Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29339
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา หงษ์ไกรเลิศ-
dc.contributor.authorภุชงค์ นุตราวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-03-06T11:03:42Z-
dc.date.available2013-03-06T11:03:42Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745641693-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29339-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้เริ่มใช้ยุทธศาสตร์ป่าล้อมบ้าน บ้านล้อมเมือง เมืองล้อมนคร ในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ ทั้งทางด้านการเมืองและการทหารควบคู่กัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา รัฐบาลทุกรัฐบาลได้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ของ พคท. ได้ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2518 กองทัพภาคที่ 2 ส่วนหน้า จังหวัดสกลนครได้ริเริ่มใช้นโยบายการเมืองนำการทหารในการต่อสู้กับ ผกค. ด้วยวิธีการทำบ้านล้อมป่า โดยมีเป้าหมายที่จะเอาชนะ ผกค. ที่หมู่บ้านในชนบทด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่หมู่บ้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการทหาร ต่อมานโยบายการเมืองนำการทหารของกองทัพภาคที่ 2 ส่วนหน้า จังหวัดสกลนคร ได้รับการยอมรับว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสม ในการที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ จึงได้แพร่ขยายออกไปทุกกองทัพภาคของประเทศ เป็นนโยบายในการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และมีส่วนก่อให้เกิดนโยบายการเมืองนำการทหารของรัฐบาล ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 และ 65/2525 จวบจนถึงปัจจุบัน โครงการหมออาสาหมู่บ้านนับเป็นโครงการหนึ่งตามนโยบายการเมืองนำการทหารที่ได้ริเริ่มดำเนินการโดยกองทัพภาคที่ 2 ส่วนหน้าจังหวัดสกลนคร เมื่อ พ.ศ. 2519 วัตถุประสงค์เพื่อต่อสู้กับแนวความคิดหมอเท้าเปล่าหรือฝ่ายหมอ ฝ่ายอนามัยของ พคท. ด้วยการศึกษาอบรมตัวแทนประชาชนในหมู่บ้านเพื่อเป็นตัวแทนของรัฐ ในด้านการให้บริการรักษาพยาบาลเล็ก ๆ น้อย ๆ แก่ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายในเขตแทรกซึมของ ผกค. โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่หมู่บ้านทางด้านสังคม จิตวิทยา ด้านสุขภาพ อนามัย และทางด้านการเมือง และโครงการนี้ได้แพร่หลายออกไปทุกภาคของประเทศ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2523 ได้มีการแปรสภาพหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ไปเป็นผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากมีภารกิจและบทบาทหน้าที่คล้ายคลึงกันและเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการสาธารณสุขมูลฐานของรัฐบาล โดยได้แปรสภาพ ม.อ.บ. เป็น ผสส./อสม. ทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2526 ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาประชากรจำนวน 2 ประเภท คือ ประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ปฏิบัติงานจำนวน 4 หมู่บ้านในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านเป้าหายที่มีการแทรกซึมของ ผกค. ประเภท ค2. จำนวน 348 คน และหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) จำนวน 33 คนจากจำนวน 33 หมู่บ้าน โดยได้จัดทำแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด สอบถามบุคคลดังกล่าวทั้ง 2 ประเภทและได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนร้อยละ และตามแบบวิธีของลิเคิร์ท (Likert Scale) ซึ่งผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย จำนวน 3 สมมติฐาน คือ สมมติฐานที่ 1 โครงการหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) มีส่วนในการเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่หมู่บ้าน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีส่วนเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทางราชการทอดทิ้ง สมมติฐานที่ 2 หมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) มีบทบาทในการเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่หมู่บ้าน สมมติฐานที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ของหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) เกิดจากปัญหาการขาดแคลนยารักษาโรค และปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าจะเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยหรือปัญหาความขัดแย้งระหว่างหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) กับชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ของทางราชการ ผลการศึกษาวิจัยพบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้ง 3 ประการเป็นความจริง กล่าวคือจากการคำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิต (Likert Scale) ตามแบบวิธีของลิเคิล์ท (Likert Scale) ปรากฏว่า สมมติฐานที่ 1 ได้ค่า X̅ = 3.97 ซึ่งช่วงคะแนนอยู่ในระดับที่สูง (3.5 – 4.2) สมมติฐานที่ 2 ได้ค่า X̅ = 3.70 ซึ่งช่วงคะแนนอยู่ในระดับที่สูง (3.5 – 4.2) สมมติฐานที่ 3 ได้ค่า X̅ = 4.11 ซึ่งช่วงคะแนนอยู่ในระดับที่สูง (3.5 – 4.2) และสามารถเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาของสมมติฐานที่ 3 ได้ดังนี้ คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ (X̅ = 4.58) ปัญหาด้านการขาดแคลนยารักษาโรค (X̅ = 4.19) ปัญหาด้านความปลอดภัย (X̅ = 4.08) และปัญหาด้านความขัดแย้งระหว่างบุคคลต่าง ๆ (X̅ = 3.60) อย่างไรก็ตามแม้ว่าโครงการหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) จะมีส่วนในการเสริมสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่หมู่บ้านแต่จากการศึกษาพบว่า โครงการหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) เป็นโครงการเฉพาะกิจ เป็นมาตรการชั่วคราวของรัฐบาลในระยะเวลาสั้นที่มุ่งแก้ไขปัญหาด้านการบริการสาธารณสุข ในชนบทและในทางการเมือง ดังนั้นเมื่อโครงการนี้ได้มีการแปรสภาพ หมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) เป็น ผสส./อสม. จึงอาจมีผลกระทบต่อทัศนคติที่มีต่อรัฐบาลของหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) และประชาชนที่เคยได้รับบริการ ผู้ศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. กระทรวงสาธารณสุขควรรับโครงการหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ให้เป็นงานประจำของกระทรวง โดยแต่งตั้งให้หมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ทุกคนที่แปรสภาพทั้งหมดเป็น อสม. แทนที่จะเป็น ผสส. โดยยกเว้นหลักเกณฑ์การคัดเลือก อสม. ที่ใช้วิธีการคัดเลือกจาก ผสส. เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสูญเปล่าในวิชาความรู้ของหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) และกระทรวงสาธารณสุขควรจัดการฝึกอบรมทบทวนให้แก่หมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ที่แปรสภาพ 2. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ควรร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการติดตาม ประเมินผล หมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ที่ถูกแปรสภาพเพื่อทราบถึงทัศนคติ ความพึงพอใจ ปัญหาและอุปสรรคในบทบาทหน้าที่ใหม่ (ผสส./อสม.) เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ควรสั่งการให้ อำเภอ/กิ่งอำเภอ สำรวจและขึ้นบัญชีหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ที่แปรสภาพเพื่อใช้เป็นกำลังทดแทนเมื่อขาดแคลนแพทย์และพยาบาล 3. รัฐบาลควรมีนโยบายแน่ชัดในการมอบหมายบทบาทหน้าที่ อสม. รวมทั้ง อสบ. ที่แปรสภาพจากหมออาสาหมู่บ้าน (ม.อ.บ.) ให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสุขของสภาตำบล คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) หรือคณะกรรมการหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) โดยตำแหน่ง เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ทางด้านการสาธารณสุขขั้นมูลฐาน สามารถช่วยองค์กรของตำบลและหมู่บ้านได้ 4. รัฐบาลควรขยายสถานบริการสาธารณสุขจากระดับตำบล ไปสู่ระดับหมู่บ้านโดยควรกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 5. กระทรวงสาธารณสุขควรที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติต่อประชาชนในชนบท ด้วยความสุภาพ อ่อนโยน มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 6. รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาล อำเภอ/กิ่งอำเภอ ออกไปรักษาพยาบาลประชาชนในชนบทร่วมกับโครงการอำเภอเคลื่อนที่ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.-
dc.description.abstractalternativeThe Communist Party of Thailand (CPT) has been subverting Thailand by using the so called “the strategy of jungle – encircled – village” in attempling to overthrow the government. However, the government from time to time tried its best to suppress the CPT’s movement, but no single government in the past could stop the CPT’s subversive strategy absolutely. Until 1973, the Second Army Region took the initative to engineer the policy of “politics leads militarism” so as to stop the CPT’s activities by forming the policy of building up the village’s security leading to its economic, social and political aspects. In as much as the above – mentioned policy, initiated by the Second Army Region, was successful. As a result, this olicy has been expanded to all parts of the country by the Internal Security Operations Command (ISOC). Later, this policy brought about the government policies of anticommunist activities, known as the 66/2523 and 65/2525 policies. The village para – medic