Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29403
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์สมาธิในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Other Titles: An analytical study of meditation in theravada buddhism
Authors: พิสิฐ เจริญสุข
Advisors: วิสุทธ์ บุษยกุล
ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์เรื่องสมาธิในพุทธศาสนาเถรวาท การเจริญสมาธินี้ เชื่อว่าได้มีมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ แต่หลักฐานทางวรรณคดีพบว่ามีมาตั้งแต่สมัยคัมภีร์พระเวท วรรณคดีของสมัยนี้ได้แก่คัมภีร์ สํหิตา พราหมณะ อารัณยกะ และอุปนิษัท ซึ่งชี้ว่าชาวอินเดียอารยันพยายามแยกจิตซึ่งเป็นสิ่งถาวรออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน คือร่างกายนี้จะดำรงอยู่ชั่วขณะ ส่วนจิตใจจะคงอยู่ตลอดไป และพร้อมจะไปเกิดใหม่ตามกฎแห่งกรรมอันเป็นสังสารวัฏ การที่ชีวิตจะต้องไปเกิดบ่อย ๆ เช่นนี้ ถือว่าเป็นความทุกข์ ทำให้นักคิดทางศาสนาชาวอินเดียพยายามหาทางพ้นทุกข์ เริ่มบำเพ็ญตบะเพื่อจะแยกจิตออกจากร่างกาย โดยเน้นการฝึกจิตให้มีสมาธิเป็นประการสำคัญ พระพุทธเจ้าทรงมีความเชื่อเช่นนั้น แต่ไม่ทรงเห็นด้วยกับการแสวงหาความพ้นทุกข์ด้วยวิธีการดังกล่าว ทรงใช้วิธีดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา) หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ (อฏฺฐงฺคิโก อริยมคฺโค) รวมลงในไตรสิกขาเป็นศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิจึงเป็นแนวทางที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง ในอันที่จะทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ส่วนวิธีการที่จะได้มาซึ่งสมาธิ หรือที่เรียกกันว่ากัมมัฏฐานนั้น มีอยู่ ๒ ประการคือ สมถกัมมัฏฐานกับวิปัสสนากัมมัฏฐาน สมถกัมมัฏฐานมุ่งผลคือรูปฌานและอรูปฌาน และความรู้ความสามารถพิเศษที่เรียกว่าอภิญญา ส่วนวิปัสสนากัมมัฏฐานมุ่งผลคือญาณหรือวิชชา ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดหรือหยั่งรู้อริยสัจและนำไปสู่การบรรลุมรรคผลในที่สุด อันเป็นการบรรลุความหลุดพ้นจากทุกข์ บรรลุถึงบรมสุขอย่างสมบูรณ์ งานวิจัยเรื่องนี้ ทำให้เราได้เข้าใจถึงความสำคัญของสมาธิในพุทธศาสนา โดยมีขั้นตอนที่พัฒนามาจากความคิดพื้นฐาน ตั้งแต่คัมภีร์สํหิตาเป็นต้นมา
Other Abstract: It is the purpose of the present thesis to conduct an analytical study on meditation (Samādhi) as taught in Theravāda Buddhism. It is believed that this practice existed in the Indus Civilization period, but the literary evidence on Samādhi is found from the Vedic period onward. The literature of this period, namely, the Samhitās, the Brāhmanas, the Āranyakas and the Upanisads, indicates that the Aryan Indians differentiate the mind from the corporeal body. Life is transient, but the spiritual principle undergoes new births under the immutable law of Karma and Samsāra. It is the suffering inherent in the cycle of rebirths that prompts the Indian teachers to start practice of asceticism and separats the mind from the body through Samādhi practice. The Buddha believes in Samsāra and the Law of Karma, but declares that the way to attain the final emancipation from suffering is the Middle Path (Majjimā Patipadā) or the Noble Eightfold Path (Atthangiko Ariyamaggo). This is grouped into Threefold-Practice, namely, Sila, Samādhi and Paññā. Samādhi is necessary for an individual seeking Magga, Phala and final Nibbāna. There are two major paths leading to the successful practice of Samādhi: Samatha-kammatthāna and Vipassanā-kammatthāna. Samatha-kammatthāna leads to Rupa-Jhāna and Arupa-Jhāna with additional Abhiññā as by-product. On the other hand, Vipassanā-kammatthāna leads the Ñāna or Vijjā, the wisdom towards the complete understanding of the Ariyasacca which directly lead to Magga, Phala and Nibbhāna, the final emancipation form suffering into the transcendental bliss. This research makes us understand the significance of meditation in Theravāda Buddhism as developed by Indian thinkers from the Vedic time onward.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาบาลีและสันสกฤต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29403
ISBN: 9745787647
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisit_cha_front.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_cha_ch1.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_cha_ch2.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_cha_ch3.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_cha_ch4.pdf21.47 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_cha_back.pdf14.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.