Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29436
Title: การศึกษาพิธีบุญหลังบ้าน : กรณีศึกษาหมู่บ้านกระเดื่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Bun Lang Ban Ceremony : A Case Study of Ban Kraduaug Village Phra Nakhon si Ayuthaya Province
Authors: เสาวภา เชาว์ศิลป์
Advisors: อมรา พงศาพิชญ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พิธีบุญหลังบ้าน และพิธีเสียกะแบะกะบาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ พิธีกรรมตามแนวพุทธศาสนา และพิธีกรรมตามความเชื่อดังเดิมที่เกี่ยวกับการนับถือผี การสะเดาะเคราะห์ในการส่งปีเก่ารับปีใหม่ของไทย ของหมู่บ้านกระเดื่องทำกันมาจนเป็นประเพณีในเดือน 5 หรือเมษายนของทุกปีหลังจากทำพิธีทำบุญ สงกรานต์แล้ว จากการใช้การตีความทางสัญลักษณ์ ทำให้พบว่า นอกจากพิธีบุญหลังบ้านจะเป็นพิธีเกี่ยวกับการสะเดาะเคราะห์แล้วยังทำให้ เห็นการแปงหน้าที่ตามบทบาทของ เพศหญิงและเพศชาย จากการจัดระเบียบทางสังคม ในขณะเดียวกันพิธีนี้สะท้อนให้เห็นถึงบรรทัดฐานที่แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ของเพศหญิง และเพศชาย ซึ่งกำหนดโดยโลกทัศน์ และความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธ พราหมณ์ และการนับถือผี (Animism) การวิ เคราะห์เชิงสัญลักษณ์ทำให้มองเห็นลักษณะโครงสร้างทางสังคมและการจัดระเบียบ ทางสังคมของหมู่บ้านกระเดื่อง รายงานการวิจัยนี้เป็นการศึกษาพิธีบุญแล้งบ้านของชาวบ้านหมู่บ้านกระเดื่อง ในตำบลบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อที่จะหาความหมายของสัญลักษณ์ในพิธีนี้ ให้เข้าใจทั้งระบบคิดและความเชื่อของชาวบ้านกระเดื่อง อันจะเป็นประโยชน์ในการที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของความคิดในการประกอบพิธีกรรม การใช้สิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมแทนความคิดความเชื่อและความรู้สึกนั้นในบริบทของสังคม ชาวบ้านกระเดื่อง ความเข้าใจความหมายทางวัฒนธรรมได้ถูกต้องจะเป็นประโยชน์ในการที่จะเข้าใจพื้นฐานทางความคิด ความเชื่อ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอันจะเป็นผลต่อความเจริญหน้าของประเทศ
Other Abstract: Bun Lang Ban Ceremony and Sia Kabae Kaban Ceremony composed of 2 parts. One is a Buddhist ceremony and the other is animistic based on the old belief in the form of ritual of affliction. For good luck for the New Year, the ceremony is held every year after Songkran Festival. Symbolic analysis helps identified role differentiation between men and women according to social organization. In addition it reflects the social norm influenced by Buddhist, Brahman and animistic world view and belief which separates men and women. Social structure and social order of Ban Kraduang Village can be clearly seen after the analysis. The purpose of this thesis is to study the symbols of the rituals in the ceremony and Ban Kraduang belief system. It shows how the villagers express the meaning in ceremonial performance and how items in these surroundings represent their idea and belief system. In the context of Ban Kraduang Village, understanding of the basic concept and belief system will benefit society as a whole in providing reasons for maintaining village traditions in the midst of development activities taking place in the name of progress and prosperity.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: มานุษยวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29436
ISBN: 9745799165
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soawapa_ch_front.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open
Soawapa_ch_ch1.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open
Soawapa_ch_ch2.pdf13.51 MBAdobe PDFView/Open
Soawapa_ch_ch3.pdf8.84 MBAdobe PDFView/Open
Soawapa_ch_ch4.pdf12.48 MBAdobe PDFView/Open
Soawapa_ch_ch5.pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open
Soawapa_ch_ch6.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Soawapa_ch_back.pdf13.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.