Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29322
Title: รูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายพื้นที่กึ่งสาธารณะของโครงการเอกชน : ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Format and management policy of semi public space for private property : central business district of Bangkok
Authors: มัญชุตา กัญชนะ
Advisors: ปรีชญา สิทธิพันธุ์
จามรี อาระยานิมิตสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Chamree@hotmail.com
Subjects: การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
พื้นที่สาธารณะ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องด้วยความแออัดที่เกิดขึ้นจากการกลายเป็นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านธุรกิจใจกลางเมืองกรุงเทพฯ (CBD) ซึ่งเป็นย่านที่มีความเข้มข้นในการใช้ประโยชน์ที่ดินสูง ส่งผลให้พื้นที่ว่างหรือพื้นที่สาธารณะ (public space) ลดลง ประกอบกับมูลค่าที่ดินที่สูงขึ้น ทำให้การจะสร้างหรือเพิ่มพื้นที่สาธารณะในย่านฯ ดังกล่าวนั้น มีความเป็นไปได้ยาก แต่ในขณะเดียวกันกลับเป็นย่านฯ ที่มีศักยภาพในการพัฒนา เนื่องด้วยสภาพที่ตั้งเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์เพื่อคนเมือง จึงเกิดแนวคิดการใช้พื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงการเอกชนให้เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (semi public space) โดยในความหมายคือ พื้นที่ทางกายภาพซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของเอกชน ซึ่งเจ้าของได้ให้สิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมาย ในการเข้าไปและใช้ที่ดินนั้นแก่ประชาชนทั่วไป โดยกำหนดกฎเกณฑ์เงื่อนไขการใช้พื้นที่ได้ตามสิทธิของการเป็นเจ้าของ ทั้งนี้จากการศึกษาเรื่องรูปแบบพื้นที่กึ่งสาธารณะ โดยอ้างอิงจากกฎหมายต้นแบบของนครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีได้ 12 รูปแบบตามลักษณะกายภาพและการใช้ประโยชน์ ต่างจากพื้นที่กึ่งสาธารณะที่พบอยู่ทั่วไปในย่านธุรกิจใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งขาดความหลากหลายใน ด้านรูปแบบและกิจกรรม ทำให้พื้นที่ที่มีอยู่ปัจจุบันไม่เกิดประโยชน์เพื่อคนเมืองเท่าที่ควร นอกจากนี้จากมาตรฐานต้นแบบยังพบว่า ภาครัฐของนครนิวยอร์คมีส่วนในการกำหนดมาตรฐานของพื้นที่อย่างชัดเจน ทั้งรูปแบบ องค์ประกอบทางภูมิทัศน์ และนโยบายการใช้พื้นที่ เพื่อให้ภาคเอกชนได้ปฏิบัติตาม ส่วนในด้านการบริหารจัดการเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนยินยอมให้มีพื้นที่กึ่งสาธารณะนั้น ควรได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากทางภาครัฐ ตั้งแต่การกำหนดนโยบายทางด้านกฎหมาย อันได้แก่ การกำหนดรูปแบบมาตรฐานของพื้นที่กึ่งสาธารณะ การบังคับใช้ การควบคุมติดตาม ตลอดจนการเสนอทางเลือกในการให้ข้อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์บางประการ โดยควรมีหลาก หลายทางเลือกที่ผันแปรตามประเภทโครงการและสิทธิประโยชน์ที่เจ้าของจะได้รับ เพื่อใช้เป็นสิ่งจูงใจให้ภาคเอกชนได้พิจารณา นอกจากนี้ยังควรมีการส่งเสริมจากภาคเอกชนด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นการให้เจ้าของพื้นที่เดิมกำหนดบังคับให้มีพื้นที่กึ่งสาธารณะอยู่ภายในโครงการ หรือเพิ่มแรงสนับสนุนโดย การให้รางวัลจากองค์กรต่างๆ สำหรับโครงการที่สร้างพื้นที่เพื่อเมือง เพื่อใช้เป็นสิ่งจูงใจอีกทางหนึ่ง
Other Abstract: Due to the densely packed streets of the city, especially in the central business district of Bangkok (CBD), the land used has been highly invested in with offices and commercial building projects. Meanwhile the public space has decreased because the land cost is becoming too expensive to allow for public space. However, this same area has potential to be developed because of its position which could provide other advantages to the urban citizens. This leads to the idea of using some private property as public space or semi public space. By the way, the owner must agree that his legal rights and land are able to opened to public. The owner can make some conditions regarding the purposes and activities in the area. The research, which refers to the original city laws of New York City, found 12 types of public spaces based on locations and usages. These are different from the semi public spaces which are found around the CBD of Bangkok, which have few varieties in types and activities. Therefore, the semi public spaces today are not as useful to the urban citizens as they should be. Moreover, New York City has clearly shared the role of creating standards of public space both character and landscape, including the policy for the land used that private owners should follow. The area management policy to support the private owners allow some of their area to be used as semi public space should be clear and sincere concerning the laws about the standard types of the public spaces, laws and orders, and also how to give and take some benefits. These should be very depending on the different types of projects and advantages that can persuade the private owners to make a favorable decision. Private owners should also support each others, for example, the private owner could require the project owner to utilize the public space in a way that provides a benefit for the city.
Description: วิทยนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29322
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1014
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1014
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
manchuta_ka.pdf19.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.