Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29171
Title: ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2533
Other Titles: Knowledge,attitude,and behavior of smoking male students in chulalongkorn university 1990
Authors: มยุรี จิรวิศิษฎ์
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
ทัสสนี นุชประยูร
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนิสิตชายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2533 โดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง จำนวน 4,525 ชุด และได้รับคืนจำนวน 3,600 ชุด คิดเป็นร้อยละ 79.55 จำนวนนิสิตชายที่ตอบแบบสอบถามคิดเป็น 50% ของจำนวนนิสิตทั้งหมด ผลการวิจัย พบว่า นิสิตชายมีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ 15.1 คณะที่มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดคือ คณะนิเทศศาสตร์ (ร้อยละ 30.7) อัตราการสอบบุหรี่จะสูงขึ้นตามชั้นปี อายุ และสูงที่สุดอายุ 24 ปี (ร้อยละ 28.8) เหตุผลสำคัญที่ทำให้นิสิตเริ่มสูบบุหรี่คือต้องการทดลองหรือเรียนรู้ (ร้อยละ 33.0) เหตุผลสำคัญที่ทำให้นิสิตที่เลิกสูบบุหรี่แล้วกลับมาสูบใหม่อีก คือ เพื่อดับทุกข์หรือความกลัดกลุ้มใจ (ร้อยละ 27.7) เหตุผลที่นิสิตกลุ่มที่ไม่เคยเลิกสูบเลยนับแต่เริ่มสูบบุหรี่ คือ บุหรี่ช่วยดับทุกข์/ความกลัดกลุ้มใจ (ร้อยละ 15.4) และว่างไม่มีอะไรทำ (ร้อยละ 15.4) ส่วนเหตุผลสำคัญที่ทำให้นิสิตที่เคยสูบและเลิกสูบบุหรี่ได้คือ กลัวอันตราย (ร้อยละ 30.1) นิสิตกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่และไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนไม่ได้ให้เหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเพียงแต่ไม่เคยนึกอยากลอง (ร้อยละ 37.0) การวิจัยยังพบว่ากลุ่มนิสิตที่ไม่สูบบุหรี่ มีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องของบุหรี่สูงกว่ากลุ่มนิสิตที่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.01) ส่วนในด้านทัศนคติสรุปได้ว่านิสิตกลุ่มที่สูบบุหรี่มีคะแนนเฉลี่ยในทางลบสูงกว่ากลุ่มไม่สูบบุหรี่ และกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่มีคะแนนเฉลี่ยในทางบวกสูงกว่ากลุ่มที่สูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P<.01) และยังพบว่ากลุ่มวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยในเรื่องความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)
Other Abstract: The objective of this survey is to study knowledge attitude and practice of smoking among male students of Chulalongkorn University. Self-administered questionnaires were distributed to 4,525 male students of all faculties in the academic year of 1990. A total of 3,600 returned questionnaires was equal to nearly 50% of all male students in Chulalongkorn University. It was found that the prevalence of smoking among male students was 15.1%. The highest smoking rate was observed in communication arts students. The rates of smoking were increased as the classes and ages are higher and the rate was found highest in either the 4th years students or at the age of 24. Major factor influencing the beginning of smoking habit was to test or learn about (33.0%). The factor which had the great impact on resuming smoking after quitting was to calm down the sadness and worrineses (27.7%). Reasons for never quitting smoking were that it helped calming down sadness, worriness and also served as a mean to use free time (15.4%). Major factor for not returning to smoke after quitting and among those who wear non-smokers, were the fear of health hazardous effect (30.1%) and having no desire to try (37.0%). It was discovered that average score on knowledge of non-smoking students was statistically higher than those of smoking students (p<.01). Average score of attitude of smoking students was statistically higher than that of the non-smokers (P<.01). There is statistical difference on knowledge and attitude among the Sciences-student group, the Social groups and Science-social group (P>.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29171
ISBN: 9745786713
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayuree_ch_front.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_ch_ch1.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_ch_ch2.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_ch_ch3.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_ch_ch4.pdf19.99 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_ch_ch5.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_ch_ch6.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_ch_back.pdf13.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.