Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29270
Title: ปัจจัยทำนายความพึงพอใจในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Factors predicting nurses' job satisfaction, general hospitals under jurisdiction of the Ministry of Public Health
Authors: ธนิต ไม้หอม
Advisors: วาสินี วิเศษฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: wasinee_w@hotmail.com
Subjects: บุคลากรทางการแพทย์ -- ความพอใจในการทำงาน
พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
ความพอใจในการทำงาน -- การทดสอบ
คุณภาพชีวิตการทำงาน
สภาพแวดล้อมการทำงาน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างอำนาจในงาน บรรยากาศจริยธรรมในการทำงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่านอุปสรรคกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่ทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 19 เขตทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่าง 378 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม คือ แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามการสร้างพลังอำนาจในงาน แบบสอบถามบรรยากาศจริยธรรมในการทำงาน และแบบสอบถามประเมินความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผ่านการตรวจสอบความตรงทางเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .90 .92 .94 .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง (X bar = 3.36) 2. การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน บรรยากาศจริยธรรมในการทำงานและความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .624, .705, .104 ตามลำดับ) 3. ตัวแปรที่สามารถทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ บรรยากาศจริยธรรมในการทำงานและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 56.3 (R² = .563) ได้สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ ความพึงพอใจ = .517(บรรยากาศจริยธรรมในการทำงาน) + .274 (การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน)
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate job satisfaction professional nurse; the relationships between empowerment, ethical work climate, adversity quotient, and job satisfaction, and to examine the factor predicting job satisfaction of professional nurse, general hospital under jurisdiction of the ministry of public health. The research subjects, randomly selected through multi-stage sampling technique, The 19 districts across the country. consisted of 378 of professional nurse. An instrument as developed by the researcher which has been tested for content validity and reliability with Cronbach alpha coefficient of .93. Data were analyzed by using mean, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. The major findings were as follow : 1. Job satisfaction of professional nurse was at moderate level. ( X = 3.36) 2. Empowerment, ethical work climate and adversity quotient were significantly related to job satisfaction of professional nurse, at .05 level (r=.624, .705 and .104, respectively) 3. Factor significantly predicted Job satisfaction of professional nurse were ethical work climate and empowerment, at .05 level. These predictors were accounted for 56.3 percent of variance (R2 = .563). The standardized equation was as follow : Job satisfaction = .517(Ethical work climate) + .274 (Empowerment)
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29270
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1006
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1006
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanit_ma.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.