอาหารหนูถีบจักรทั้งกระเพาะและฤทธิ์การเพิ่มการหดเกร็งนี้ถูกยับยั้งด้วย atropine, verapamil, chlorpheniramine และฤทธิ์เพิ่มการหดเกร็งของลำไส้หนูขาวยังถูกยับยั้งได้ด้วย cyproheptadine เมื่อให้แกมโบจิกแอซิด 50มก. ต่อ กก. ทางปาก มีผลเพิ่มการเคลื่อนที่ของผงถ่านจากระเพาะไปยังลำไส้เล็กหนูถีบจักรสภาพปกติ จากผลการทดลองได้ที่อาจกล่าวว่าแกมโบจิกแอซิดสามารถเพิ่มการหดเกร็งของลำไส้ และกระเพาะอาหารโดยไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อตัวรับสัมผัสใด ๆ การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ของแกมโบจิกแอซิดกับ verapamil ต่อการหดเกร็งของท่ออสุจิที่แยกจากหนูขาว พบว่า แกมโบจิกแอซิด (1.3x10-5 - 1.3x10-4 โมลาร์) และ verapamil (8x10-7 - 4x10-6 โมลาร์) สามารถลดการหดเกร็งของท่ออสุจิที่ถูกกระตุ้นด้วย KC1, BaC12, noradrenaline และ serotonin ได้ตามขนาดความเข้มข้น ฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของท่ออสุจิ อาจเกิดจากการยับยั้งการเคลื่อนที่ของแคลเซียมจากภายนอก เข้าสู่ภายในเซลล์ผ่าน calcium channels
Other Abstract: Gambogic acid is the pure compound isolated from gamboge, a gum-resin extruded from Garcinia hanburyi Hooker filices. The pharmacological effects of this compound have been investigated in isolated rabbit, rat and mice organ preparations and the conscious mice. The results showed that gambogic acid at the concentration of 1.3x10-5 M-3.9xl0-5 M increased spontaneous contraction whereas concentration of 5.2x10-5 M diminished the spontaneous contraction of isolated rabbit jejunum. Gambogic acid at the concentration of 6.5x10-6 M-1.3x10-5 M increased force and tone of contraction of isolated rat ileum and the concentration of 6.5x10-6 M-3.25x10-5 M increased contraction of isolated whole mice stomach. Atropine, verapamil and chlorpheniramine significantly reduced the contraction of rabbit jejunum, rat ileum and mice stomach induced by gambogic acid respectively, cyproheptadine also reduced the contraction of isolated in rat ileum significantly. Gavage feeding of 50 mg/kg of gambogic acid to the conscious mice significantly increased the charcoal movement from the stomach to small intestine. These results show that the low concentration of gambogic acid posseses spasmodic activity which is not mediated via specific receptors. The effects of gambogic acid on contractile response of isolated rat vas deferens were investigated and compared with verapamil. The results demonstrated that both gambogic acid (1.3x10-5 M-1.3x10-4 M) and verapamil (8x10-7 M-4x10-6 M) reduced the contraction induced by KC1, Bacl2, noradrenaline and serotonin in a dose dependent manner. This inhibitory effect is presumably due to interference with Ca+2 movement through the calcium channels.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29159
ISBN: 9745816361
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinnarat_pe_front.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open
Pinnarat_pe_ch1.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
Pinnarat_pe_ch2.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open
Pinnarat_pe_ch3.pdf18.8 MBAdobe PDFView/Open
Pinnarat_pe_ch4.pdf7.58 MBAdobe PDFView/Open
Pinnarat_pe_back.pdf8.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.