Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29224
Title: รายงานการวิจัยเชิงประเมินผลรายวิชาอังกฤษสังคมและอังกฤษธุรกิจ
Other Titles: Social English and business English writing
Authors: ศิริรัฐ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
ดวงตา ลักคุณะประสิทธิ์
กุลยา คัมภิรานนท์
กัญจน์วิภา ฤทธิประศาสน์
ภามณี ขจรบุญ
Email: ไม่มีข้อมูล
duangta.l@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
kannabe@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
ภาษาอังกฤษ -- การประเมิน
ภาษาอังกฤษธุรกิจ
ภาษาอังกฤษสังคม
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านหน่วยกิตของสถาบันภาษา สำหรับรายวิชาภาษาอังกฤษระดับปีสาม และความไม่สะดวกหลายประการ เชิงบริหารของรายวิชาภาษาอังกฤษเดิม สำหรับนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ทำให้มีรายวิชาใหม่เกิดขึ้นคือ รายวิชาภาษาอังกฤษสังคมและรายวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ เมื่อปีการศึกษา 2524 หลังจากเริ่มปีการศึกษาแล้วไม่นานก็ได้มีมติสถาบันภาษาว่า ควรทำการประเมินรายวิชาทั้งสองนี้ การวิจัยเชิงประเมินผลของสองรายวิชานี้จึงเริ่มขึ้นเมื่อปีงบประมาณ 2525 ด้วยจุดประสงค์ดังนี้คือ วิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมของรายวิชาทั้งสองนี้ ทั้งในด้านเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอน เพื่อที่จักได้ปรับปรุงทั้งสองรายวิชาในเทอมการศึกษาต่อไป การวิจัยเริ่มกับรายวิชาอังกฤษธุรกิจในภาคการศึกษาที่สอง ของปีการศึกษา 2524 (ซึ่งเป็นระยะเริ่มปีงบประมาณ 2525) โดยให้นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สอบข้อสอบ pre-test ก่อนเริ่มเรียน ทำแบบสอบถามครั้งแรกประมาณกลางภาค ครั้งที่สองก่อนสิ้นภาค และให้สอบ Post-test ก่อนการสอบปลายภาค ต่อมาในภาคการศึกษา แรกของปีการศึกษา 2525 ก็เริ่มกระบวนการเช่นเดียวกันนี้กับนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์ฯ อีกกลุ่มหนึ่ง โดยที่ทั้งสองครั้งกลุ่มประชากรตัวอย่างได้สุ่มมาประมาณ 25% ของนิสิตทั้งหมด คือ 100 คน ระยะหลังจากนั้นเป็นระยะที่ผู้วิจัยตรวจแบบทดสอบวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปเพื่อทำรายงาน ผู้วิจัยเป็นผู้ที่มีส่วนในการเตรียมบทเรียนของรายวิชาทั้งสองนี้ และร่วมสอนด้วย รวม 5 คน ผลของการวิจัยโดยทั่วไปมีผลทางบวก ผลการสอบแสดงว่านิสิตได้เกิดการเรียนรู้ที่น่าพอใจ และเนื้อหาของรายวิชาทั้งสองไม่สูงต่ำเกินระดับ ข้อมูลของแบบสอบถามก็แสดงว่า ทั้งนิสิตและอาจารย์พอใจกับเนื้อหาและวิธีการสอนส่วนใหญ่ มีข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงหลายข้อโดยเฉพาะเชิงบริหาร เป็นต้นว่า นิสิตต้องการอาจารย์เป็นเจ้าของภาษา อยากให้มีการทำแบบฝึกหัดและตรวจในห้อง เห็นว่า คำสั่งในแบบฝึกหัดบางแบบฝึกหัดควรได้รับการปรับปรุงให้เข้าใจง่ายขึ้น สรุปได้ว่า การวิจัยสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
Other Abstract: CULI’s new policy concerning credits given for study hours for all 3rd yr. English courses and the many administrative inconveniences of the two old courses for students of the Faculty of Commerce and Accountancy, gave birth to two new courses: Social English and Business English Writing from the 1981 academic year. It was considered later that year that an evaluation programme be conducted on these two new courses, hence this evaluation research starting with the 1982 fiscal year. The main purpose is therefore to investigate these two courses, text-wise as well as technique-wise, with regard to their suitability and possible improvements, before being offered again for a second time. Five teachers and writers of these two courses carried out this project. The research started in October 1981 with Business English writing. Pre-tests were administered before students began the course and post-tests just before their finals. Take-home questionnaires were given once at mid-term and then again before the finals. The whole process was repeated in the first term of the 1982 academic year with the Social English course. Each time the subjects were 100 students of commerce and accountancy sampled randomly from a total of about 400. The period after that was spent in marking tests, analyzing data and finally writing the report.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29224
Type: Technical Report
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirirat_th.pdf51.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.