Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/293
Title: | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความมีวินัยในตนเอง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ |
Other Titles: | A development of the causal model of undergraduate students' self-discipline of Suranaree University of Technology : multi-group analysis |
Authors: | จิตตานันท์ ติกุล, 2504- |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรกุล สุชาดา บวรกิติวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.T@chula.ac.th |
Subjects: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี--นักศึกษา การควบคุมตนเอง ลิสเรลโมเดล |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาและเปรียบเทียบความมีวินัยในตนเอง ระหว่างนักศึกษาสี่กลุ่มสาขาวิชา ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเอง พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความมีวินัยในตนเอง และทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุ ความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 1,241 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปรคือ ความมีวินัยในตนเอง ปัจจัยภายในตัวบุคคล และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 13 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีความเที่ยงในการวัดตัวแปรแต่ละตัวตั้งแต่ .50-.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความมีวินัยในตนเองของนักศึกษากลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์อยู่ในระดับสูง ส่วนกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง โดยระดับความมีวินัยในตนเองของทั้งสี่กลุ่มสาขาวิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจากการทดสอบภายหลัง พบว่า มีจำนวน 3 คู่ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์มีระดับความมีวินัยในตนเอง สูงกว่ากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์มีระดับความมีวินัยในตนเอง สูงกว่ากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และกลุ่มสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์มีระดับความมีวินัยในตนเอง สูงกว่ากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. ตัวแปรต้น 7 ตัวแปร ร่วมกันทำนายความมีวินัยในตนเองได้ 45% โดยมีสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ เท่ากับ .670 3. โมเดลเชิงสาเหตุความมีวินัยในตนเอง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องให้ค่า Chi-square goodness of fit test =28.987, df=31, p=.570, GFI=.996, AGFI=.989 และ RMR=.057 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวน ของความมีวินัยในตนเองได้ 79% ความมีวินัยในตนเองได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในตัวบุคคล มากกว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม 4. โมเดลเชิงสาเหตุความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบของโมเดลระหว่าง นักศึกษาต่างกลุ่มสาขาวิชาโดยให้ค่า Chi-square goodness of fit test = 238.122, df=198, p=.027, GFI=.964, NFI=.972, RFI = .956 และ RMR = .109 โมเดลสำหรับแต่ละกลุ่มสาขาวิชามีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ทุกค่าที่ทดสอบ |
Other Abstract: | To study and compare the self-discipline among 4 fields of study ; to study factor affecting self-discipline ; to examine the model validity and to test the model invariance among 4 fields of study. The research sample consisted of 1,241 undergraduate students, Suranaree university of Technology. Data consisted of 3 latent variables: self-discipline, personal factor, and environmental factor; and 13 observed variables measuring those 3 latent variables. Data were collected by questionnaires having reliability for each variables ranging from .50-.83. Data analyses were descriptive statistics, Pearson's product-moment correlation, one-way ANOVA, multiple regression analysis, and LISREL multi-group analysis. The major findings were as follows 1. Self-discipline of engineering and health sciences fields of study was high, self-discipline of agricultural technology and information technology fields of study was moderate. Level of self-discipline in 4 fields of study had statistically significant difference at .01 level. A multiple comparison had 3 pairs statistically significant difference at .01 level: self-discipline of engineering was higher than information technology fields of study, self-discipline of health sciences was higher than agricultural technology fields of study, and self-discipline of health sciences was higher than information technology fields of study. 2. Seven predictors accounted for 45% of variance in self-discipline with a multiple regression coefficient of .670. 3. The causal model of undergraduate students' self-discipline of Suranaree university of Technology was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 28.987, df = 31, p = .570, GFI = .996, AGFI = .989, and RMR = .057. The model accounted for 79% of variance in self-discipline. Personal factor was more effective than environmental factor. 4. The causal model of undergraduate students' self-discipline of Suranaree University of Technology indicated invariance of model form, The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 238.122, df = 198, p = .027, GFI = .964, NFI = .972, RFI = .956, and RMR = .057, but all parameters were not invariant among 4 fields of study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/293 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.636 |
ISBN: | 9741726813 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.636 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jittanan.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.