volunteer programe was established to fight against the CPT’s strategy of using bare – foot doctors to help villagers in the sensitive areas. The village para – medic volunteer was trained by the government the general knowledge of first – aid medical care for the villagers.They also help the villagers in the sensitive areas in order to keep the village’s security in so far as the social psychological, health and polictical structures are concerned. This programe has been expanded in all parts of Thailand. Since 1980 this programe was admitted to the village health volunteer programe of the Ministry of Public Health. In 1983 all village para – medic volunteers completely became village health volunteers or assistant village health volunteer of the Ministry of Public Health. This study employs the method of research by using the technique of sampling. Firstly, the people in the village which had a para – medic volunteer in 4 villages in Changwat Udonthani were selected, totaling 348 samples. Secondly, other 33 samples in 33 villages were added because these villages were sensitive areas as classified by the government. Two types of questionnaire were used 2 kinds of samples as mentioned earlier. The method of analysis was a comparative study by percentage by using the Likert scale to analyse data. In addion 3 hypothes were set for being tested : The first hypothesis is that the village para – medic volunteer programe is very significant to build up village’s security, because it can promote villagers’ morale which they feel that the government does not leave them alone. The second hypothesis is that the role and function of the village para – medic volunteer can also help promote the village’s security. The third hypothesis is that the problems of village para – medic volunteer came from the lack of medicine and poor economics. The problems do not come from the factors of security or conflicts with villagers, headmen or government officials. The conclusion of this study is that the 3 hypothess were tested true. The statistics (by using arithmetic means) show the following results : - The first hypothesis X̅ = 3.97 which in the high rang (3.5 – 4.2) - The second hypothesis X̅ = 3.70 which in the high rang (3.5 – 4.2) - The third hypothesis X̅ = 4.11 which in the high rang (3.5 – 4.2). The priority of the third hypothesis is that the problems of economic (X̅ = 4.58), the lack of medicine (X̅ = 4.19), security (X̅ = 4.0) and conflicts (X̅ = 3.60). The study suggests that : 1. The Ministry of Public Health should refresh the village volunteers and appoint them to the parts of village health volunteers, not assistant village health volunteers. 2. The government should set up a clear policy to give the duty and role of the village para – medic volunteer and village health volunteer at th mbol and village committees. 3. The government should establish primary health care units in all villages. 4. The Ministry of Public Health should discipline these officials to be polite and pay attention to the villagers. 5. The Ministry of Interior and the Ministry of Public Health should join together the mobile units at Amphur hosipals as well as mobibe units of Amphur to help the villagers.-
dc.format.extent7437104 bytes-
dc.format.extent11498932 bytes-
dc.format.extent28270684 bytes-
dc.format.extent26282704 bytes-
dc.format.extent80144552 bytes-
dc.format.extent20834405 bytes-
dc.format.extent29392750 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเสริมสร้างความมั่นคงในระดับหมู่บ้าน : ศึกษากรณีโครงการหมออาสาหมู่บ้านในจังหวัดอุดรธานีen
dc.title.alternativeSecurity at vevel : promotion of village para-medic volunteer programe in Changwat Udon Thanien
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการปกครองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puchong_nu_front.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open
Puchong_nu_ch1.pdf11.23 MBAdobe PDFView/Open
Puchong_nu_ch2.pdf27.61 MBAdobe PDFView/Open
Puchong_nu_ch3.pdf25.67 MBAdobe PDFView/Open
Puchong_nu_ch4.pdf78.27 MBAdobe PDFView/Open
Puchong_nu_ch5.pdf20.35 MBAdobe PDFView/Open
Puchong_nu_back.pdf28.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.