Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29474
Title: คำซ้ำในภาษาจีนและภาษาไทย : การศึกษาเปรียบเทียบ
Other Titles: Reduplicatives in Chinese and Thai : a comparative study
Authors: ฟู, เจิง โหย่ว
Advisors: ประพิณ มโนมัยวิบูลย์
นวรรณ พันธุเมธา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาคำซ้ำซึ่งเป็นวิธีการประกอบรูปคำที่สำคัญอย่างหนึ่งในภาษาจีนและภาษาไทยว่ามีความแตกต่าง และความคล้ายคลึงกันอย่างไรบ้าง โดยพิจารณาชนิดของคำที่ซ้ำได้ รูปแบบ เสียง หน้าที่และความหมายของคำซ้ำในทั้งสองภาษา ข้อมูลคำซ้ำในภาษาจีนนั้นเก็บรวบรวมจากหนังสือตำราต่างๆ จากเพื่อนนักศึกษาจีนและจากผู้วิจัยเอง คำซ้ำในภาษาไทยได้จากหนังสือตำราต่างๆและเพื่อนนิสิตไทย วิธีการวิจัยใช้การเปรียบเทียบคำซ้ำที่ใช้ในภาษาพูด ทั้งนี้เพื่อให้เห็นลักษณะคำซ้ำที่ใช้ในภาษาพูดปัจจุบันในทั้งสองภาษา ผลวิจัยสรุปได้ผลว่า คำ 10 ชนิดในภาษาจีนและภาษาไทย ที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะนำมาซ้ำได้ คือในภาษาจีนมีคำ 7 ชนิด ซ้ำได้และในภาษาไทยมีคำ 9 ชนิดซ้ำได้ ส่วนรูปแบบคำซ้ำในภาษาจีนและภาษาไทย จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ คำซ้ำประเภทอิสระ ซึ่งเป็นคำที่ซ้ำแล้วใช้ตามลำพังได้ประเภทหนึ่ง และคำซ้ำประเภทไม่อิสระซึ่งเป็นคำที่ซ้ำแล้วใช้ตามลำพังไม่ได้อีกประเภทหนึ่ง คำซ้ำทั้ง 2 รูปแบบนี้ อาจแบ่งประเภทย่อยได้อีก คำซ้ำในภาษาจีนจะมีทั้งหมด 7 รูปแบบ และคำซ้ำในภาษาไทยจะมีทั้งหมด 5 รูปแบบ คำ 2 พยางค์ ในภาษาจีนบางคำซ้ำได้ 2 รูปแบบ ซึ่งลักษณะนี้ไม่ปรากฏในภาษาไทยในเรื่องลักษณะทางด้านเสียง คำซ้ำในทั้ง 2 ภาษา ต่างก็มีคำซ้ำที่เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ และคำซ้ำที่ไม่เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ ถ้าเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ ก็จะเปลี่ยนเป็นเสียงสูงทั้งสิ้นและสระในพยางค์ที่ลงเสียงหนักหรือลงเสียงหนักเน้นพิเศษ จะออกเสียงยาวกว่าสระในพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนักหรือพยางค์ที่ลงเสียงหนักธรรมดา ส่วนเสียงพยัญชนะของคำซ้ำจะไม่เปลี่ยนแปลงในทั้งสองภาษา หน้าที่ของคำซ้ำในภาษาจีนและภาษาไทย แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ คำซ้ำทำหน้าที่อย่างเดียวกับคำเดิมประเภทหนึ่ง คำซ้ำที่ทำหน้าที่ต่างกับคำเดิมประเภทหนึ่ง และคำซ้ำที่เทียบหน้าที่กับคำเดิมไม่ได้อีกประเภทหนึ่ง หน้าที่ของคำซ้ำในภาษาไทยส่วนใหญ่เหมือนคำเดิม ส่วนหน้าที่ของคำซ้ำในภาษาจีนบางคำจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบคำซ้ำ รูปแบบของคำซ้ำต่างกันจะทำให้หน้าที่ของคำซ้ำแตกต่างกันไป ส่วนความหมายของคำซ้ำในภาษาจีนและภาษาไทยนั้นจะแตกต่างกับความหมายของคำเดิมไม่มากก็น้อย ความหมายของคำซ้ำในภาษาจีนและภาษาไทยต่างมี 8 ประเภท เป็นความหมายที่ตรงกันคือปรากฏในทั้งสองภาษา 6 ประเภทผลการวิจัยได้เสนอเป็น 7 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ชนิดของคำที่ซ้ำได้ บทที่ 3 เป็นการวิเคราะห์รูปแบบของคำซ้ำ บทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์ลักษณะทางด้านเสียงของคำซ้ำ บทที่ 5 เป็นการวิเคราะห์หน้าที่ของคำซ้ำ บทที่ 6 เป็นการวิเคราะห์ความหมายของคำซ้ำ บทที่ 7 สรุปผลการวิจัยและเสนอแนะให้มีการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางด้านอื่นๆของคำซ้ำในภาษาจีนและภาษาไทยต่อไป
Other Abstract: In this thesis, the researcher aims to study reduplication in Thai and Chinese, an important type of word formation in both languages. The study is to reveal the differences and similarities of reduplicative in these two languages in the following aspects ะ types of words that can undergo reduplicating process, reduplicating patterns, relations of sound, functions and meanings of reduplicative with their base words. Data in Chinese are collected from text books, Chinese students and the researcher himself. Data in Thai are collected from textbooks and Thai students. Reduplicative in the data include only those found in spoken languages, so as to reveal the characteristics of reduplicative in spoken languages in both Thai and Chinese. The study reveals that most word categories can undergo reduplicating process: in Chinese, 7 word categories? in Thai, 9 word categories. In connection with reduplicating patterns, there are two main types in both languages. They are free reduplicative, that is, the reduplicative that may occur alone; and non-free reduplicative, that is, the reduplicative that may not occur alone. Both types can be further sub-classified so that altogether Chinese has ten subtypes, and Thai five subtypes. In Chinese some two-syllable words can undergo two different reduplicative patterns. Such reduplicative do not occur in Thai. As to the sounds in reduplicating patterns, reduplicative in both languages reveal reduplicative that are different from their base words in tones and those that are not. Those reduplicative that are different in tones from their base words show only high tones and the vowels in stressed syllables in reduplicative words are longer than those that are unstressed. As for consonants, there is no difference between reduplicative and their base words. Reduplicative in both Thai and Chinese can be classified according to their functions into 3 types, they are reduplicative that have the same function as their base words, those that have different function from their base words, and those whose functions are not comparable to the function of their base words. Thai reduplicative are mainly of the first typos whereas Chinese reduplicative have their functions depending on their reduplicating patterns.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29474
ISBN: 9745617814
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fu_ze_front.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_ch1.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_ch2.pdf11.12 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_ch3.pdf26.56 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_ch4.pdf20.82 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_ch5.pdf18.02 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_ch6.pdf19.46 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_ch7.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
Fu_ze_back.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.